เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

ศบค.ปรับพื้นที่โซนสีเขียว -พื้นที่สีฟ้า เปิดสถานบันเทิง ผับ-บาร์ คาราโอเกะ ได้ไม่เกินเที่ยงคืน เริ่ม 1 มิ.ย. นี้ พร้อมปรับแนวปฎิบัติผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ไม่ต้องกักตัว สังเกตอาการตนเอง 10 วัน

วันนี้ (  20  พ.ค. 2565)  นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวรายงานสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่าขณะนี้ พบผู้ป่วยรายใหม่  6,463 ราย แบ่งเป็น ติดเชื้อในประเทศ 6,49 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 1 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 23 ราย มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่เดือนม.ค.2565 จำนวน 2,177,943 ราย

ผู้เสียชีวิต 41 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่เดือนม.ค. 2565 จำนวน 7,980 ราย  หายป่วยแล้ว 7,091 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่เดือนม.ค.2565  จำนวน 2,144,296 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่าสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ต่ำกว่าเส้นที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงผู้ป่วยปอดอักเสบ ก็มีจำนวนต่ำกว่าช่วงที่มีการคงมาตรการต่างๆ และคาดการณ์ว่าจะพบการแพร่โรคต่อเนื่องไปทุกจังหวัด ซึ่งถือได้ว่าอาจมาเป็นทางบวก และการเสียชีวิตต่ำกว่าเส้นที่คาดการณ์ไว้  

เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับการวางแผนมาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อเตรียมพร้อมโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น พบว่ามีการขยับเข้ามาจากเดิม 2 สัปดาห์ เส้นระยะที่ 3 Declining มีการเกิดขึ้นในช่วยปลายพ.ค.ถึง ต้นมิ.ย.

เพราะฉะนั้นในการจะประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ยังคงยึดตามช่วงเดิมคือวันที 1 ก.ค.2565 เพราะต้องดูในช่วงของการเปิดเทอม และการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ อย่าง การเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ ดังนั้น ขอให้ทุกคนปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด เพื่อทำให้วันที่ 1 ก.ค.2565 เกิดขึ้นจริง

 

  • ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ไม่ต้องกักตัว สังเกตอาการตนเอง 10 วัน

นพ.ทวีศิลป์  กล่าวต่อไปว่าที่ประชุมได้รับทราบขอปรับเปลี่ยน แนวทางการจัดการผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงของผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อโควิด ให้สังเกตอาการตนเอง 10 วัน (ไม่กักตัว) และตรวจ ATK เมื่อมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ

โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สามารถไปทำงานได้ ซึ่งต้องแยกพื้นที่กับผู้อื่น ปฎิบัติตามมาตรการ Universal  Prevention งดไปสถานที่สาธารณะ งดร่วมกิจกรรมร่วมกลุ่มคนจำนวนมาก และงดใช้ขนส่งสาธารณะที่หนาแน่น

เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

ยกเว้น กลุ่มผู้ดูแลสัมผัสใกล้ชิดกลุ่ม 608  และเด็กเล็ก ให้งด การอยู่ใกล้ชิดกลุ่มดังกล่าว อย่างน้อย 10 วัน และตรวจ ATK ในวันที่ 5 และ 10 หลังสัมผัสครั้งสุดท้าย หรือเมื่อมีอาการ ป่วย

  • ปรับพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า เปิดสถานบันเทิงถึงเที่ยงคืน 1 มิ.ย.นี้

นอกจากนั้น ได้มีการ ปรับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร ได้แก่ พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จาก 65 จังหวัด ลดลงเหลือ 46 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) เพิ่มเป็น 14 จังหวัด พื้นที่สีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) จาก 12 จังหวัด เพิ่มขึ้นเป็น 17 จังหวัด จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่ จาก 16 จังหวัด เป็น 12 จังหวัด

รวมถึง เห็นชอบ (ร่าง) แผนการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับสถานบริการ สถานประกอบการ ที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือ สถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เริ่ม 1 มิ.ย. 2565 ในพื้นที่ในการเปิดดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่สีฟ้า และพื้นที่สีเขียว

เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

 

  • เช็กมาตรการป้องกันโรคในแต่ละพื้นที่โซนสี

ทั้งนี้ จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.ชุดใหญ่) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธาน มีมติเห็นชอบปรับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณาการดังนี้

การจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม

พื้นที่เฝ้าระวังสูง

  • ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 1,000 คน  

พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว

  • จัดกิจกรรมการรวมกลุ่มตามความเหมาะสม

สถานศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา

พื้นที่เฝ้าระวังสูง

  • ให้ใช้อาคารสถานที่ เพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ภายใต้มาตรการป้องกันโรคที่ราชการกำหนด

พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว

  • ให้ใช้อาคาร สถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ

สถานที่เล่นกีฬา สนามกีฬา ลานกีฬา สระน้ำ หรือสถานที่จัดแข่งขันกีฬา

พื้นที่เฝ้าระวังสูง

  • เปิดบริการได้ตามปกติ และจัดการแข่งขันได้ โดยจำกัดผู้ชม
  • กีฬาในร่ม ผู้ชมไม่เกิน 75%
  • กีฬากลางแจง ผู้ชมตามความจุสนาม และมาตรการเว้นระยะห่าง

พื้นที่เฝ้าระวังหรือพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว

  • เปิดบริการและจัดการแข่งขันได้ตามปกติตามมาตรการที่กำหนด

โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้าน หรือสถานที่ลักษณะเดียวกัน

พื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว

  • เปิดดำเนินการตามปกติ จำนวนผู้ชมตามมาตรการที่กำหนด
  • สถานบันเทิงเปิดบริการถึงเที่ยงคืน ต้องปฎิบัติดังนี้

ส่วนแผนการปรับมาตรการป้องกันโรค สำหรับสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบ อบ นวด หรือสถานที่อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน

พื้นที่ในการเปิดดำเนินการ คือ พื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว(พื้นที่สีฟ้า) และพื้นที่เฝ้าระวัง(พื้นที่สีเขียว )

เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

ลักษณะการเปิดให้บริการ กำหนดดังนี้

  • เวลาในการให้บริการ จำหน่าย และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 24.00 น.
  • เปิดบริการไม่เกิน 24.00 น.

กิจกรรม

  • งดบริการเครื่องดื่มที่มีการใช้แก้วร่วมกัน
  • งดกิจกรรมส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้)
  • การให้บริการที่มีการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับลูกค้า จะต้องสวมหน้ากาก

มาตรการสำหรับผู้ให้บริการ

  1. พนักงาน นักร้อง นักดนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
  2. ตรวจคัดกรองความเสี่ยงพนักงานทุกวัน ด้วย (TST)
  3. ตรวจพนักงานทุกคนด้วย ATK ทุก 7 วัน และเมื่อมีอาการหรือมีความเสี่ยง
  4. ถือปฏิบัติตามาตรการ UP

เปิดมาตรการพื้นที่สีเขียว- พื้นที่สีฟ้า ต้องปฎิบัติตัว ทำกิจกรรมอะไรได้?

มาตรการสำหรับผู้รับบริการ

  1. ผู้รับบริหารต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
  2. ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP
  3. แนะนำให้ประชากรกลุ่ม 608 หลีกเลี่ยงการเข้ารับบริการ

มาตรการสำหรับสถานประกอบการ

  1. สถานบริการ ฯ ที่จะเปิดดำเนินการ ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ทำการประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai stop COVID 2+ และปฎิบัติตามมาตรการCOVID Free Setting ตลอดจนควบคุมกำกับพนักงานให้ปฎิบัติตามมาตรการที่กำนดไว้อย่างเคร่งครัด
  2. มท. กทม. สธ. และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.ประเมิน อนุญาต และติดตามกำกับอย่างใกล้ชิด โดยอนุญาตให้เปิดดำเนินการเฉพาะสถานบันเทิงที่ขึ้นทะเบียน และได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
  3. จัดพื้นที่ให้บริการโดยมีระยะห่างโต๊ะอย่างน้อย 1 เมตร
  4. มีการระบายอากาศที่ดีและเพียงพอ
  5. จัดให้มีการตรวจสอบผู้รับบริหารว่า เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น และไม่ใช่กลุ่ม 608