'สภากาชาดไทย' แจงเลือดบริจาคไม่มีเชื้อ HIV
ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ยืนยันว่าเลือดที่นำออกไปให้ผู้ป่วยลูคีเมียจากการทดสอบในตอนนั้นยังไม่พบเชื้อ HIV แต่คาดว่าเลือดน่าจะอยู่ในช่วงระยะที่ตรวจเชื้อไม่เจอหรือที่เรียกว่า window period ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการฟักตัวของเชื้อ
จากกรณีหนุ่มลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น วัย 24 ปี ป่วยเป็นลูคีเมีย ก่อนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลชื่อดัง แต่ปรากฏว่าได้รับเชื้อ HIV จากการถ่ายเลือด ซึ่งตอนแรกทางโรงพยาบาลตกลงรักษาให้ฟรี แต่ต่อมากลับไม่ทำตามสัญญา อ้างว่าไม่มีประวัติการรักษา
ล่าสุด ทางผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ผ.ศ.ดร.พญ.จารุพร พรหมวง บอกยืนยันว่า เลือดที่นำออกไปบริจาคให้ผู้ป่วยโรคลูคีเมียที่ติดเชื้อ HIVนั้นยังไม่พบเชื้อ HIV ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงระยะที่ตรวจเชื้อไม่เจอหรือที่เรียกว่า window period ซึ่งคนที่มาบริจาคเลือดอาจจะเพิ่งได้รับเชื้อมาใหม่ๆ ทำให้ไม่สามารถตรวจเจอเพราะ เชื้อ HIV ต้องใช้เวลาในการฟักตัว 5-7 วัน และขอชี้แจ้งว่าเทคโนโลยีในปี 2547 ยังไม่ทันสมัยเท่าที่ควร และขอความร่วมมือประชาชนที่จะมาบริจาคเลือดให้กรอกข้อมูลตามจริงเพื่อช่วยกันลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
สำหรับขั้นตอนการบริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติมีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ 1. ผู้ที่มาบริจาคโลหิตต้องกรองแบบสอบถามความเสี่ยงตามความจริง 2. จะมีพยาบาลค่อยสัมภาษณ์เพื่อคัดกรองความเสี่ยงอีก 1 ครั้ง 3. หลังจากที่ได้รับการบริจาคโลหิตแล้วจะนำไปตรวจหาเชื้อที่ถ่ายทอดทางโลหิตคือ เชื้อ HIV ไว้รัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการคัดกรองที่ได้มาตรฐานสูงสุด
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 'บำรุงราษฎร์' รับผู้ป่วยติดเอดส์จากให้เลือด แจงดูแลตามหลักมนุษยธรรม