ข้อแนะนำ “ถอดหน้ากากอนามัย” ถอดเมื่อใด และใครยังต้องใส่ต่อเนื่อง?
จากประกาศปลดล็อกให้คนไทย “ถอดหน้ากากอนามัย” ในพื้นที่โล่งได้แล้ว ยกเว้นขณะอยู่บนรถไฟฟ้า BTS แม้สถานประกอบการ - ขนส่งอื่นๆ ยังไม่มีประกาศออกมา ไปเช็คกันอีกครั้งว่า เราควรถอดหน้ากากเมื่อใด และใครที่ยังต้องใส่ต่อไป?
ในที่สุดประเทศไทยก็มีการผ่อนปรนเรื่องการ “ถอดหน้ากากอนามัย” เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่เริ่มไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในไทยได้คลี่คลายลง และมีแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้น จนประกาศให้ทั้ง 77 จังหวัด ปรับเป็นพื้นที่สีเขียวทั้งหมด
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนดู ข้อแนะนำในการ"ถอดหน้ากากอนามัย" สถานการณ์ใดเหมาะสม บุคคลใดยังควรต้องสวมหน้ากากอนามัยต่อไป และเราทุกคนยังต้องพกหน้ากากอนามัยตลอดเวลาหรือไม่?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
1. เมื่อใดที่ควร “ถอดหน้ากากอนามัย”
แนวทาง “การถอดหน้ากากอนามัย” นั้นเป็นไปตามความสมัครใจ ไม่ได้มีการบังคับให้ทุกคนต้องถอดหน้ากากทั้งหมด โดยมีข้อแนะดังนี้
- ในอาคารขณะอยู่คนเดียว
- บริเวณอากาศถ่ายเทสะดวก
- ร้านอาหาร/ ตลาด
- ขนส่งสาธารณะ
- ในอาคาร ที่สามารถเว้นระยะห่างได้
- สถานที่ออกกำลังกาย
- สถานที่จัดงานแสดงต่างๆ
2. บุคคลใดและเมื่อใด ที่ควร “สวมหน้ากาก”
บุคคลที่ควรต้อง “สวมหน้ากากอนามัย” ตลอดเวลา มีด้วยกัน 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่ม 608 ซึ่งได้แก่ ผู้สูงวัย ผู้ที่มีโรคประจำตัว หญิงมีครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19
- ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้มีประวัติเสี่ยงสูง และยังจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่ปฏิบัติงานหรือมีหน้าที่ให้บริการซึ่งใกล้ชิดกับบุคคลอื่นๆ
ทั้งนี้ สำหรับแนวปฏิบัติใน “การสวมหน้ากากอนามัย” ทั้งในสถานที่ปิดและสถานที่เปิด มีดังต่อไปนี้
- เมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้
- อยู่ในที่แออัด
- มีการรวมกลุ่มคน
- อยู่บริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท
- อยู่ในสถานพยาบาล หรือพื้นที่ที่มีผู้ป่วย
หมายเหตุ: “หน้ากากอนามัย” มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 จึงยังควรพกหน้ากากติดตัวทุกครั้งเมื่อออกไปสถานที่ข้างนอกทุกครั้ง
------------------------------------
อ้างอิง: กระทรวงสาธารณสุข
พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์ ศิลาวงษ์