“รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า”พลังสะอาดลดมลพิษอากาศ

“รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า”พลังสะอาดลดมลพิษอากาศ

มลภาวะจากท่อไอเสีย” ส่งผลให้เกิดมลพิษในอากาศของประเทศไทย โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ ถือว่าเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดปัญหา

เริ่มแรกของการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า “อีทราน” ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ในการผลิตซึ่งไทยไม่มีนวัตกรรมมาก่อน ใช้ต้นทุนจำนวนมากทำให้ราคาของรถดังกล่าวค่อนข้างสูง 

โดยในปี 2560 อีทราน ได้เปิดตัว ETRAN PROM รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบเพื่อการบริการสาธารณะคันแรกของโลก ซึ่งแก้ปัญหาเรื่องมลภาวะ และผู้ใช้งาน ด้วยการใช้ไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน และการแยกเบาะผู้โดยสารออกจากผู้ขับขี่ โดยที่สามารถออกแบบที่นั่งแยกได้ แต่ราคาจะค่อนข้างสูงและเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ 

ต่อมา อีทราน ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ศึกษาตลาดรถไฟฟ้า พัฒนาต้นแบบแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ปรับปรุงคุณภาพสินค้า รูปแบบธุรกิจต่างๆ รวมทั้งรูปแบบการชาร์จที่มีมาตรฐาน 

157587095281

หลังจากพัฒนาเทคโนโลยีกับปตท.ใหญ่แล้ว ได้ร่วมกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี ในฐานะแกนนำธุรกิจเคมีภัณฑ์ของกลุ่ม ปตท.เพื่อพัฒนาเม็ดพลาสติกที่ทำให้ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการย่อยสลายได้ง่าย เพราะชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์นั้นทำมาจากพลาสติกเมื่อชนแล้วก็ทิ้ง ไม่สามารถซ่อมได้ กลายเป็นขยะจำนวนมาก 

ดังนั้น ธุรกิจยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคตต้องพัฒนาพลาสติกที่เป็นส่วนหนึ่งของ Circular Economy โดยนำมาจากทะเลของไทย และ Bioplastic ที่ย่อยสลายได้ง่าย ต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าสามารถทำรถทั้งหมดที่เป็นพลาสติก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 52% และหลังจากนี้จะมุ่งมั่นพัฒนาให้รถไฟฟ้ามีสมรรถนะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ และราคาถูกที่ทุกคนสามารถซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าได้

อย่างไรก็ตามประเทศไทยต้องสนับสนุนให้บริษัททั้งขนาดใหญ่ และผู้ประกอบการ โดยเฉพาะสตาร์อัพทำธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะการจะส่งเสริมให้ทุกบริษัทปลูกต้นไม้ หรือมีกิจกรรม CSR อาจไม่เพียงพอ ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต อย่าง รถจักรยานยนต์ถ้าใช้น้ำมัน เครื่อง 125 ปล่อยคาร์บอน 45 กรัม 

ซึ่งถ้าผลิตรถจักรยานยนต์ที่่ใช้น้ำมัน 2 แสนคันต้องปลูกต้นไม้ทดแทน 1 ล้านต้น แต่ถ้าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 2 แสนคันเท่ากับปลูกต้นไม้ไปแล้ว 1 ล้านต้น การสร้างธุรกิจลดปริมาณคาร์บอนจากรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าช่วยโลกได้ โดยรัฐบาลต้องสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกิจบนพื้นฐานการดูสิ่งแวดล้อม และหนุนให้เกิดการนำมาหมุนใหม่ ใช้ใหม่

157587121357

เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาดธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลาย จีซี กล่าวว่าทาง GC มีการสร้างโซลูชั่นขึ้นมา เพื่อทำให้สามารถทำงานกับพาสเนอร์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะบริษัท ฝ่ายรัฐบาล และสถาบันวิจัย เพราะการทำงานของจีซีไม่ใช่เพียงด้านธุรกิจ แต่เป็นการทำงานในด้านวิจัย ออกแบบ และผลิตร่วมกัน ดังนั้นจะสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และสตาร์ทอัพ เพิ่มขีดความสามารถของการยกระดับสินค้ากลุ่มพลาสติกให้มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจีซี พร้อมลงทุนในเรื่องนี้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ และถ่ายโอนให้แก่เครือข่าย

ทั้งนี้จีซีได้สนับสนุน ร่วมมือกับพาสเนอร์ต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ อย่างการสร้างรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ETRAN KRAF ฝีมือนวัตกรรมที่พัฒนาโดยคนไทยของบริษัทอีทราน

สตาร์ทอัพสายยานยนต์ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาระบบไฟฟ้า คิดวัสดุทำให้เป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และราคาเหมาะสม โดยคัดเลือกพลาสติกที่เหมาะกับการใช้งาน เพิ่มความเข้มข้นในการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่วัสดุ และทดสอบให้ได้มาตรฐานการใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ การทำธุรกิจไม่ได้ขายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำให้โลกดีขึ้น เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน