“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

เครือซีพี และ ซีพีเอฟ สานต่อโครงการ "ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” เดินหน้าปกป้อง "ความหลากหลายทางชีวภาพ" คิกออฟปลูก "ป่าชายเลน" ต.ท่าพริก จ.ตราด กว่า 1,300 ไร่ ปล่อยปลา-ปูดำ ร่วมสร้างแหล่งอาหารของชุมชนอย่างยั่งยืน

เป็นเวลากว่า 7 ปีที่เกิดความร่วมมือกันของภาครัฐ ชุมชน และภาคเอกชนอย่าง “ซีพีเอฟ” ในการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง จ.ตราด เป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา มีเงินสะพัดกว่า 3 ล้านบาท นำมาซึ่งการคิกออฟ ปลูกป่าชายเลน ที่ ต.ท่าพริก กว่า 1,300 ไร่ ปล่อยปลาและปูดำ ร่วมสร้างแหล่งอาหารของชุมชนอย่างยั่งยืน

 

“ชุมชนบ้านธรรมชาติล่าง” ตั้งอยู่ติดทะเลอ่าวไทยด้านหน้าเกาะช้าง หลังภูเขา มีท่าเรือเฟอรี่อ่าวธรรมชาติเพื่อข้ามไปยัง เกาะช้าง ใจกลางหมู่บ้าน ชุมชนแห่งนี้ จึงเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยว จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติตั้งแต่ป่าไม้ถึงผืนน้ำ ชุมชนจึงเกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” มีฐานการเรียนรู้ 3 ป่า คือ การนำทรัพยากรป่า 3 ป่า ได้แก่ ป่าชุมชน ป่าชายเลน และป่าสมุนไพร บวกกับภูมิปัญญารุ่นปู่ย่า ตายาย ผสมผสานเริ่มจากการย้อมผ้าด้วยเทคนิคต่างๆ เกิดการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม 3 ป่า โดยใช้น้ำทะเล และเทคนิคพิเศษเพิ่มสีสันจนได้รับรองมาตรฐาน OTOP CPOT และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

“วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง” เป็นที่รู้จักโดยเฉพาะเรื่อง Eco-Print เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ซีพีเอฟให้การสนับสนุน ด้วยการทำ “ผ้าสามป่า” จาก ป่าภูเขา ป่าสมุนไพร และป่าชายเลน สร้างลวดลายด้วยวัสดุธรรมชาติ “ปรเมศวร์ วิวัฒน์ชานนท์” วัย 43 ปี ช่างเย็บผ้าชุมชน และหนึ่งในสมาชิกวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง เล่าว่า แต่เดิมชุมชนทำ “ผ้ามัดย้อมสามป่า” โดยการนำดอกไม้ใบหญ้า พืชพรรณไม้ในชุมชน ป่าชายเลน และป่าสมุนไพรมาสกัดเป็นสีย้อมผ้า มัดเป็นลวดลายต่างๆ เพื่อเป็นสีสัน

หลังจากนั้นชุมชนพยายามที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยซีพีเอฟ เข้ามามีส่วนช่วยอบรมให้ความรู้ ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ “ผ้าสามป่า Eco-Print” เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยนำใบไม้จาก 3 ป่ามารังสรรค์ผลงานลงบนผ้า ผ่านกระบวนการนึ่ง เกิดเป็นผ้าพิมพ์ลายธรรมชาติไม่ใช้สารเคมี 

 

นับเป็นงานแฮนเมดชิ้นเดียวในโลกที่ไม่เหมือนใคร ชิ้นหนึ่งใช้เวลากว่า 3 วัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนในชุมชนสามารถเก็บใบไม้ที่บ้านตนเองมีมาขายได้ เช่น ต้นเพกา ให้สีเหลือง กิโลกรัมละ 70 บาท อีกทั้ง ขยายการส่งออกไปยังต่างประเทศ ปัจจุบัน มีออเดอร์เข้ามาเดือนละมากกว่า 100 ผืน คุณภาพชีวิตในชุมชนดีขึ้น นอกจากนั้น ยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กๆ ในชุมชนอีกด้วย

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

“ชำนาญวิทย์ เตรัตน์”  ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เปิดเผยว่าการร่วมมือดังกล่าว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด ด้านบริหารจัดการและอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ตราดรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม” ตลอดจนสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง อีกทั้งยังมีการทำปุ๋ยนาโน และน้ำดื่มชุมชน

 

"ขณะเดียวกัน ยังดำเนินกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ฟื้นฟูธรรมชาติ ปลูกป่าในหัวใจคน ให้คนตราดรักธรรมชาติเพราะจังหวัดตราดขายธรรมชาติให้นักท่องเที่ยว การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนมีส่วนสำคัญยิ่ง ขณะที่องค์ความรู้ที่ได้รับจากซีพีเอฟ ช่วยสนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ กลายเป็น Best Practice และสามารถขยายผลออกไปได้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป"

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

ปลูกป่าชายเลนสร้างความยั่งยืน

 

ล่าสุดวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา “สุภกิต เจียรวนนท์” ประธานกรรมการ ซีพี-ซีพีเอฟ นำคณะผู้บริหารเครือซีพี และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับ ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ คิกออฟปลูกป่าชายเลนที่ ต.ท่าพริก จ.ตราด กว่า 1,300 ไร่ ปล่อยปลาและปูดำ ร่วมสร้างแหล่งอาหารของชุมชน สานต่อโครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

“ไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์” รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการยุทธศาสตร์ป่าชายเลน ซีพีเอฟ เผยว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” โดยกำหนดกลยุทธ์ 3 เสาหลัก ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ จึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมดูแลสมดุลระบบนิเวศ เพิ่มพื้่นที่สีเขียวให้กับประเทศไทย ดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน ภายใต้แนวคิด “จากภูผา สู่ป่าชายเลน”

 

ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ ประสบผลสำเร็จจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศไทยสอดรับนโยบายของรัฐบาล ผ่านการดำเนิน “โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ในระยะที่หนึ่ง ปี 2557-2561 อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า พื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 จังหวัด คือ ระยอง สมุทรสาคร ชุมพร สงขลา และพังงา รวม 2,388 ไร่ ช่วยฟื้นระบบนิเวศป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

 

เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ และชุมชนโดยรอบสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู ส่งเสริมให้คนในพื้นที่อยู่ร่วมกับป่าและพึ่งพาตนเอง ยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยั่งยืน และปัจจุบันเข้าสู่ระยะที่สองของโครงการ (ปี 2562-2566) มีเป้าหมายอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าชายเลนอีก 2,900 ไร่ ในพื้นที่ จ.ตราด ระยอง และสมุทรสาคร

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

“สำหรับการปลูกป่าชายเลนที่ ต.ท่าพริก จ.ตราด มีเป้าหมายอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าโดยใช้ที่ดินของบริษัทรวมมากกว่า 1,300 ไร่ ปลูกพืช อาทิ ต้นถั่วขาว ต้นประสักดอกแดง ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นแสมขาว ต้นแสมดำ ต้นลำแพน เป็นต้น พร้อมให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชุมชน ในพื้นที่เข้าไปดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน เพื่อให้ชุมชนและป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน และขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ราว 2,000 ไร่ เพื่อเดินหน้าโครงการฯ ในโอกาสต่อไป” ไพโรจน์ กล่าว

 

“เสน่ห์ อภิบาลศรี” วัย 53 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ท่าพริก อ.เมือง จ.ตราด เผยว่า แม้ปัจจุบันป่าชายเลนจะยังคงความสมบูรณ์แต่ก็ไม่เท่ากับสมัยก่อน เนื่องจากความหลากหลายของระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่าชายเลน เปรียบเสมือนการดูแลแหล่งทำกินของชุมชน ไม่ใช่เฉพาะ ต.ท่าพริก แต่ยังเป็นที่ทำกินของชุมชนทั้งจังหวัดเรียบชายทะเล “เมื่อปลูกป่าความอุดมสมบูรณ์ก็จะเกิดขึ้น”

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

ดูดซับคาร์บอน 9,000 ตันต่อปี

 

เป้าหมายของ “ซีพีเอฟ” ในเรื่องของการฟื้นฟูป่า คือ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 20,000 ไร่ ขณะนี้ ฟื้นฟูป่าไปแล้วกว่า 14,000 ไร่ และมีแผนที่จะฟื้นฟูเพิ่มอีก 30,000 ไร่ ปัจจุบัน สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 9,000 ตันต่อปี คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว จากการพัฒนาศักยภาพจุดเด่นของชุมชน

 

จากการประเมินผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์ป่าชายเลนหลายปีที่ผ่านมา โดย บริษัท ลอยด์ส รีจิสเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด LRQA ซึ่งเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานระดับโลก พบว่า การดำเนินงานของ ซีพีเอฟ ที่ผ่านมา ส่งผลทั้งด้านเศรษฐกิจและชุมชนต่างๆ มีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 27 ล้านบาท ในเชิงสังคม 5 ล้านบาท และด้านสิ่งแวดล้อม 12 ล้านบาท

 

“ซีพีเอฟ” ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ดันเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มพื้นที่สีเขียว