ประเมินความเสี่ยง "ฝีดาษลิงในไทย" เพิ่มเฝ้าระวังกลุ่มชายรักชาย
“ฝีดาษลิงในไทย” ยังไม่พบผู้ป่วย กรมควบคุมโรคประเมินความเสี่ยงล่าสุด 28 พ.ค.2565 ควรเพิ่มการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะชายรักชาย องค์การอนามัยโลก ระบุยังไม่มีเหตุผลต้องฉีด “วัคซีนป้องกันฝีดาษลิง”ขนานใหญ่ สถานการณ์ของโรคขณะนี้ ยังสามารถควบคุมได้
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โรคฝีดาษลิงในไทยว่า ขณะนี้ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ยังไม่พบผู้ป่วย มีเพียงผู้เข้าข่ายสงสัยแต่ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยืนยันว่าไม่ใช่โรคฝีดาษลิง โดยเป็นการติดเชื้อเริม ขณะนี้อยู่ระหว่างพักรักษาอาการผื่นที่สถาบันบำราศนราดูร คาดว่าจะกลับบ้านได้ใน 1-2 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ วันที่ 28 พ.ค.2565 ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร(ฝีดาษลิง) ฉบับที่ 4 สาระสำคัญระบุว่า
ฝีดาษลิงสถานการณ์ทั่วโลก
สถานการณ์ทั่วโลกของโรคฝีดาษวานร(ฝีดาษลิง)ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 2565 ที่มีการรายงานผู้ป่วยรายแรกใน ประเทศที่ไม่ใช่พื้นที่โรคประจำถิ่นของโรคนี้ถึงวันที่ 28 พ.ค. 2565 มี
การรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 484 ราย (เพิ่มขึ้น 53 ราย) ใน 27 ประเทศทั่วโลก (เพิ่มขึ้น 1 ประเทศ) เป็น
- ผู้ป่วยยืนยัน 401 ราย (เพิ่มขึ้น 69 ราย)
- ผู้ป่วยสงสัย 83 ราย (ลดลง 16 ราย)
ประเทศที่มีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่
- สเปน 139 ราย (ร้อยละ 29)
- อังกฤษ 101 ราย (ร้อยละ 21)
- โปรตุเกส 74 ราย (ร้อยละ 15)
- แคนาดา 63 ราย (ร้อยละ 13)
- เยอรมัน 21 ราย (ร้อยละ 4)
ประเทศใหม่ที่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง ได้แก่ อิหร่าน ข้อมูลทางระบาดวิทยาของสถานการณ์ทั่วโลก จากรายงานทั้งหมด มี 195 ราย ที่มีการรายงานข้อมูลปัจจัย เพศ พบว่าส่วนใหญ่เป็น
- เพศชาย (ร้อยละ 97)
- เพศหญิง (ร้อยละ 3)
สำหรับอายุ จากรายงาน 71 ราย ที่มีข้อมูล ทั้งหมดเป็นกลุ่มอายุ 20-59 ปี
จากรายงานที่มีข้อมูลอาการ 92 ราย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99) มีผื่น โดยผื่นที่พบ ได้แก่
- ลักษณะแผลหรือ ulcerative lesion (ร้อยละ 80)
- ไม่ระบุลักษณะ (ร้อยละ 10)
- ตุ่มน้ำใส (ร้อยละ 8)
- ผื่นนูน และตุ่ม หนอง (ร้อยละ 1)
ตำแหน่งของผื่น ได้แก่
- ไม่ระบุตำแหน่ง (ร้อยละ 60)
- บริเวณอวัยวะเพศ (ร้อยละ 57)
- บริเวณปาก (ร้อยละ 19)
- บริเวณรอบทวารหนัก (ร้อยละ 1)
อาการอื่นที่พบ ได้แก่
- ไข้ (ร้อยละ 27)
- ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต ไอ กลืนลำบากเล็กน้อย และปวดกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 1)
จากรายงานที่มีข้อมูลสายพันธุ์ 9 ราย ทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ West African จากรายงานทั้งหมด มี 84 ราย ระบุว่า
- มีประวัติเดินทาง 49 ราย (ร้อยละ 58) โดยมีข้อมูลระบุมี ประเทศต้นทาง 20 ราย (ร้อยละ 54) ได้แก่
- สเปน (ร้อยละ 45)
- อังกฤษ (ร้อยละ 10)
- โปรตุเกส เบลเยียม แคนาดา ประเทศในแอฟริกาแต่ไม่ระบุชื่อ (ร้อยละ 7)
- ไนจีเรียและเยอรมัน (ร้อยละ 3)
สถานการณ์ฝีดาษลิงในไทย
สถานการณ์โรคฝีดาษในประเทศไทย ณ วันที่ 28 พ.ค. 2565ยังไม่พบรายงานผู้ป่วย สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการติดต่อโรคฝีดาษวานรในประเทศไทย(ฝีดาษลิงในไทย) มีโอกาสพบผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากประเทศที่มีการรายงาน ผู้ป่วย เช่น ประเทศแถบแอฟริกากลางและตะวันตก สหราชอาณาจักรอังกฤษ สเปน โปรตุเกสและแคนาดา
ฝีดาษลิงประเด็นที่น่าสนใจจากต่างประเทศ
องค์การอนามัยโลก ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ยังไม่มีเหตุผลที่จะต้องเร่งฉีด วัคซีนขนานใหญ่เพื่อป้องกันโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) หรือฝีดาษลิง เนื่องจากสถานการณ์ของโรคดังกล่าวในขณะนี้ ยังสามารถควบคุมได้ แต่เตือนให้ตระหนัก เพื่อรับรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อที่เราจะสามารถใช้มาตรการที่เพียงพอ ในเวลาที่เหมาะสม
อังกฤษ สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร (UKHSA) ออกคำแนะนำใหม่เกี่ยวกับผู้ ติดเชื้อฝีดาษวานรโดยระบุว่า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงของตนเองเป็นเวลา 21 วัน โดยเฉพาะ สัตว์เลี้ยงที่เป็นหนูเจอร์บิลหรือหนูทะเลทราย หนูแฮมเตอร์ส และสัตว์ตระกูลฟันแทะ เพราะอาจมีความไวต่อโรค นี้เป็นพิเศษ และกังวลว่าเชื้อไวรัสฝีดาษวานรอาจแพร่ระบาดไปยังประชากรสัตว์ประเภทดังกล่าว
ข้อเสนอแนะฝีดาษลิงในไทย
ข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์โรคฝีดาษวานรในประเทศไทย ควรเพิ่มการเฝ้าระวังและให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มชายรักชาย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อการป้องกันโรคในสถานบริการที่มีความเสี่ยง เน้น ย้ำประชาชนให้มีการปฏิบัติตามมาตรการ UP