อยากมี "ลูกแฝด" ต้องรู้ ภาวะเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์แฝด

อยากมี "ลูกแฝด" ต้องรู้ ภาวะเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์แฝด

หลายคนมีความฝันอยากจะมี "ลูกแฝด" ปัจจุบัน จึงมีเทคนิคทางการแพทย์เพื่อช่วยให้การตั้งครรภ์แฝดจนสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง การตั้งครรภ์แฝด ก็มีความเสี่ยงและอันตรายกว่าการตั้งครรภ์ปกติ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด โดยธรรมชาติครรภ์แฝดจะมีโอกาสเกิดขึ้นนานครั้งๆ ซึ่งน้อยกว่า 1% หรือประมาณ 1 ใน 300 คน

 

ส่วนใหญ่เป็นแฝดสอง ส่วนการเกิดแฝดจากเทคนิคของแพทย์นั้นขึ้นอยู่กับยุคสมัย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่สามารถมีลูกได้ด้วยตนเอง แต่อยากได้ลูกแฝดและต้องพึ่งเทคโนโลยี จัดว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมนัก เพราะเทคโนโลยีนี้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนที่มีบุตรยาก และช่วยเหลือในเรื่องของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะ

 

ดังนั้น การตั้งครรภ์แฝด จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยง จึงอยากเตือนหลายๆ คนที่ต้องการพึ่งเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรแฝดนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายๆ คนคิด เมื่อในครรภ์แฝดมีอันตรายมากมาย โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝดมากกว่า 2 คู่มีอันตรายอยู่มาก 

 

แฝดไข่ใบเดียว หรือ แฝดไข่หลายใบ

 

วิธีทางการแพทย์จะเป็นแบบแฝดไข่หลายใบ คือ การใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว โดยปัจจุบันสามารถใส่ได้มากสุดเพียง 2 ตัวเท่านั้น เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคุณแม่ การตั้งครรภ์แฝดเกิดจากไข่ใบเดียวที่แยกกัน หรือไข่หลายใบที่ฝั่งตัวพร้อมๆ กัน เรื่องเพศของแฝดสามารถแบ่งได้ เช่น ถ้าไข่ใบเดียวแฝดจะเป็นเพศเดียวกัน หน้าตาเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นไข่หลายใบก็แล้วแต่เพศขี้นอยู่กับสเปิร์ม

ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ได้ "ลูกแฝด"

 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ได้ "ลูกแฝด" ได้แก่ หากเป็นแฝดธรรมชาติ กรรมพันธุ์เป็นปัจจัยสำคัญในลำดับต้นๆ โดยปกติสามารถทราบว่าได้ลูกแฝดได้ตอนอัลตร้าซาวด์ แต่การอัลตร้าซาวด์บางครั้งก็สามารถผิดพลาดได้เช่นกัน อย่างในบางกรณีผลอัลตร้าซาวด์เห็นเป็นลูกแฝดแต่พอคลอดแล้วกลับไม่ใช่ลูกแฝดแต่อย่างใด

 

ทั้งนี้ เมื่อมี 2 คนอยู่ในท้องคุณแม่ก็จะหนักมากกว่าปกติ ปัจจุบันจึงคลอดลูกด้วยการผ่า แต่การคลอดลูกแฝดโดยธรรมชาติ แฝดคนที่ 2 จะคลอดลำบากเพราะไม่ลงมาภายในช่องคลอด คุณหมอที่ทำคลอดต้องมีความเชี่ยวชาญมากกว่าการคลอดปกติ หากแฝดคนใดคนหนึ่งมีท่าทางก่อนคลอดผิดปกติเช่นนอนขวาง เอาก้นลง อาจพิจารณาว่าต้องทำการผ่าตัดคลอดแทน

 

ภาวะเสี่ยงของครรภ์แฝด

 

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุถึงภาวะเสี่ยงของครรภ์แฝด และการดูแลตัวเองของคุณแม่ ว่า การตั้ครรภ์แฝด ถือเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง ในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยมากกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการดูแลจากสูตินารีแพทย์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น 

 

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 

 

  • ภาวะแท้งบุตรสูง
  • ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ 
  • การตกเลือดทั้งก่อนและหลังคลอด 
  • การตั้งครรภ์แฝดเหมือน อาจเกิดภาวะไหลเวียนของเลือดระหว่างทารกไม่สมดุลกัน
  • อวัยวะของลูกแฝดผิดปกติ 

 

ดูแลตัวเองอย่างไร 

 

  • ฝากครรภ์ทันทีที่ทราบว่าท้อง จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนลงได้ 
  • ตรวจติดตามการเจริญพันธุ์ด้วยคลื่นอัลตร้าซาวน์อย่างใกล้ชิด
  • รับประทานอาหารบำรุงครรภ์สม่ำเสมอ
  • ไม่แบกของหนักและลดการเดินระยะไกล

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : "อาหารคนท้อง" เลือกอย่างไร ให้เหมาะสมตามช่วง "อายุครรภ์"

 

อยากมี \"ลูกแฝด\" ต้องรู้ ภาวะเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์แฝด

สังเกตอาการเมื่อตั้งครรภ์แฝด

 

  • แพ้ท้องมากกว่าปกติ
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือบวม ตั้งแต่อายุครรภ์น้อย
  • ครรภ์โตเร็วผิดปกติ

 

คำแนะนำ

 

  • เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ให้รีบมาฝากครรภ์ทันที
  • ควรลดความหนักของกิจกรรมทางกาย เพราะอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัว

 

อยากมี \"ลูกแฝด\" ต้องรู้ ภาวะเสี่ยงเมื่อตั้งครรภ์แฝด

 

อ้างอิง :

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย