3 มาตรการ สกัดโควิด ระบาด "ข้ามพรมแดน" เพื่อนบ้าน หลังเปิดประเทศ
ศบค. เผย 3 มาตรการสกัดโควิดระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ ขณะที่ ผู้เดินทางลงทะเบียน Thailand pass แล้วกว่า 2.6 แสนราย อนุมัติแล้วกว่า 2.5 แสนราย ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 8,450 ราย เสียชีวิต 58 ราย กว่า 97% เป็นกลุ่มสูงวัย โรคเรื้อรัง
วันนี้ (7 พ.ค. 65) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เผยข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 3 มาตรการสกัดโควิด ระบาดข้ามพรมแดนเพื่อนบ้านหลังเปิดประเทศ โดย นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เผยว่า การเฝ้าระวังเเละคัดกรองกลุ่มผู้เดินทางระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะด่านควบคุมโรคช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
ทั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศที่สนามบิน ท่าเรือ และพรมแดนตามแนวชายแดน อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ส่งผลให้สามารถตรวจจับเเละควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะที่ผ่านมา ในปัจจุบันด่านพรมแดนมีการพัฒนาให้สามารถคัดกรองดูเเลผู้ติดเชื้อเเละให้บริการวัคซีนเพื่อเพิ่มความครอบคลุมให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผน
มาตรการรับมือโควิด 19 แบบรอบด้าน ได้แก่
1) ด้านโครงสร้างพื้นฐานด่านพรมแดน โดยการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2) ด้านการป้องกัน ควบคุมโรค โดยการประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ การสื่อสารความเสี่ยง การเพิ่มความครอบคลุมของวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เเละการติดต่อประสานงาน
3) การถอดบทเรียน บูรณาการฐานข้อมูลร่วมกัน การซ้อมแผน สัมพันธภาพความร่วมมืออันดีของเจ้าหน้าที่ระหว่างหน่วยงาน และประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับมือกับโควิด 19
ลงทะเบียน Thailand pass 2.6 แสนราย
ทั้งนี้ รายงานจำนวนการลงทะเบียนการเดินทางเข้าราชอาณาจักรผ่าน Thailand pass วันที่ 29 เม.ย. - 6 พ.ค. 65 พบว่า
- ผู้ลงทะเบียน 260,573 ราย
- อนุมัติแล้ว 252,788 ราย
- ไม่ผ่านการอนุมัติ 4,728 ราย
- รอพิจารณาโดย AI จำนวน 0 ราย
- รอพิจารณาโดยผู้ตรวจ 3,057 ราย
ไทยติดเชื้อรายใหม่ 8,450 ราย
สำหรับ "สถานการณ์โควิด-19" ในประเทศไทย จากการรายงานของ ศบค. พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 8,450 ราย จำแนกเป็น
- ผู้ป่วยจากในประเทศ 8,409 ราย
- ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 4 ราย
- ผู้ป่วยในเรือนจำ 37 ราย
- เสียชีวิต 58 ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,093,334 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 12,224 ราย หายป่วยสะสม 2,025,401 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 93,840 ราย อยู่ใน รพ. 27,597 ราย รพ.สนามและอื่นๆ 66,243 ราย
"ผู้สูงวัย-โรคเรื้อรัง" เสียชีวิตจากโควิด 97%
สำหรับผู้ป่วย โควิด-19 เสียชีวิตในประเทศจำนวน 58 ราย เป็น
- ชาย 33 ราย
- หญิง 25 ราย
- ชาวไทย 56 ราย
- เมียนมา 1 ราย
- ออสเตรเลีย 1 ราย
ค่ากลางอายุผู้เสียชีวิต 76 ปี (25-98 ปี)
พบเชื้อ-เสียชีวิต 0-24 วัน
พบเชื้อวันเสียชีวิต 3 ราย
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังเป็น
- กลุ่มสูงวัย 60 ปีขึ้นไป 44 ราย (76%)
- กลุ่มโรคเรื้อรัง 12 ราย (21%)
ทั้งสองกลุ่มคิดเป็นสัดส่วนกว่า 97%
ฉีดวัคซีนเข็ม 3 สะสม 38.1%
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 6 พ.ค. 2565) รวม 134,400,625 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,371,631 ราย (81.0%)
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,532,174 ราย (74.1%)
- จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 26,496,820 ราย (38.1%)
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 6 พฤษภาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 181,959 โดส
- เข็มที่ 1 : 22,890 ราย
- เข็มที่ 2 : 74,098 ราย
- เข็มที่ 3 : 84,971 ราย
สูงวัย ฉีดเข็ม 3 สะสม 41.9%
ผลการให้ วัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มเป้าหมายหลัก พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 12,704,543 ราย
ฉีดเข็ม 1 สะสม 84.2%
ฉีดเข็ม 2 สะสม 80.0%
ฉีดเข็ม 3 สะสม 41.9%
ขณะที่กลุ่มอายุ 5-11 ปี เป้าหมาย 5,150,082 ราย
เข็ม 1 สะสม 53.9%
เข็ม 2 สะสม 15.5%