“เงินชราภาพ” ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ส่งเงินเท่าใดจึงมีสิทธิเงินนี้?

“เงินชราภาพ” ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ส่งเงินเท่าใดจึงมีสิทธิเงินนี้?

จากที่ประชุม ครม. ล่าสุดมีมติ ใหม่ เกี่ยวกับ "เงินชราภาพ" ทั้งแบบ “เงินบำเหน็จ” และ “เงินบำนาญ” ต่างกันอย่างไร และต้องส่งเงินเท่าใดจึงจะได้สิทธิในเงินนี้ เราหาคำตอบมาให้ที่นี่

จากที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา มีมติ เห็นชอบเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน ม.33 โดยข้อมูลที่น่าสนใจในร่าง พ.ร.บ. ชุดนี้พูดถึงประเด็นที่ว่า ต่อไปจะสามารถเลือกรับเงินสมทบในส่วนของ “เงินชราภาพ” ระหว่าง “เงินบำเหน็จ” และ “เงินบำนาญ” ได้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พาไปดู “เงินชราภาพ” ทั้งแบบ “เงินบำเหน็จ” และ “เงินบำนาญ” ที่มีอยู่ในระบบประกันสังคมปัจจุบัน ต่างกันอย่างไร ต้องส่งเงินเท่าใด ถึงจะมีสิทธิในเงินก้อนนี้?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

“เงินชราภาพ” ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ส่งเงินเท่าใดจึงมีสิทธิเงินนี้?

1. ความแตกต่างของ “เงินบำเหน็จ” และ “เงินบำนาญ”

  • เงินบำเหน็จ จะได้รับเงินแบบ “ก้อนเดียว” จบ
  • เงินบำนาญ จะได้รับเงินแบบ “ทยอยจ่าย” ไปตลอดชีวิต

ทั้งนี้ในมติที่ประชุมได้ชี้แจงว่า เงินทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน ผู้ประกันตนควรต้องทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจเลือก โดยพิจารณาจากแผนการใช้เงินของตนเอง เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนการใช้ชีวิต

2. การรับ “เงินบำเหน็จ” ชราภาพ

- เกณฑ์การส่งเงิน

  • ส่งเงินสมทบไม่ถึงระยะเวลา 180 เดือน (15 ปี)
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และได้สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
  • เป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย

- รูปแบบเงินที่ได้รับ จะได้รับการจ่ายเงิน “ก้อนเดียว” ครั้งเดียว

- สิทธิที่ได้รับของการจ่ายสมทบแต่ละแบบ

  • กรณีจ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน: จะได้รับเงินสมทบเท่าที่ผู้ประกันตนจ่ายมา และจะได้รับเงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
  • กรณีจ่ายสมทบตั้งแต่ 12-179 เดือน: จะได้รับ เงินออมชราภาพของผู้ประกันตน, เงินสทบนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทน

3. การรับ “เงินบำนาญ” ชราภาพ

-เกณฑ์การส่งเงิน 

  • ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (15 ปีขึ้นไป)
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และได้สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

-รูปแบบเงินที่ได้รับ จะได้รับการจ่ายเงิน แบบ “รายเดือน” ตลอดชีพ

-สิทธิที่ได้รับของการจ่ายสมทบแต่ละแบบ

  • กรณีจ่ายสมทบ 180 เดือน (15 ปี): จะได้รับเงินเป็นจำนวน 20% จากค่าจ้างเฉลี่ยของ 60 เดือนสุดท้ายที่ได้ทำการจ่ายเงินประกันสังคม (คิดจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท ถึงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)
  • กรณีจ่ายสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี): จะได้รับเงินบวกเพิ่มปีละ 1.5% ต่อปี

หมายเหตุ: จากมติ ครม. ล่าสุดของร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม (วันที่ 10 พ.ค. 65) อนุมัติหลักการให้ผู้ประกันตนเลือกรับ “บำเหน็จ” หรือ “บำนาญ” แบบใดก็ได้ (ขณะนี้ อยู่ในระหว่างการพิจารณารายละเอียด)

--------------

อ้างอิง: สำนักงานประกันสังคม