ผลจากการประชุมสองสภาของจีน

ผลจากการประชุมสองสภาของจีน

ไพศาล พืชมงคล เลขาธิการ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีน

การประชุมสองสภาของจีนเสร็จสิ้นลงไปแล้ว จัดเป็นการประชุมครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของปี 2564 นั้น และเป็นการประชุมที่มีบทบาทที่สุดต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน รัฐบาลจีน องค์กรประชาชนจีน ตลอดจนประชาชาติต่างๆ ในภูมิภาคและทั่วโลก

จึงเป็นเรื่องที่สมควรทราบและเข้าใจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของชาวโลกทั้งผองเรื่องจากการประชุมครั้งนี้และผลของการประชุมนี้เกิดขึ้นในท่ามกลางสถานการณ์ที่โลกเต็มไปด้วยความขัดแย้งและเข้าใกล้เส้นแห่งสงครามมากขึ้นทุกที

อันตรายจากภัยคุกคามของความขัดแย้งและสงครามกำลังเผชิญหน้ามวลมนุษย์ กระแสความขัดแย้งและสงครามที่พัดกระหน่ำหนักมาตั้งแต่สงครามโลกที่สองกำลังเผชิญกับกระแสแห่งสันติภาพและการพัฒนาซึ่งเป็นกระแสใหม่ของโลก เพื่อหยุดยั้งความขัดแย้งและสงคราม และเพื่อนำพาโลกเข้าสู่ยุคแห่งสันติภาพนิรันดร

การประชุมของทั้งสองสภาดังกล่าวมีความสำคัญเกี่ยวกับรายงานการดำเนินงานของรัฐบาลจีน เกี่ยวกับกำหนดทิศทางที่จะก้าวเดินต่อไปข้างหน้า หลังจากประเทศจีนประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ในช่วงที่การสถาปนาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครบรอบ 100 ปีแล้ว ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชาติจีนและประชาคมโลกทั้งผองด้วย

การประชุมใช้เวลาร่วมสัปดาห์เพราะมีเนื้อหาที่สำคัญมากมาย ดังนั้นเพื่อความเข้าใจโดยสังเขป จึงขอสรุปเรื่องสำคัญที่สุดที่เห็นว่าจะเกี่ยวข้องและมีผลต่อประเทศไทยต่อภูมิภาคอาเซียนและต่อสากลโลก

รายงานผลสำเร็จในการบริหารบ้านเมืองของจีนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งนำโดยคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ที่มีประธานสี จิ้นผิง เป็นศูนย์กลางการนำ ซึ่งถึงวันนี้ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่าการริเริ่มใหม่คือยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ของโลก โดยเฉพาะการปรับความสัมพันธ์ระหว่าง

ประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การเอาเปรียบ เป็นเรื่องหลักการสำคัญที่จะต้องทำให้บังเกิดขึ้น โลกจึงจะมีศานติและความเจริญรุ่งเรืองได้

รายงานความสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดก็คือการประกาศชัยชนะต่อสงครามกับความยากจนซึ่งเป็นศัตรูร่วมกันของประชาชาติทั่วโลก และเป็นภารกิจอันสำคัญยิ่งของรัฐบาลของทุกประเทศที่จะต้องทำให้ประชาชาติของตนพ้นจากความยากจน สำหรับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงสร้างยุทธศาสตร์ “ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง” และทรงกำหนดกลยุทธ์ทำสงครามกับความยากจนมาตั้งแต่ปี 2512 แต่นับถึงวันนี้นักการเมืองที่บริหารบ้านมืองยังไม่สามารถสนองพระราชประสงค์นั้นให้สำเร็จได้เลย

ประเทศจีนยังประสบความสำเร็จในการเชื่อมจีนกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกภายใต้ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหม ทำให้การเชื่อมต่อความเจริญรุ่งเรืองของโลกก้าวข้ามพ้นจากเฉพาะพื้นที่ชายทะเล ครอบคลุมไปถึงพื้นที่ทางบก ที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประเทศต่างๆ และประชาชาติต่างๆ เป็นการริเริ่มหลักคิดในการพัฒนาเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศต่างๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกด้วยความสมัครใจ บนพื้นฐานผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ โดยประเทศจีน

เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนทุกด้าน โดยเฉพาะการเงิน ซึ่งได้ริเริ่มจัดตั้ง AIIB ขึ้นโดยความคิดของประธานสี จิ้นผิง เป็นการทำลายการผูกขาดด้านการเงินที่เจือปนด้วยการกดขี่ข่มเหงและความเอาเปรียบในยุคเก่าอย่างมีพลังยิ่ง

ประเทศจีนยังสร้างความมั่นคงมั่งคั่งให้กับประเทศชาติและประชาชนจีนทั้งผองที่จะต่อยอดหลังจากการสถาปนาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครบ 100 ปี ซึ่งจะเป็นยุคใหม่สำหรับประเทศจีนและเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกด้วยหลักคิดเรื่องความมั่นคงที่ถือเอาความจริงรุ่งเรืองความอยู่ดีกินดีและการไปมาหาสู่กันคงประชาชาติจีนทั้งประเทศและระหว่างจีนกับประชาคมโลกทั้งหลายเป็นการเปลี่ยนโลกสำคัญที่สุดจากที่เคยยึดถือเอาแต่เรื่องความมั่นคงและแสนยานุภาพทางทหารเป็นเครื่องมือ สู่ยุคใหม่ที่ถือเอาความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนจีนและประชาชาติทั้งหลายทั่วโลก นี่จึงจะเป็นความเจริญที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ

 

 

จีนให้ความสำคัญแก่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ

พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน

ผลจากการประชุมสองสภาของจีน

รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลต่อที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ พ.ศ.2564 ประกอบด้วย 3 ส่วน แสดงให้เห็นว่าจีนให้ความสำคัญทางด้านการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และตามหลักวิทยาศาสตร์ และทำให้มองเห็นแผนและเป้าหมายการพัฒนาของประเทศจีนด้วย

ส่วนที่ 1 เป็นการทบทวนการดำเนินงานของรัฐบาลจีนประจำปี พ.ศ.2563 หัวใจหลักก็คือให้ข้อมูลข่าวสารและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนใน 2 เรื่องใหญ่ กล่าวถึงการพัฒนาของประเทศจีนได้เผชิญต่อสภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจของโลกอย่างรุนแรงและภัยพิบัติธรรมชาติโดยเฉพาะการระบาดของโรคโควิด-19 รายงานแสดงถึงประเทศจีนประสบความสำเร็จในทางด้านการบริหารจัดการการระบาดของโรคโควิด-19 และการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยรัฐบาลจีนใช้วิธีการนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรและการระดมสรรพกำลังของประชาชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระดมสรรพกำลังของประชาชนเพื่อการควบคุมและป้องกันในการโรคโควิด-19

ส่วนที่ 2 กล่าวถึงผลลัพธ์ของการพัฒนาจีนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 สิ่งสำคัญที่สุดของส่วนนี้ก็คือแสดงให้ถึงกระบวนการค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาของพัฒนา รัฐบาลจีนได้ค้นหาวิธีปรับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินชีพในท้องถิ่นเพื่อให้เป็นปัจจัยที่ช่วยการพัฒนา อาศัยความทุ่มเทของของข้าราชการและประชาชนจีนได้ค้นพบปัญหาที่แท้จริงและกำหนดแผนอย่างถูกต้อง จนสามารถใช้ทรัพยากรที่จำกัดได้พัฒนาตรงเป้า สิ่งสำคัญที่ทำให้สำเร็จก็คือสามารถเข้าถึงปัญหาและเข้าถึงใจได้ จึงทำให้ผลลัพธ์แผนการพัฒนาฉบับที่ 13 จึงออกมาอย่างที่เห็น

ส่วนที่ 3 กล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนาจีนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 ของจีน แผนนี้ ได้ชี้ให้เห็น 5 เป้าหมายหลักของจีนในทางด้านการพัฒนาประเทศตามแนวความคิดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง รวมถึง 1. การพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ และอัตลักษณ์ สถานการณ์ของจีน 2.การพัฒนาโดยใช้รูปแบบการพัฒนาใหม่มีวัฎจักรสองวง (ภายในและต่างประเทศ) ในนี้ประเทศจีนให้ความสำคัญแก่การพัฒนาตลาดภายในประเทศมากขึ้น 3.การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นประสิทธิภาพและความยั่งยืน 4.การร่ำรวยด้วยกัน ซึ่งตามระบบสังคมนิยมที่ทันสมัย 5.การพัฒนาแบบสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

สรุปแล้วก็คือการประชุมสองสภาแสดงให้เห็นปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาและเป้าหมายของการพัฒนาประเทศจีน รวมถึงยุทธศาสตร์และนโยบายต่างๆ ในการพัฒนาซึ่งมาจากความคิดเห็นของประชาชนและเสนอโดยผู้แทนทั้งสองสภา อนาคตประเทศจีนจะเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและการพัฒนาตามวิทยาศาสตร์มากขึ้น

 

