"ตรีนุช"ชี้ปรับระบบดูแลนักเรียน-ระบบแนะแนวให้มีประสิทธิภาพ ลดปัญหาเด็ก

"ตรีนุช"ชี้ปรับระบบดูแลนักเรียน-ระบบแนะแนวให้มีประสิทธิภาพ ลดปัญหาเด็ก

"ตรีนุช" รอผลคกก.สอบข้อเท็จจริง เบื้องต้นเผยเหตุสื่อสารทำความเข้าใจกันน้อยเกินไป เตรียมปรับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และระบบแนะแนว ย้ำโรงเรียนต้องเป็นบ้านหลังที่สองของเด็ก ครูพร้อมช่วยเหลือสนับสนุนเด็กทุกเรื่องอย่างเต็มที่

กรณีด.ญ.เอ (นามสมมติ) อายุ 14 ปีที่ปัญหาครอบครัวรุมเร้าให้ต้องดิ้นรนหาหนทางเรียนหนังสือต่อ แต่สุดท้ายกลับถูกครูในโรงเรียนพูดจากล่าวหา ทำนองว่าไม่มีทางเรียนต่อได้ ทั้งตัวมีเพียงเงิน 200 บาท สุดท้ายเด็กสาวตรอมใจเครียดหนัก ผูกคอตัวเองเสียชีวิตในบ้านพัก

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว และทราบว่ามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว

โดยเบื้องต้นรับทราบข้อมูลว่าเป็นการสื่อสารทำความเข้าใจกันน้อยเกินไป โดยมีปัญหาเกิดขึ้นสองประเด็น คือ ปัญหาจากครอบครัว และเรื่องการเรียนที่เปลี่ยนโรงเรียน เนื่องจากทราบว่าผู้ปกครองต้องการให้เด็กย้ายไปโรงเรียนใหม่แต่เด็กต้องการจะเรียนในโรงเรียนเดิม

 

  • ปรับระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก-ระบบแนะแนวให้มีประสิทธิภาพ

แต่ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนให้เราต้องกลับมาตระหนักถึงบทบาทการแนะแนวในโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งระบบการแนะแนวในโรงเรียนจะต้องมีความเข้มแข็งมากกว่านี้ เพราะนโยบายหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาในทุกมิติ

ดังนั้น ต่อจากนี้ไประบบการแนะแนวในโรงเรียนจะต้องปรับปรุงใหม่ทำให้มีความเข้มข้น ครูต้องเข้าถึงปัญหาของนักเรียนเป็นรายบุคคลไม่ว่าจะเป็นปัญหาครอบครัว การเรียน   

บริบทของโรงเรียนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจึงมีความซับซ้อน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หรือระบบการแนะแนวจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เป็นการแนะแนวเรื่องการเรียนต่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องดแนะแนวไปถึงการดูแลสภาพจิตของนักเรียน และการปูเส้นทางในอนาคตให้แก่นักเรียนด้วยรมว.ศธ. กล่าว  

รวมถึง ต้องสร้างความเข้าใจให้แก่นักเรียนมีความรู้สึกอุ่นใจว่าโรงเรียนคือบ้านหลังที่สองของเด็ก และมีครูที่พร้อมช่วยเหลือสนับสนุนเด็กทุกเรื่องอย่างเต็มที่ เพราะเด็กทุกคนต้องมีโอกาสได้เรียน การจัดสรรทุนการศึกษาของทุกโรงเรียนไม่ใช่ปัญหา ซึ่งมีกองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดสรรให้เด็กกู้ยืมได้อยู่แล้ว

 

  • ระบบการดูแลนักเรียนทางโรงเรียนทำดีที่สุดแล้ว

ขณะที่ ทางโรงเรียน นางมาลี แก้วละเอียด ผอ.โรงเรียนสตรีพัทลุง กล่าวว่า โรงเรียนได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือดูแลนักเรียนคนดังกล่าวไว้ทุกด้านแล้ว เรื่องที่เกิดขึ้นน่าจะมาจากความเข้าใจที่ผิดพลาด

นางมาลี แก้วละเอียด ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีพัทลุง เปิดเผยว่า ในเรื่องนี้ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวนักเรียน และได้เปิดเรียนล่วงหน้าเนื่องจากมีงานกีฬา ส่วนนักเรียน ครูที่รับผิดชอบคือครูสุรวัฒน์

"โรงเรียนรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยืนยันว่าระบบการดูแลนักเรียนทางโรงเรียนทำดีที่สุดแล้ว"นางมาลี กล่าว

  • เปิดไทม์ไลน์ครูช่วยเหลือนักเรียน ก่อนที่จะเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม นางมาลี ได้รับข่าวจากครูสุรวัฒน์ ในช่วงเปิดเทอมคือในช่วงวันที่ 9-11 พ.ค.2565  ที่เป็นการเรียนสลับ ออนไซด์กับออนไลน์ ครูก็รู้ว่าเด็กไม่มาเรียน และได้ติดต่อไปยังด.ญ.เอ (นามสมมติ)วันที่ 9 พ.ค.2565 ที่ครูรายงานมา ก็รับทราบว่าไม่ได้อยู่ที่จังหวัดพัทลุง เขาไปอยู่กับแม่ที่ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ไม่สามารถกลับมาโรงเรียนนี้ได้ เนื่องจากไม่มีที่พัก และไม่มีผู้ดูแล 

ครูจึงได้ไปปรึกษาครูอีกท่าน ว่าให้ไปแจ้งหัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก็คือครูจรรยา ที่เป็นครูที่วางระบบดูแลนักเรียนทั้งหมด และเป็นครูที่รู้ข้อมูลเด็กทั้งโรงเรียนมากที่สุด

วันที่ 10 พ.ค.2565 ครูสุรวัฒน์ก็ได้รับแจ้งจากทางแมสเซสเฟซบุ๊กของน้องว่าไม่สามารถมาเรียนได้ เนื่องจากว่าไม่สบาย ขอลาโรงเรียนในวันดังกล่าว 

ต่อมาวันที่ 11 พ.ค.2565 ช่วงเวลา 16.17 น. ครูสุรวัฒน์ ก็ติดต่อสอบถามเด็กไปว่าเดินทางกลับมาพัทลุงหรือยัง เด็กก็ตอบมาว่า อยากกลับแต่ไม่สามารถกลับมาได้ จึงได้ถามเหตุผล แต่เด็กตอบมาว่ายังไม่สะดวกที่จะบอกข้อมูล จึงไม่ได้สอบถามต่อ

จากนั้นครูสุรวัฒน์ จึงได้เดินไปพบครูจรรยา เพื่อปรึกษาว่าจะทำอย่างไรก็เด็กคนนี้  เพราะเด็กอยากจะเรียน ไม่มีที่เรียน ไม่มีที่พัก

ครูจรรยา จึงให้ครูสุรวัฒน์ ติดต่อไปอีกครั้งเพื่อพูดคุยกับเด็ก แล้วแนะนำเด็กไปว่า ถ้าเรียนที่บ้านก็จะประหยัดค่าใช้จ่าย และดีกว่า เนื่องจากผู้ปกครองก็คือแม่ก็อยู่ที่นั่น

การที่มาเรียนที่พัทลุง แล้วไม่มีผู้ปกครองก็ไม่ได้ จะให้เด็กเช่าบ้านอยู่คนเดียวก็คงจะไม่ได้ แต่ถ้าอยากจะเรียนที่นี่ก็ต้องให้แม่ยินยอม จะได้ติดต่อให้ไปอยู่ที่บ้านพักเด็กและเยาวชน ที่มีที่พัก รวมทั้งอาหาร รวมทั้งรถรับส่งมาโรงเรียน แต่ต้องให้แม่เป็นคนมาดำเนินการ ซึ่งทางโรงเรียนก็ไม่ทราบว่าสถานการณ์ของครอบครัวเด็กขณะนั้นเป็นอย่างไร แต่ตามกฎหมายถ้าจะให้เด็กเข้าบ้านพักเด็ก แม่ต้องมาเซ็นยินยอม จนกระทั่งมาทราบว่า น้องโบนัส ตัดสินใจคิดสั้น

ส่วนหลังจากเกิดเหตุ เด็กนักเรียนไปโพสต์ในทวิตเตอร์ ว่าครูใช้คำพูดไปกดดันเด็ก แต่จากการดูพฤติกรรมการทำงานของครูจรรยา ที่เป็นหัวหน้างานดูแลนักเรียนมาสามปี ที่ผ่านมาก็ช่วยเหลือเด็กคนอื่นๆมาตลอด ส่วนประเด็นที่เด็กโพสต์ในทวิตเตอร์ว่าครูบอกว่าถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องเรียนนั้น ส่วนตัวเองก็ไม่ได้ยินก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับครูด้วย แต่เชื่อมั่นว่าไม่มีครูคนไหนที่จะไม่ปรารถนาดีกับเด็กอย่างแน่นอน และเชื่อมั่นในความเป็นครูของครูโรงเรียนสตรีพัทลุงทุกคน

ด้าน นายตุลยวัต เขียวจีน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และ น.ส.จรรยา ชูเมฆ ครูที่ปรึกษา ครูคนที่พูดกับเด็ก ก่อนเด็กเสียชีวิต ว่าทางโรงเรียน ได้เตรียมความพร้อมในการดูแลหลังจากที่ได้พูดคุยกับเด็ก แต่สุดท้ายกลับมาพบกับข่าวเศร้าเมื่อเด็กคิดสั้นฆ่าตัวตายไปแล้ว ซึ่งจริงแล้วทางครูที่ปรึกษา