"ฝีดาษลิง" เทียบการติดต่อกับโควิด-19 คนทั่วไปควรฉีดวัคซีนหรือยัง?
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานพบ "ฝีดาษลิงในไทย" ซึ่งก็ต้องเฝ้าระวังและให้ความรู้ แนะนำการป้องกันโรค
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็นโรค "ฝีดาษลิง" ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานพบ "ฝีดาษลิงในไทย" ซึ่งก็ต้องเฝ้าระวังและให้ความรู้ แนะนำการป้องกันโรค
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ฝีดาษลิงในไทย" อัปเดตล่าสุด เช็ก 5 อันดับประเทศพบผู้ป่วย ฝีดาษลิง สูงสุด
- "ฝีดาษลิงในไทย" ล่าสุด ชี้แจงประเด็นพบ ฝีดาษลิง 9 รายที่เกาะช้าง
- "ฝีดาษลิง" คนเกิดหลังปี 2523 เสี่ยงมากกว่ากลุ่มอื่นๆจริงหรือไม่ มีคำตอบ
หมอยง ได้พูดถึงโรค "ฝีดาษลิง" ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่มีรายงานพบ "ฝีดาษลิงในไทย" โดยตั้งหัวข้อว่า ฝีดาษวานร โรคนี้จะระบาดมากไหม และจะป้องกันอย่างไร
การระบาดของโรคนี้นอกทวีปแอฟริกา แต่เดิมเกิดจากการติดต่อจากสัตว์มาสู่คน โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงตระกูลหนู ที่เป็นพาหะไวรัสนี้อยู่ เช่น หนูยักษ์แกมเบีย (Gambian giant rat) แพรี่ด็อก (Prairie dog) การระบาดในครั้งนี้ไม่มีหลักฐานการติดเชื้อจากสัตว์ แต่เป็นการติดระหว่างสัมผัสกับผู้ป่วย
การติดต่อจะต้องมีการสัมผัสอย่างใกล้ชิด ไม่ได้ติดง่ายแบบโควิด-19 การกระจายโรคยังไม่น่าเป็นห่วง ส่วนใหญ่ยังอยู่ในวงจำกัด
โรคนี้มีวัคซีนในการป้องกัน การปลูกฝีในอดีตก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้ ผู้ที่เคยปลูกฝีแล้ว ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อ ตุ่มที่เกิดขึ้นจะน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เคยปลูกฝีมาก่อน
ปัจจุบันยังมีวัคซีน ที่ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อเมริกาชื่อการค้าว่า JYNNEOS (IMVANEX) ในยุโรป (IMVAMUNE) โดยใช้ไวรัส ในกลุ่ม ฝีดาษ คือ (Modified Vaccinia Ankara strain) ไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ และไม่สามารถก่อโรคได้ มาใช้ฉีดในการป้องกัน และเป็นประโยชน์ในผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดหรือสัมผัสมาไม่เกิน 4 วัน
ปัจจุบันยังไม่ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีนกับคนทั่วไป จะให้เฉพาะกลุ่มเสี่ยงหรือผู้สัมผัสโรคมาเท่านั้น
CR เฟซบุ๊ก หมอยง