‘ประชาชนมีค่าเหนือสิ่งอื่นใด’ เป็นหลักเกณฑ์การพัฒนาจีน

ดร.วิรฬห์ พิชัยวงศ์ภักดี รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน

ผลจากการประชุมสองสภาของจีน

ในช่วงระยะเวลา 8 ปี แห่งการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาและขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปจากสังคมจีน แสดงให้เห็นถึง เป้าหมายแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้ได้สำเร็จ จากพื้นฐานที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่เกิดจากความเป็นผู้นำสูงสุดของจีน ในการดำเนินนโยบายที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมอย่างกว้างขวาง รวมถึง นำมาซึ่งคุณประโยชน์และมีคุณูปการที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งต่อพลเมืองจีน ไม่ว่าการดำเนินนโยบายทางสาธารณสุขทางด้านภัยพิบัติที่เกิดจากโรคระบาด หรือการขจัดปัญหาที่เป็นแก่นรากฐานด้านความยากจนในสังคมได้เกือบหมดสิ้นไปจากแผ่นดินจีน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึง ความมุ่งมั่น และจุดมุ่งหมายอันแน่วแน่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ทำเพื่อพลเมืองและประชาชนจีนอย่างแท้จริง

ภายใต้สังคมจีน คุณค่าที่มีความงดงามหนึ่งของท่านประธานาธิบดีจีน ซึ่งได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการให้ความสำคัญต่อพลเมืองและประชาชนจีน ดังคำกล่าวที่มีคุณค่าทางด้านความคิด จิตใจและสติปัญญา

คือ “ประชาชนมีค่าเหนือสิ่งอื่นใด” ทั้งนี้ แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองและทัศนคติที่ไม่อาจประเมินเป็นมูลค่าได้ ซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรืออาจถือได้ว่า เป็นบทเรียนและแนวคิดทางจิตวิญญานหนึ่งที่สามารถสืบทอดต่อไปยังรุ่นสู่รุ่นในอนาคต

ภาวะวิกฤติโรคระบาด โควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนั้น ประเทศจีนสามารถสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความสมานสามัคคีของคนในชาติในการต่อสู้ และทำการควบคุมการแพร่ระบาดในระยะแรกก่อน และหลังจากนั้น จึงดำเนินการเลือกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ได้อย่างน่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นบทเรียนที่สำคัญหนึ่งที่ทำให้ประชาคมโลก ได้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพของประเทศจีน นอกเหนือจากที่กล่าวมาในด้านอื่นที่มีการเติบโตและประสบความสำเร็จ ได้แก่ การเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอินเตอร์เน็ต รถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถยนต์พลังงานใหม่ อุตสาหกรรมอื่น รวมถึง การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการผลักดันเศรษฐกิจเชิงบูรณาการ ทั้งภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น

 

ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศจีน ภายใต้แผนชาติจีนฉบับที่ 14

ประทีป ช่วยเกิด  นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผลจากการประชุมสองสภาของจีน

“การประชุมสองสภา” การประชุมสองสภาครั้งนี้มีความพิเศษเนื่องจากเป็นปีแรกที่ประเทศจีนบริหารประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 (แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 14)และเป็นปีครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเมื่อทบทวนย้อนกลับไปสู่แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 13 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนได้ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม การพัฒนาประเทศมีความโดดเด่น ด้านการสร้างนวัตกรรม และประเทศจีนได้ประกาศชัยชนะโดยสมบูรณ์ในการขจัดความยากจนขั้นสูงสุด ก้าวเข้าสู่แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 14 ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนในหลายๆ ประเด็นของโลก อาทิเช่น ภาวะถดถอยอย่างหนักของเศรษฐกิจโลกจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้หนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังยืดยาวไกล และมีความไม่แน่นอนสูง ตลาดโลกที่หดตัวลง การเติบโตของลัทธิโดดเดี่ยว และลัทธิกีดกันทางการค้าที่ทวีความรุนแรง ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ประเทศจีนนำมาเป็นองค์ประกอบในการออกแบบวางแผนพัฒนา 5 ปี

ฉบับที่ 14 ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศจีนภายใต้แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 14 ยังคงยืดมั่นอุดมการณ์ “ประชาชนเหนือสิ่งอื่นใด ประชาชนต้องมาก่อน” ภายใต้แผนยุทธศาสตร์นี้ครอบคลุม การบริหารประเทศ

ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 และเป้าหมายระยะยาวภายในปี พ.ศ.2578 ประเทศจีนกำลังเผชิญหน้ากับทั้งโอกาสและความท้าทาย จึงมีความจำเป็นที่ประเทศจีนต้องสร้าง “เงื่อนไขทางสังคมที่เอื้ออำนวย” โดยทั้งพรรคคอมมิวนิสต์และประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน ต้องรวมตัวกันและมุ่งมั่นโดยมีเป้าหมาย