อัพเดท!มาตรการเปิดเรียน On-site 17 พ.ค.นี้ ต้องปฎิบัติอย่างไรบ้าง?

อัพเดท!มาตรการเปิดเรียน On-site 17 พ.ค.นี้ ต้องปฎิบัติอย่างไรบ้าง?

“17 พ.ค.2565” วันแรกของการเปิดเรียนแบบ On-site ของโรงเรียน 100%ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากที่ต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนไปสู่ On -line เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อที่เป็นนักเรียนและครู พบว่า เด็กอายุ 0-19 ปี มีการติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 2,674 ราย ร้อยละ 14.15 จากจำนวนผู้ติดเชื้อทุกกลุ่มอายุ 18,892 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (จากรายงานข้อมูลผู้ป่วยยืนยันประจำวัน กรมควบคุมโรค ,16 เมษายน 2565)

  • เช็กมาตรการเปิดเรียน On-site  100%

ดังนั้น สถานศึกษาตามมาตรการเปิดเรียน On-site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา เตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1 / 2565 เพื่อให้นักเรียน ครู บุคลากร และสถานศึกษา เปิดเรียน On -site จัดให้มีการเรียนการสอนที่โรงเรียน มีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และอยู่ได้กับโควิด อย่างปลอดภัย

โดยมาตรการเปิดเรียน On -site ปลอดภัย มีดังนี้

แนวทางการเฝ้าระวังในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเรียน On site ด้วยหลักการ

“ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน” ด้วย 3T1V

T : Thai Stop Covid Plus (TSC+) สถานศึกษาต้องประเมินตนเองเตรียมพร้อมก่อนเปิดเรียน

T : Thai Save Thai (TST) นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ

T : Test ตรวจคัดกรอง เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม เช่น ATK เมื่อมีความเสี่ยงหรือมีอาการ

V : Vaccine ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และเด็ก อายุ 5-18 ปี ได้รับวัคซีนโควิด 19- ตามเกณฑ์

มาตรการสร้างความปลอดภัย ป้องกันโควิด 19 ในสถานศึกษา (6 หลัก 6 เสริม 7 เข้ม)

6 มาตรการหลัก (DMHT-RC)

: เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดแออัด ทำความสะอาด

6 มาตรการเสริม (SSET-CQ)

: ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว ทานอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก

: สำรวจตรวจสอบ กักกันตนเอง

 

  • มาตรการคุมเข้มโรงเรียนประจำ เน้นปลอดภัยในสถานศึกษา

7 มาตรการเข้ม

  1. ประเมิน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานผล ผ่าน MOECOVID
  2. ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Bubble)
  3. จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและโภชนาการ
  4. อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน
  5. แผนเผชิญเหตุ มีการซักซ้อม รวมถึงการเตรียมพร้อม School Isolation
  6. ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนให้ปลอดภัยเน้นมาตรการปลอดภัยรถโรงเรียน
  7. School Pass สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา

ขณะที่ในกลุ่มของโรงเรียนประจำ ต้องดำเนินคุมเข้มตามมาตรการ Sandbox Safety Zone in School (SSS)

รูปแบบ Sandbox Safety Zone in School สำหรับโรงเรียนประจำ แบ่งเป็น 3 โซน ดังนี้

1. Screening Zone จัดพื้นที่หรือบริเวณให้เป็นจุดคัดกรอง (Screening Zone) ที่เหมาะสม จัดจุดรับ-ส่งสิ่งของ จุดรับส่งอาหาร หรือจุดเสี่ยงอื่น เป็นการจำแนกนักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองและผู้มาติดต่อที่เข้ามาในโรงเรียน ไม่ให้ใกล้ชิดกับบุคคลในโซนอื่น รวมถึงจัดให้มีพื้นที่ปฏิบัติงานเฉพาะบุคลากรที่ไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานในโซนอื่นได้

2. Quarantine Zone จัดพื้นที่หรือบริเวณให้เป็นจุดกักกันและสังเกตอาการ สำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรที่ยังต้องสังเกตอาการ หรือยังไม่ทราบสถานะการติดเชื้อเน้นการจัดกิจกรรมแบบSmall Bubble

3. Safety Zone จัดเป็นพื้นที่ปลอดเชื้อ ปลอดภัย สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรที่ปฏิบัติภารกิจ กิจกรรมแบบปลอดภัย

 

  • ครู เด็ก ติดโควิด ต้องปฎิบัติอย่างไร?

กรณีนักเรียน ครู บุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำเรียนในพื้นที่สถานศึกษา (On-Site) ตามปกติ ทำตามมาตรการ universal prevention และประเมิน Thai Save Thai (TST) เว้นระยะห่างของนักเรียนในห้อง ไม่น้อยกว่า 1 เมตร

กรณีนักเรียน ครู บุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

-จัดการเรียนการสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรม ใน Quarantine Zone ตามมาตรการ Sandbox Safety Zone in School เป็นเวลา 5 วัน และให้ติดตามสังเกตอาการอีก 5 วัน เข้มมาตรการ Sandbox: Safety Zone in School

- การตรวจคัดกรองหาเชื้อ ถ้ามีอาการให้ตรวจทันที ให้ตรวจครั้งที่ 1 ในวันที่ 5 – 6 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ และตรวจครั้งสุดท้ายวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ กรณีนักเรียนได้รับวัคซีนครบตามคำแนะนำในปัจจุบันและไม่มี อาการ ไม่แนะนำให้กักกัน ให้ตรวจ ATK ช้าในวันที่5 หรือมีอาการพร้อมแยกกักกัน ให้สังเกตอาการครบ 10 วัน พร้อมปฏิบัติตัวตามมาตรการขั้นสูงสุด

- สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และประสานหน่วย บริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียน

กรณีนักเรียน ครู บุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อ

- แยกกักตัวที่โรงเรียน (School Isolation) ปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข (กรณีไม่มี อาการหรือมีอาการเล็กน้อยให้จัดการเรียนการสอนได้ตามเหมาะสม ) โดยปฏิบัติตาม UP-DMHTA อย่าง เคร่งครัด

- ติดต่อ 1330 สปสช. ต่อ 14 หรือหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ ตามระบบอนามัยโรงเรียน

- ปฏิบัติตามมาตรการการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข

- พิจารณาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด จัดทำ School Isolation ตามมาตรการ Sandbox: Safety Zone in School

- สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร งดกิจกรรมกรรม รวมกลุ่ม เน้นการระบายอากาศ และ กำกับติดตาม มาตรการส่วนบุคคลขั้นสูงสุด โดยเฉพาะการสวมหน้ากาก อนามัย

- ทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษาตามมาตราการของกระทรวงสาธารณสุข และเปิด เรียนตามปกติ สำหรับโรงเรียนไป-กลับ

กรณีนักเรียน ครู บุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำเรียนในพื้นที่สถานศึกษา (On-Site) ตามปกติ ทำตามมาตรการ universal prevention และประเมิน Thai Save Thai (TST) จัดระยะห่างระหว่างนักเรียนในห้องไม่น้อยกว่า 1เมตร กรณีนักเรียน ครู บุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แยกกักกันที่บ้าน หรือสถานที่ตามคำแนะนำของหน่วยบริการสาธารณสุข ตรวจคัดกรองหาเชื้อทันที่ถ้ามีอาการ และให้ตรวจครั้งที่1 ในวันที่ 5-6หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ และตรวจครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ

  • ได้รับวัคซีนครบแล้วติดเชื้อ ควรดำเนินการดังนี้

กรณีนักเรียนได้รับวัคซีนครบตามคำแนะนำในปัจจุบันและไม่มีอาการ ไม่แนะนำให้กักกัน ให้ตรวจ ATK ช้าในวันที่5 หรือ มีอาการพร้อมแยกกักกัน ให้สังเกตอาการครบ 10 วัน พร้อมปฏิบัติตัวตามมาตรการขั้นสูงสุด สถานศึกษาจัดการ เรียนการสอนอย่างเหมาะสม เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบ อนามัยโรงเรียน กรณีนักเรียน ครู บุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อ

- แยกกักตัวที่บ้าน ( Home Isolation) หรือตามความเห็นชอบของสถานบริการด้านสาธารณสุข

- ติดต่อ 1330 สปสช. ต่อ 14 หรือหน่วยบริการสาธารณสุข

- ปฏิบัติตามมาตรการการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข

- พิจารณาจัดทำ School Isolation ตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงาน สาธารณสุข ผู้ปกครอง ชุมชน พิจารณาร่วมกันให้ความเห็นชอบ และปฏิบัติตามมาตรการ Sandbox: Safety Zone in School (SSS)

- สถานศึกษาจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ

- ทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษา และเปิดเรียนตามปกติ

หมายเหตุ การทำความสะอาด เนื่องจากโควิด-19 สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน 2 ชั่วโมง ถึง 9 วัน

หลักการ ในการทำลายเชื้อจะต้องใช้ในปริมาณที่สามารถฆ่าเชื้อได้ในเวลาสั้น

องค์การอนามัยโลกแนะนำ สารที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ ภายในระยะเวลา 1 นาที ได้แก่ แอลกอฮอล์ 62-70% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.1% และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5% มาตรการความปลอดภัยในการสอบ

กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้ติดเชื้อโควิด-19

สถานที่สอบ สถานที่จัดสอบ

  • ประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียนในการคัดกรองและให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยขั้นสูงสุด
  • จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับการจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 เน้นการระบายอากาศที่ดี จัดที่นั่งสอบ ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  • กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยง จัดการสอบตามมาตรการเดิม สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นที่นั่งสอบ ไม่น้อยกว่า 1 เมตร ผู้เข้าสอบ
  • เป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
  • ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือก่อน และหลังการเข้าสอบ งดการพูดคุย เว้นระยะห่าง
  • การเดินทางไปสนามสอบโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือประสานหน่วยสถานที่สอบ หน่วยบริการสาธารณสุข กรณีไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ผู้คุมสอบ
  • ปฏิบัติการคุมสอบตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น การสวม หน้ากากอนามัย
  • ใช้เวลาในการคุมสอบในห้องสอบให้น้อยที่สุด รวมถึงการวางแผนจัดการสอบให้เหมาะสม

อ้างอิง:กรมอนามัย ,กระทรวงศึกษาธิการ