"ฝีดาษลิงในไทย" อัปเดตล่าสุด เช็ก 5 อันดับประเทศพบผู้ป่วย ฝีดาษลิง สูงสุด
อัปเดต "ฝีดาษลิงในไทย" ล่าสุดจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เช็ก 5 อันดับประเทศพบผู้ติดเชื้อ ฝีดาษลิง สูงสุด ซึ่งขณะนี้พบผู้ป่วยสะสมไปแล้ว 344 ราย
อัปเดต "ฝีดาษลิงในไทย" ล่าสุดมีการยืนยันว่ายังไม่พบโรค "ฝีดาษลิง" ในประเทศไทย ขณะที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานข้อมูล ณ วันที่ 27 พ.ค.2565 พบผู้ป่วยจากทั่วโลกรวมแล้ว 344 ราย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ฝีดาษลิงในไทย" ล่าสุด ชี้แจงประเด็นพบ ฝีดาษลิง 9 รายที่เกาะช้าง
- "ฝีดาษลิง" คนเกิดหลังปี 2523 เสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆจริงหรือไม่ มีคำตอบ
- WHO เผย "โรคฝีดาษลิง" ลุกลามกว่า 20 ประเทศ
ประเด็นเรื่อง "ฝีดาษลิงในไทย" เมื่อวานนี้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) พูดถึงการเฝ้าระวังโรค "ฝีดาษลิง" ในประเทศไทยจากการพบผู้ป่วยสงสัยที่เข้าได้กับนิยามการเฝ้าระวังโรคนี้ จึงได้มีการเชิญมาเข้ารับการรักษาและเก็บตัวอย่างส่งตรวจที่สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค (คร.) เป็นชาวต่างชาติทั้งหมด ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ไม่ได้ติดเชื้อฝีดาษลิง แต่เป็นการป่วยจากโรคอื่น
สถานการณ์ "โรคฝีดาษลิง" ล่าสุด (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พ.ค.2565) มีรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 344 ราย โดยประเทศที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่
- สเปน 120 ราย
- อังกฤษ 77 ราย
- โปรตุเกส 49 ราย
- แคนาดา 26 ราย
- เยอรมัน 13 ราย
การระบาดยังคงพบเป็นการติดต่อแบบคนสู่คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ติดโรคอยู่ในกลุ่มอายุระหว่าง 20-59 ปี
โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae พบได้ในสัตว์หลายชนิด ไม่ใช่แค่ลิง ซึ่งยังพบได้ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระต่าย กระรอก หนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
การติดต่อจากสัตว์สู่คน
- สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง
- ตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน
- กินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อและปรุงสุกไม่เพียงพอ
การติดต่อจากคนสู่คน
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยทางสารคัดหลั่งทางเดินหายใจจากผิวหนังที่เป็นตุ่ม
- มีอาการป่วยประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจากโรคเองได้