เตือน ใช้ "แรงงานข้ามชาติ" ผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง

เตือน ใช้ "แรงงานข้ามชาติ" ผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เตรียมทางเลือกให้ "นายจ้าง" สถานประกอบการ นำเข้า "แรงงาน 3 สัญชาติ" ตาม MOU อย่างถูกกฎหมาย ค่าใช้จ่ายไม่แพง ตรวจ ATK ผลเป็นลบ วัคซีนครบเข้าทำงานได้ไม่ต้องกักตัว เตือน ใช้ "แรงงานข้ามชาติ" ผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง

นายนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เข้าใจและให้ความสำคัญกับความต้องการจ้างแรงงานข้ามชาติของนายจ้าง/สถานประกอบการเป็นอย่างดี โดยมอบหมายนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บริหารจัดการ แรงงาน 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) อย่างมีประสิทธิภาพ รัดกุม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง/สถานประกอบการ

 

ลดปัจจัยที่ทำให้เกิดการลักลอบเข้าเมืองมาทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานประเทศเพื่อนบ้าน และป้องกันความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ผลักดันการปรับมาตรการการนำแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานตาม MOU และการนำแรงงานข้ามชาติสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา เข้ามาทำงานตาม ม. 64 ให้ผ่อนคลายขึ้น ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายลดลง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565 เป็นต้นมา

 

เตือน ใช้ \"แรงงานข้ามชาติ\" ผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง

นายไพโรจน์ ระบุว่า สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการที่ต้องการจ้าง แรงงาน 3 สัญชาติ เข้ามาทำงานในประเทศไทย ปัจจุบันไม่ได้มีความยุ่งยาก เช่นช่วงก่อนผ่อนคลายมาตรการแล้ว โดยหาก แรงงานข้ามชาติ ฉีดวัคซีนครบโดส และมีผลตรวจ ATK เป็นลบ หรือหากฉีดวัคซีนไม่ครบแต่มีผลตรวจ RT – PCR ใน 72 ชั่วโมง สามารถเข้าประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ และไม่มีผลตรวจ RT – PCR ให้เข้าระบบกักตัวที่ลดเหลือ 5 วัน

 

ล่าสุด มีการยื่นดีมานต์ขออนุญาตจ้างคนต่างด้าวคนตามระบบ MOU แล้ว 214,013 คน โดยแบ่งเป็นนายจ้างที่มีความต้องการจ้าง แรงงาน สัญชาติเมียนมา 150,637 คน กัมพูชา 48,272 คน และลาว 15,104 คน ซึ่งแรงงานทั้ง 3 สัญชาติมีการทยอยเข้ามาทำงานตาม MOU แล้วอย่างต่อเนื่องร่วม 9 พันคน

อย่างไรก็ดี นายจ้าง/สถานประกอบการต้องร่วมมือและให้ความสำคัญกับการใช้แรงงานถูกกฎหมายเช่นกัน ขอย้ำว่า กระทรวงแรงงาน มีหน้าที่ตรวจสอบ ปราบปรามจับกุมและดำเนินคดีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย

 

  • หากตรวจพบกระทำความผิด นายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน
  • หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุก และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี 

 

“ทั้งนี้ ผู้ที่พบเห็นการจ้างคน แรงานต่างด้าว ทำงานโดย ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องทุกข์ได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือ ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วน 1694 กรมการจัดหางาน หรือแจ้งเบาะแสโดยตรงที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน โทร. 02 354 1729” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว