มองลึกปัญหา ‘Technological Generation Gap’

มองลึกปัญหา ‘Technological Generation Gap’

ช่องว่างระหว่างคนต่างวัย ไม่ได้เกิดขึ้นในเรื่องทั่วไปเท่านั้น แต่ในยุคดิจิทัลแบบนี้ เทคโนโลยีเข้ามาปั่นป่วนความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมวงกว้าง ทั้งที่ทำงานและในบ้านของพวกเราเองเช่นกัน ดังนั้นจะทำอย่างไรเพื่อให้ช่องว่างตรงนี้ลดลงได้บ้าง?

ความสัมพันธ์นั้นตั้งอยู่บนความเข้าใจในกันและกัน เราอาศัยอยู่ในสังคมที่หลากหลาย เนื่องด้วยความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว กระทั่งเรื่องทั่วไปอย่าง "วัย" หลายโอกาสเราพบว่า ผู้คนวัยต่างกัน มักมีแนวคิดและรูปแบบพฤติกรรมต่างกัน บางครั้งนำไปสู่ความไม่เข้าใจหรือช่องว่างระหว่างคนต่างวัย เรียกว่า "Generation Gap" ยุคดิจิทัลนี้ เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาดิสรัปแค่วิธีทำธุรกิจ แต่ยังป่วนความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมวงกว้าง ทั้งที่ทำงานและในบ้านของพวกเราเอง การแก้ปัญหา "Technological Generation Gap" มีพื้นฐานมาจาก 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน

ดังนั้น พนักงานอีกส่วน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานมาเป็นเวลานาน จึงนิยมทำงานที่กำหนดเวลาและแบบแผนชัดเจนเสียมากกว่า ขณะที่เราพยายามตามหาสมดุลในแบบตัวเอง สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ความสามารถสื่อสารทุกที่ทุกเวลาที่โมบาย เทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้มากขึ้น และกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของ Instant Communications ในไม่ช้า

3.เทคโนโลยีเร่งให้เกิดอุปสงค์ต่อทักษะใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว 

เด็กรุ่นใหม่ที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถฝึกฝนใช้งานได้เร็ว แต่สำหรับเจนเนอร์เรชั่นอื่นๆ เทคโนโลยีอาจดูไม่จำเป็นมาก หรือยังมองไม่เห็นประโยชน์มากพอ เมื่อพฤติกรรม ทัศนคติ และ Skill set ยืนอยู่คนละฝั่ง ช่องว่างก็เกิดขึ้น นอกจากจะเป็นหน้าที่แต่ละบุคคลที่ต้องปรับตัวแล้ว องค์กรต้องทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อลดช่องว่าง และสร้างสภาวะการทำงานที่ดีสำหรับทุกวัย โดยสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นจุดศูนย์รวมของทุกวัยได้ก็ไม่ใช่ใดอื่น นอกจากตัว "เทคโนโลยี" เอง

  • "Customize" ลดช่องว่างวัยในที่ทำงาน

ปัจจุบัน เจนแซด เริ่มเข้าสู่โลกการทำงานแล้ว ทำให้บางองค์กรมีพนักงานถึง 4 เจนเนอร์เรชั่น ทั้งเบบี้ บูมเมอร์ เจนเอ็กซ์ เจนแซด เจนวาย หากองค์กรต้องการใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์รวมอย่างมีประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานของพนักงานทุกคน สิ่งเชื่อมทุกวัยไว้ที่จุดศูนย์รวมนั้น คือ "ความยินยอมใช้เทคโนโลยี" และ "ความสามารถใช้เทคโนโลยี" การนำเสนอเทคโนโลยีไปสู่พนักงานต้อง Customize หรือใช้วิธีที่ต่างไปตามคนแต่ละกลุ่ม

เจนวาย เจนแซด การใช้ดิจิทัล ไกด์ไลน์ หรือ Self-learning Method เป็นเรื่องที่ทำได้ สิ่งที่ต้องคิดถึงเป็นพิเศษ คือ ความง่ายต่อการใช้งาน หากเทคโนโลยีไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานในชีวิตจริง คนเหล่านี้จะไม่รีรอหาเทคโนโลยีอื่นๆ มาทดแทน ส่วนเบบี้ บูมเมอร์ และเจนเอ็กซ์ การจัดคลาสเทรนนิ่งแบบอินเตอร์แอคทีฟ มีการถาม-ตอบ การสาธิต การทดลองใช้เพื่อสร้างความมั่นใจ ยังจำเป็น ต้องให้พวกเขายอมรับถึงประโยชน์การเป็นสมาร์ท เวิร์คเพลส ทำให้เขาบริหารจัดการเวลาได้ดี ใช้เวลากับครอบครัวได้มากขึ้น เป็นต้น

  • ต้องอาศัย "ความเข้าใจ"

ในบริบทครอบครัว คุณแม่คุณพ่อหลายคนคงจะบ่นว่าโดนเทคโนโลยีแย่งเวลาของลูกๆ ไป ทำให้นึกถึงเรื่องราวภาพยนตร์เรื่อง "Mother Gamer" ที่ทางการีนา (ประเทศไทย) มีส่วนร่วมกับสหมงคลฟิล์ม เป็นเรื่องราว แม่-ลูกชาย ที่ไม่ลงรอยกันเรื่องเส้นทางอาชีพนักกีฬาอีสปอร์ตที่ลูกชายเลือก แทนที่จะปล่อยให้ช่องว่างเพิ่มระยะห่าง แม่ เข้าไปอยู่ใน "พื้นที่ของลูกชาย" คือ โลกแข่งขันอีสปอร์ต แม่ตั้งทีมตัวเองขึ้นมาท้าประลองและโค่นล้มทีมลูก เมื่อลองสัมผัสวิถีชีวิตลูก แม่ก็รู้ว่าโลกของลูกก็มีเหตุผลและความสวยงาม ทั้งยังช่วยทำความเข้าใจการตัดสินใจของลูกด้วย

ดังนั้น นี่จึงเป็นการ Visualize สิ่งที่พวกเราทุกคนรู้ดีอยู่แล้วแต่อาจจะละเลยไปในบางครั้ง ว่าความสัมพันธ์นั้นตั้งอยู่บนความเข้าใจในกันและกัน และการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัวก็ต้องอาศัยการเปิดใจและเอาใจเขามาใส่ใจเราเช่นกัน