เช็คที่นี่!! วิธีรักษาผู้ป่วยโควิด-19
การรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งแต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน ทำให้คนไข้ทุกคนไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกคน โดยร้อยละ 80 สามารถหายได้เองส่วนร้อยละ 15 อาการค่อนข้างหนักต้องได้รับยาต้านไวรัสชนิดฟาวิพิราเวียร์ขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาตามอาการ
นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ว่า โดยทั่วๆ ไปผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป 3-5 วันแรกจะเริ่มมีอาการจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนก่อน ไอ เจ็บคอ มีไข้ ส่วนเรื่องของปอดอักเสบจะเกิดใช่วงวันที่ 5-10 เมื่อปอดอักเสบรุนแรงขึ้นจะทำให้คนไข้มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคนไข้มาโรงพยาบาลเร็วมักไม่ค่อยมีปัญหา และหากให้ยาได้เร็วช่วงที่อาการยังไม่ถึงขั้นวิกฤติก็จะช่วยให้คนไข้ไม่เข้าสู่ภาวะวิกฤติได้
ซึ่งในส่วนของไทยคนไข้ที่มาส่วนใหญ่มาในช่วงที่ดูแลรักษาได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอาการน้อย โดยในช่วงแรกแพทย์จะรับเข้ารักษาในโรงพยาบาล เมื่ออาการหายดีแล้วจะส่งไปอยู่ที่โรงแรม หรือ Hospitel รวมแล้วตั้งแต่วันเริ่มป่วยจนถึงได้กลับบ้านจริงๆ อย่างน้อยต้อง 14 วัน และเมื่อกลับไปถึงบ้านก็ยังต้องปฏิบัติตัวอย่างเข้มข้นในการป้องกันการแพร่เชื้อ คือ สวมใส่หน้ากากอนามัยเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตามมีคำถามว่าเชื้อโควิด-19 จะหมดจากคอได้เมื่อใดนั้น นายแพทย์ธนรักษ์ ให้คำตอบว่าในระยะแรกของการติดเชื้อ เชื้อจะยังอยู่ที่บริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ ติดเชื้อที่บริเวณลำคอ เชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่และสามารถไปติดเชื้อให้กับคนอื่นได้ จากที่มีงานวิจัยจนถึงปัจจุบันพบว่าในคนที่อาการน้อยๆ เชื้อจะอยู่ในคอได้เพียง 8 วัน ยังไม่มีการเจอเชื้อในคนไข้หลัง 8 วัน หากมีข้อมูลใหม่มาว่าเชื้ออยู่ในคอและแพร่ออกมาได้นานกว่า 8 วัน เราก็พร้อมปรับมาตรฐานการรักษาต่อไป เพื่อรักษาและป้องกันโรคให้ดีที่สุด
80 %หายเองได้ไม่ต้องรับยา
อย่างไรก็ตามในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งแต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน นพ.ธนรักษ์ กล่าวยืนยันว่า ความแตกต่างนี้ทำให้คนไข้ทุกคนไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกคน โดยร้อยละ 80 สามารถหายได้เองเหมือนกับมีอาการไข้หวัดทั่วไป ส่วนร้อยละ 15 อาการค่อนข้างหนักต้องได้รับยาต้านไวรัสชนิดฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งการที่แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้คือต้องหายดีและรับการรักษาอย่างน้อย 14 วัน ทั้งที่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม แต่หลังจากนั้นก็จะต้องปฏิบัติตัวอย่างเข้มข้นในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส หรือรับเชื้อไวรัส เช่นอยู่บ้านก็ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย และกักกันตัวต่ออีก 14 วัน
แนวทางการรักษา 4 กลุ่มผู้ป่วย
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายว่า เรื่องของการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 นั้น ในประเทศไทยมีการพยายามปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาไปตามผลการศึกษาและวิจัยจากทั่วโลก โดยรักษาอาการของผู้ที่ป่วย โควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. ไม่มีอาการ ประมาณ 20% ใช้วิธีรักษาโดยการให้สังเกตอาการในโรงพยาบาล 7 วันถ้าหากว่าเอกซเรย์ปอดพบว่าไม่มีอาการป่วยใดๆ จะย้ายคนไข้จากโรงพยาบาล เพื่อเป็นการประหยัดเตียง ไปที่ Hospitel (หอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19) ต่ออีก 14 วัน ซึ่งปัจจุบันในกรุงเทพฯ มีทั้งหมด 3 แห่ง รวม 600 ห้อง คือ 1. ที่กรมการแพทย์ดูแล เป็นโรงแรมแถวดินแดง มี 270 ห้อง2. หอพักมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต 308 ห้อง3. โรงแรมแห่งหนึ่งย่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 40 ห้อง
2. อาการไม่รุนแรงประมาณ 65% จะมีปัจจัยเสี่ยง หรือ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ตาม จะมีการให้ยาคือ ยาต้านไวรัสบางตัวจะให้รักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ถ้าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ ไอนิดหน่อย ก็จะย้ายคนไข้ไปนอน Hospitel
3. ปอดอักเสบไม่รุนแรงประมาณ 12% จะมีการให้ยาต้านไวรัส กับ ยาต้านมาลาเรีย ซึ่งการให้ยาจะมีมากขึ้นแต่ถ้าอาการแย่ลง ก็จะเริ่มให้ยาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มเข้ามาด้วยรักษาในโรงพยาบาลประมาณ 2-4 สัปดาห์
4. ปอดอักเสบรุนแรงประมาณ 3% จะมีการให้ยาต้านไวรัสทุกตัว อาทิ ยาต้านไวรัสเอดส์ ฟาวิพิราเวียร์โดยจะให้คนไข้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่มีการย้ายคนไข้ไป Hospitel เนื่องจากมีอาการรุนแรง
รักษา-จ่ายยาตามอาการ
สำหรับแนวทางการดูแลรักษาและการใช้ยาต้านไวรัส กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
การรักษา COVID-19 แบ่งกลุ่มตามอาการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1. Confirmed case ไม่มีอาการ (asymptomatic):
แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้ 2-7 วัน มื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อน พิจารณาให้ไปพักต่อที่
โรงพยาบาลเฉพาะ (designated hospital'หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ CVID-19) อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป่วย
หลังจากนั้นให้พักฟื้น และสวมหน้ากากอนามั้ย ระมัดระวังสุขอนามัย จนครบ 1 เดือน นับจากวันที่เริ่มป่วย
ให้ดูแลรักษาตามอาการ ไมให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง รวมทั้งอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา
2. Confirmed case with mild symptoms and no risk factors :
(ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง/โรคร่วมสำคัญ)
แนะนำให้นอนโรงพยาบาล 2-7 วัน ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ยา 2 ชนิด นาน 5 วัน คือ
1) Chloroquine หรือ hydroxychloroquine ร่วมกับ
2) Darunavir + ritonavir หรือ lopinavir/ritonavir หรือ azithromycin
เมื่ออาการดีขึ้นและผลถ่ายภาพรังสีปอดยังคงปกติ พิจารณาให้ไปพักต่อที่โรงพยาบาลเฉพาะ (designated
hospitaVหอผู้ป่วยฉพาะกิจ CVID-19) อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันเริ่มป้วย หลังจากนั้น แนะนำให้พักฟื้น
และสวมหน้ากากอนามัย ระมัดระวังสุขอนามัย จนครบ 1 เดือน นับจากวันที่เริ่มป่วย
หากภาพถ่ายรังสีปอดแย่ลง (progression of infiltration) ให้พิจารณาเพิ่ม favipiravi เป็นเวลา 5-10 วัน
ขึ้นกับอาการทางคลินิก
3. Confirmed case with mild symptoms and risk factors :
ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยยโรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี, โรคปอดอุดกั้น
เรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ, โรคตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด, โรคหลอด
เลือดสมอง, เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ภาวะอ้วน (BM 235 กก/ตรม) ตับแข็ง, ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และ lymphocyte
น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.
- แนะนำให้ใช้ยาอย่างน้อย 2 ชนิด นาน 5 วัน คือ
1) Chloroquine หรือ hydroxychloroquine ร่วมกับ
2) Darunavir + ritonavir หรือ lopinavir/ritonavir
อาจพิจารณาให้ยาชนิดที่ 3 ร่วมด้วยคือ azithromycin**
หากภาพถ่ายรังสีปอดแย่ลง (progression of infiltration) ให้พิจารณาเพิ่ม favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน
ขึ้นกับอาการทางคลินิก
4. Confirmed case with pneumonia หรือ ถ้าเอกซเรย์ปอดปกติ แต่มีอาการ หรืออาการแสดง เข้าได้กับ
pneumonia และ SpO? ที่ room air น้อยกว่า 95% :
แนะนำให้ใช้ยาอย่างน้อย 3 ชนิด นาน 10 วัน ยกเว้น favipiravir
1) Favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก ร่วมกับ
2) Chloroquine หรือ hydroxychloroquine ร่วมกับ
3) Darunavir + ritonavir หรือ lopinavir/ritonavir
อาจพิจารณาให้ยาชนิดที่ 4 ร่วมด้วยคือ azithromycin"
- เลือกใช้ respiratory support ด้วย HFNC ค่อนใช้ invasive ventilation
- พิจารณาใช้ organ support อื่นๆ ตามความจำเป็น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อทุกราย จะได้รับยาต้านไวรัสอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับแพทย์จะพิจารณาตามอาการของแต่ละบุคคล
สำรอง“ยาฟาวิพิราเวียร์” 3.5 แสนอ
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่ปอดอับเสบ แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งนายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่าปัจจุบันได้มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ กับผู้ป่วยแล้ว จำนวน 515 ราย ใช้ไปแล้ว 48,875 เม็ด เหลืออยู่ 38,126 เม็ด สามารถมีใช้ได้อย่างต่อเนื่องอีก 4-5 เดือน ล่าสุดเมื่อปลายเดือนมีนาคม 2563 องค์การเภสัชกรรม ได้สั่งซื้อจากจีนและญี่ปุ่นเพิ่ม 200,000 เม็ด โดยจะมีการจัดส่งยาภายในเดือนเมษายนนี้ รวมแล้ว 287,000 เม็ด ตั้งเป้าสำรองใช้ในประเทศจำนวน 3.5 แสนเม็ด ขั้นต้นสำหรับ 2 เดือน (เมษายน-พฤษภาคม 2563) และจะมีการสั่งซื้อเพื่อสำรองเพิ่มอย่างต่อเนื่อง