10 เรื่อง ‘วันแรงงาน’ 1 พฤษภาคม ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

10 เรื่อง ‘วันแรงงาน’ 1 พฤษภาคม ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

รวม 10 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “วันแรงงาน” 1 พฤษภาคม ของทุกปี ที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน

วันที่ 1 พฤษภาคม ของถูกปี ถือเป็น วันแรงงาน ที่ในหลายประเทศทั่วโลกจะได้ให้ลูกจ้างได้หยุดพัก และรำลึกถึงความสำคัญของแรงงาน หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยเกื้อหนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวม 10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แรงงาน และวันแรงงาน ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน และใกล้ตัวเรากว่าที่คิด

1. แรงงานมีมากว่า 130 ปีแล้ว นับตั้งแต่โลกก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในกิจการต่างๆ มากขึ้น ขณะที่ผู้คนในระบบงานก็ยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในตอนนั้นเรื่องสวัสดิการ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้าง และนายจ้างหลายๆ เรื่องยังไม่ได้มีความชัดเจนเท่าที่ควร หลายครั้งที่ผู้คนในระบบงานต้องทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน และใช้เวลาทำงานแต่ละวันมากถึงวันละ 10-16 ชั่วโมง

158829838634

2. การเรียกร้องการกำหนดชั่วโมงการทำงานสูงสุดไม่เกิน 8 ชั่วโมง และการทบทวนสิทธิ และสวัสดิการต่างๆ ที่แรงงานพึงได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1817 ที่สหราชอาณาจักร หรือที่เรียกกันว่า EIGHT-HOUR DAY จากนั้นในปี 1856 แรงงานชาวออสเตรเลียพร้อมใจกันประกาศให้วันที่ 21 เมษายน เป็นวันหยุดประจำปีของแรงงานทุกคน เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์นั้น ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 พฤษภาคม ในเวลาต่อมา

3. ปี ค.ศ. 1889 แรงงานในสหรัฐอเมริกาได้นับหยุดงาน และชุมนุมประท้วงเพื่อสนับสนุนวันดังกล่าว จนนำไปสู่ความรุนแรง และโศกนาฏกรรมจากการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ จนกระทั่ง ปี 1904 จึงได้มีการเรียกร้องให้องค์กรแรงงานทั่วโลกหยุดงานในวันดังกล่าว และถูกจดจำในชื่อของ May Day ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนทำ 3 ขั้นสร้างตัวจาก 'ค่าแรงขั้นต่ำ'

เทียบ ค่าแรง กับ ค่าครองชีพ ในวันนี้ กับอีก 10 ปีที่ผ่านมา

‘เราไม่ทิ้งกัน’ เปิด ‘ยื่นทบทวนสิทธิ’ ให้คนที่ยกเลิกลงทะเบียนโดยไม่ตั้งใจ แล้ว

4. คำว่า Mayday ยังมีความหมายอื่นนอกเหนือจากวันแรงงานด้วย โดยเป็นโค้ดสัญญาณแจ้งเหตุร้าย (distress signal) ที่ใช้กันในระดับสากล เป็นเสียงที่ใช้ผ่านการสื่อสารทางวิทยุสื่อสาร ที่มามาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า "m'aider" ซึ่งหมายถึง "มาช่วยฉันด้วย" โค้ดเมย์เดย์นี้ใช้กันกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการขอความช่วยเหลือจากกลุ่มตำรวจด้วยกัน นักบินที่อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตำรวจดับเพลิง องค์กรเกี่ยวกับการคมนาคมต่างๆ ก็ใช้กัน

5. ทางฝั่งยุโรปนั้น May Day จะถูกนับเป็นวันแรกของเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันแห่งการเริ่มต้นฤดูกาลของการเพาะปลูกของเกษตรกรในหลายพื้นที่ อีกทั้งยังมีการจัดพิธีเฉลิมฉลอง และบวงสรวงเพื่อขอให้เทพเจ้าอำนวยพรให้พืชผลทางการเกษตรเป็นไปได้ด้วยดี และผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อีกด้วย

158829841228

6. สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เริ่มมีการจัดระบบบริหารจัดการแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมทั้งความคุ้มครองและดูแลสภาพการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นในปี พ.ศ.2475 ก่อนที่ ปี 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้จัดประชุม และลงความเห็นว่า ควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จากนั้นจึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็น วันกรรมกรแห่งชาติ และเปลี่ยนชื่อเป็น วันแรงงานแห่งชาติ ในปี 2500

7. การจัดงาน วันแรงงานแห่งชาติ อย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 2517 โดยความรับผิดชอบของกรมแรงงาน ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น จัดงานเฉลิมฉลองวันแรงงานขึ้นที่สวนลุมพินี โดยภายในงานมีการทำบุญตักบาตร นิทรรศการให้ความรู้ รวมทั้งกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ

8. วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม นั้นไม่ถือว่าเป็นวันหยุดราชการ หน่วยงานราชการยังคงเปิดทำการ และให้บริการตามปกติ ส่วนที่มีการหยุดงานจะเป็น รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนเท่านั้น

158829843019

9. ตามสถิติของกระทรวงแรงงาน ปัจจุบันประเทศไทยมี แรงงานอยู่ราว 38 ล้านคน แบ่งเป็นผู้มีงานทำ 37 ล้านคน ว่างงาน 3.7 แสนคน และมีกำลังแรงงานตามฤดูกาลอีกราว 1.9 แสนคน

10. ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทย ในกรุงเทพมหานคร นับย้อนหลัง 10 ปีที่ผ่านมานั้น ปี 2553 แรงงานไทยมีค่าแรงรายวันอยู่ที่ 206 บาท โดยมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาเป็น 300 บาทต่อวัน เมื่อปี 2555 ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็น ค่าแรงขั้นต่ำ 310 บาทต่อวันในปี 2559 และเพิ่มมาเป็น 325 บาท เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา รวมเฉลี่ย ค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานได้เพิ่มขึ้นมา 57% ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา