'Crisis Management' เริ่มที่ Panic Management
เปิด 6 วิธีขจัดอาการตื่นตระหนกตกใจกลัว โดยเฉพาะในช่วงที่รับฟังข่าวสารบ้านเมืองจากสื่อต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาจนหลายคนเกิดอาการเครียด เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ให้ได้อย่างมีสติ
หลายท่านที่ได้รับฟังข่าวสารบ้านเมืองจากสื่อต่างๆ ที่ได้รายงานเกี่ยวข้องกับไข้หวัดโคโรน่าและสถานการณ์กราดยิงที่โคราช จนเกิดอาการเครียดกันบ้าง บ้างก็เอือมระอา เบื่อหน่ายกันไปบ้าง
การรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ที่ถาโถมไปยังผู้บริโภค ย่อมทำให้คนเกิดอาการตื่นตระหนกตกใจกลัว ซึ่งเมื่อผู้บริโภคมีการรับรู้ที่ตกใจมากๆ ย่อมทำให้เกิด พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ปกติ (Irregular consumption behavior) การเตรียมตัวที่ทำไปด้วยอาการตื่นตระหนก ย่อมนำมาซึ่งการสูญเสียทั้งกำลังทรัพย์และกำลังใจ ซึ่งจะส่งผลต่อสภาวการณ์โดยรวมที่แย่ลง
ในการจัดการสภาวการณ์ที่ถึงขั้นวิกฤติเช่นนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยตรงและจัดการยากกว่าสภาวะการเมืองก็คือ การตื่นตระหนกของผู้คน เป็นเพราะอาการตกใจกลัวจน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่มีเหตุผล ทำให้เกิดอาการกังวลและพฤติกรรมตื่นตัวที่วุ่นวายต่อสภาวะโดยรวม
Panic is a sudden sensation of fear which is so strong as to dominate or prevent reason and logical thinking, replacing it with overwhelming feelings of anxiety and frantic agitation consistent with an animalistic fight-or-flight reaction.
ดังนั้นนอกเหนือจากการจัดการชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะการทางการเมืองแล้ว ควรจะมีการจัดการการตื่นตระหนก (Panic Management) การให้ข้อมูลข่าวสาร ต้องกระทำควบคู่กันไปกับข้อแนะนำในการปฏิบัติตน การเสนอแนะข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวและมีการกระพือข่าวกันออกไป นอกจากจะไม่ทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น แล้วการพูดบอกต่อๆ กันไปที่มีการเพิ่มนิดนี่หน่อย ทำให้ข้อมูลข่าวสารบิดเบือนได้มากไปกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
การจัดการอาการตื่นตระหนกเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งในสภาวะวิกฤติ เพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ให้ได้อย่างมีสติ ซึ่งแนวทางของการสร้างให้สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลชัดเจน ควรมีการเริ่มต้นที่
หนึ่ง การลำดับความสำคัญ (Prioritize) อาการตื่นตระหนกที่มากเกินไปจะทำให้อาการพะวง ว่าสิ่งที่ต้องทำมีหลายอย่างและกลัวว่าจะไม่สามารถทำได้ทันเวลา ความคิดเช่นนี้จะทำให้เกิดอาการลนลาน จับโน่นนิดนี่หน่อยจนสุดท้ายไม่สามารถทำให้อะไรได้เลยแม้แต่อย่างเดียว การเรียงลำดับความสำคัญก่อนหลัง โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ โดยอาจจะเริ่มที่ชีวิตคน ชีวิตสัตว์เลี้ยง ทรัพย์สิน รถยนต์ และค่อยๆ เรียงตามลำดับความสำคัญอย่างมีสติ จะทำให้การจัดการเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น
การลำดับความสำคัญนี้ รวมไปถึงเรื่องของการทำงาน หลายท่านพะวงเรื่องของทรัพย์สินที่บ้านจนทำให้งานที่ทำอยู่พลอยเสียการงานไปด้วย ถ้ามีความกังวลและตื่นตระหนกมากจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยแม้แต่อย่างเดียว การลางานหนึ่งหรือสองวัน และจัดการให้จบๆ ไปเป็นเรื่องเป็นราวและกลับมาทำงานอย่างเต็มที่จะได้ไม่เสียไปทั้งสองอย่าง
สอง มุ่งมั่นให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า (Focus) ขณะที่ทำงานอยู่ ขอให้ท่านมุ่งมั่นกับสิ่งที่ทำโดยไม่ต้องสนใจข่าวเรื่องการเมืองมากนักจนขวัญเสีย เพราะครั้งนี้ไม่ใช่พายุที่จะถาโถมมาได้ภายในหนึ่งชั่วโมง การโฟกัสในสิ่งที่ตนเองสนใจที่จะทำอยู่ในขณะนั้น (Selective Attention) จะทำให้ไม่เกิดอาการวอกแวก ไม่สามารถทำงานอย่างได้ผล
สาม การเลือกที่จะแปลความแยกแยะอย่างถูกต้อง (Selective Interpretation) ข้อมูลอย่างเดียวกัน แต่หลายคนก็ได้ตีความโดยอาการตื่นตระหนก ทำให้เกิดการบิดเบือนข้อมูลและสร้างพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลที่ได้จากสภาวะการเมืองนั้นต้องมาวิเคราะห์อย่างมีสติ ถูกต้อง การรับฟังจากการพูดปากต่อปากมากเกินไป ย่อมทำให้การแปลความผิดพลาดเสียทั้งเวลา ทรัพย์สินและกำลังใจ
สี่ การแชร์ข้อมูลทั้งประสบการณ์และความรู้สึก (Sharing) กับผู้คนที่ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน ย่อมทำให้เกิดการรับรู้ในเชิงเปรียบเทียบกับผู้ร่วมชะตากรรม การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเครียดและอาการกดดันของอาการตื่นตระหนกได้
ห้า หากิจกรรมอย่างอื่นทำ การพยายามที่จะไม่มองในสิ่งที่เป็นอยู่แล้ว ไปหากิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ท้ายสุด การหมั่นที่จะให้กำลังใจตนเองและคนรอบข้าง โดยการเลือกที่จะมองโลกในแง่ดีและมีความหวัง (Optimistic) ลักษณะการคิดอย่างมองโลกในแง่ดีและมองทุกอย่างก็คงต้องจบลงไปในไม่ช้า ย่อมทำให้เกิดกำลังใจที่จะต่อสู้ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น เหตุการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นนี้คงจะต้องจบลงในไม่ช้า
ขอให้ใจมีกำลังและพลังใจ This too shall pass ครับ