ศธ. ย้ำ 1 ก.ค. 63 เปิดเรียนแน่นอน !

ศธ. ย้ำ 1 ก.ค. 63 เปิดเรียนแน่นอน !

ศธ. ย้ำ 1 ก.ค. เปิดเรียนแน่นอน เตรียม 3 ช่องทาง On site , On Air และ Online พร้อมรับหากสถานการณ์ปกติ ในพื้นที่ปลอดภัย เรียนที่โรงเรียนได้แต่ต้องยึดหลักปฏิบัติของสธ. แต่หากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายต้องใช้ระบบเรียนทางไกล และออนไลน์ เข้าเสริม

วันนี้ (9 พฤษภาคม) ทำเนียบรัฐบาล นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรองโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ เข้าใจความกังวลในการเรื่องการเรียนการสอน ผลกระทบต่อนักเรียน ครู โรงเรียน ดังนั้น ในสถานการณ์โควิด-19 สิ่งสำคัญ ในการจัดการเรียนการสอน ข้อที่ 1 คือ การคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การเปิดเทอม 1 ก.ค. เปิดแน่นอน ไม่ว่าจะเรียนที่โรงเรียนหรือเรียนที่บ้าน โดยคำนึงถึงการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ถัดมา 2. อำนวยการให้นักเรียนทุกนเข้าถึงการเรียนการสอนได้ แม้จะไม่สามารถไปโรงเรียนได้  3. ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. จัดสรรช่องทางการรับชมผ่านโทรทัศน์จำนวน 17 ช่อง ซึ่งสามารถเรียนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้ตั้งแต่อนุบาล 1 – ม.6 จำนวน 15 ช่อง , อาชีวะ 1 ช่อง และ กศน. 1 ช่อง ดังนั้น ทุกระดับสามารถเรียนได้

4. การตัดสินใจนโยบายต่างๆ บนพื้นฐานการสำรวจความต้องการทั้งจากนักเรียน ผู้ปกครอง ครู โรงเรียน โดยจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นที่ตั้ง โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ 5. ปรับปฏิทินการศึกษาเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนเพื่อรู้ ของเด็กมากขึ้น ปรับตารางเรียนตามความเหมาะสม เวลาชดเชยจะคำนึงถึงภาระของทุกคน และการได้รับความรู้ครบตามช่วงวัย 6.บุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และทำให้ท่านทั้งหลายได้รับผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด

158901904757

3 ช่องทาง On site/On Air/Online 

นางรักขณา กล่าวต่อไปว่า การเลื่อนการเปิดเทอม ถือวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงเวลาสำคัญ ในการปรับปรุงระบบการศึกษา ของประเทศให้มีความเข้มแข้งมากขึ้น เพื่อยกระดับการศึกษาของไทย มีการออกแบบการเรียนการสอน ช่วงโควิด-19 นี้ โดยภาพรวม ประการแรก คือ รูปแบบการเรียนการสอน ออกแบบให้สอดคล้องกับความปลอดภัยของแต่ละพื้นที่ โดย ศธ. มี 3 ช่องทาง คือ On site , On Air และ Online  

“On site คือ 1 ก.ค. หากพื้นที่ปลอดภัย สถานการณ์คลี่คลาย สามารถไปเรียนปกติได้ แต่หากบางพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย ก็ต้องมีการจัดการเรียนการสอนทางไกล หรือ On Air ที่กสทช. จัดสรรช่องให้ สุดท้าย คือ ออนไลน์ ในระดับ ม.4 – ม.6 ที่พร้อมสามารถเรียน Online ควบคู่กับการเรียนทางไกล ในรูปแบบต่างๆ โดยการจัดการศึกษา ศธ. ได้กระจายอำนาจให้เขตพื้นที่และสถานศึกษา ต้องคุยกันทั้งโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา เขตพื้นที่ ผู้ปกครอง ว่าในแต่ละพื้นที่บริบทการจัดกาเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป”

  • เพิ่มเวลาพัก ลดการประเมิน งดกิจกรรมไม่จำเป็น

รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อธิบายต่อไปว่า นโยบายหลักที่นำมาใช้ คือ เพิ่มเวลาพัก ลดการประเมิน งดกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่จำเป็น เน้นเรียนเฉพาะกลุ่มวิชาหลัก เพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลาย ซึ่งภาคเรียนแรกเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. – 13 พ.ย. 63 โดยนักเรียนมีเวลาพักปิดเทอม 17 วัน และ เปิดภาคเรียนที่ 2 ในวันที่ 1 ธ.ค. 63 – 9 เม.ย. 64 และปิดภาคเรียน 37 วัน หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติในปีการศึกษาใหม่

การเตรียมความพร้อมในระบบทางไกลและออนไลน์ จะเริ่มทดสอบระบบต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เป็นต้นไป ในกรณีที่ไม่สามารถไปโรงเรียนได้”  

  • เตรียมพร้อมระบบก่อนเปิดเทอม

รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ศธ. มีหน่วยงานในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ สพฐ. อาชีวะ กศน. สช. ดังนั้น 4 หน่วยงานมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันไป ตามกลุ่มเป้าหมายและสภาพแต่ละพื้นที่ โดยแนวทางการจัดการเรียการสอน สพฐ. เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม ตั้งแต่ 7 เม.ย. – 17 พ.ค. 63 มีการสำรวจความพร้อมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนผู้ปกครอง ครู และระบบบริหารจัดการการเรียนการสอน รวมถึงการอนุมัติใช้ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลจาก กสทช. และเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้เหมาะกับระบบอีเลิร์นนิ่ง

ระยะที่ 2 การทดลองจัดการเรียนทางไกลตั้งแต่ 18 พ.ค. – 30 มิ.ย. 63 ในระดับปฐมวัย ประถมศึกษาตอนต้น ผ่านช่องรายการโทรทัศน์เผยแพร่จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมป์ พร้อมเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นเพื่อปรับปรุง

ระยะที่ 3 การจัดการเรียนการสอน 1 ก.ค. 63 – 30 เม.ย. 64 วางแผน ไว้ 2 สถานการณ์ ได้แก่ หากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ต้องจัดการเรียนการสอนปฐมวัย ม.ต้น ด้วยระบบทางไกล ขณะที่ ม.4 -ม.6 เรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนรู้ และหากสถานการณ์คลี่คลายแล้ว สามารถเรียนตามปกติ แต่ต้องยึดแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องของการเว้นระยะห่างทางสังคม ใส่หน้ากากอนามัย คัดกรอง และเจลแอลกอฮอล์

ระยะที่ 4 การทดสอบและการศึกษาต่อ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่องการสอบแกด แพด ทีแคส เพื่อศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย รวมถึงการสอนโอเน็ตด้วย ขณะที่การจัดการศึกษาให้แก่ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้จัดทำแพลตฟอร์มเพื่อเป็นเวทีเชื่อม 176 หน่วยงาน เชื่อมโยงคนพิการทั่วประเทศในการเข้าถึงการพัฒนาตัวเองมากขึ้น ตามแนวทางปรับบ้านเป็นห้องเรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู โดยแพลตฟอร์มนี้ทำให้พ่อแม่มีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนซึ่งเป็นผู้พิการ ตามรูปแบบต่างๆ ต่อไปได้

  • ปฏิทินรับนักเรียนมัธยมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เริ่มรับนักเรียชั้น ม.1 และ ม. 4 โดยรับสมัครทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 3 – 12 พ.ค. 63 และมีการสอบคัดเลือก ม.1 ในวันที่ 6 มิ.ย. 63 และ ม. 4 วันที่ 7 มิ.ย. 63 หากมีการจับฉลาก จะจับในวันที่ 12 มิ.ย. 63 โดยการสอบในห้องเรียนและรักษาตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

ขณะที่การประกาศผลสอบ ม.1 ประกาศวันที่ 10 มิ.ย. 63 ส่วน ม.4 ประกาศ 11 มิ.ย. 63 การจัดหาสถานศึกษารายงานตัว ม.1 รายงานตัว 12-13 มิ.ย. 63 ชั้น ม. 4 รายงานตัว 14 -15 มิ.ย. 63 ดังนั้น ในวันที่ 16 มิ.ย. 63 ย้ำว่าเด็กทุกคนต้องมีที่เรียน”

อาชีวศึกษา เตรียมพร้อม 4 รูปแบบ

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อไปว่า ทางด้าน อาชีวศึกษา ได้เตรียมการรับนักเรียนตั้งแต่ปวช. และ ปวส. ป.ตรี สายเทคโนโลยี หรือ สายปฏิบัติการ โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 จัดการเรียนการสอนผ่านตำราเรียน หมุนเวียนกันมาเรียน หรือสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ รูปแบบที่ 2 การจัดการศึกษาทางไกล รูปแบบที่ 3 จัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Zoom หรือ Microsoft Teams ซึ่งสถานศึกษาอาชีวะหลายแห่งทั้งรัฐ เอกชน มีระบบบทเรียนออนไลน์พร้อมสามารถดำเนินการต่อเนื่องและแบ่งปันให้กับสถานศึกษาอื่นๆ ได้ และ รูปแบบที่ 4 จัดการเรียนผ่านการสอนไลฟ์สด

“ในส่วนของภาคปฏิบัติ ต้องจัดระเบียบการเข้าเรียน แบ่งกลุ่ม สลับรอบเข้าเรียนเพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียนและสถานศึกษาแต่ละแห่ง” รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

 

  • เอกชน-กศน. พร้อมเปิดเทอม

สำหรับ แนวทางของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) หากในรูปแบบพื้นที่ปลอดภัย สามารถมาเรียนได้ปกติ แต่ต้องยึดแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข แต่หากในพื้นที่ไม่ปลอดภัย เรียนระบบทางไกล และ ออนไลน์ ขณะที่ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาของ กศน. ได้ผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียนทุกช่วงวัย และมอบให้สถาบันการศึกษาทางไกลพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น และช่องทางต่างๆ เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวย้ำว่า 1 ก.ค. เปิดเรียนแน่นอน ในพื้นที่ปลอดภัย เข้าเรียนปกติ โดยยึดมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่ในพื้นที่ไม่ปลอดภัย ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ต้องพูดคุยกัน เพื่อจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถานที่ สร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่น หากผู้ปกครองมีความกังวลว่า ที่บ้านไม่มีความพร้อม จะมีการกำกับ ติดตาม รายงานผลมาทางกระทรวง ดังนั้น 18 พ.ค. – 30 มิ.ย. 63 เป็นช่วงของการทดลองระบบต่างๆ ของการเรียนการสอน หากสถานการไม่คลี่คลาย สามารถบอกทางโรงเรียนได้ เพื่อแจ้งต่อมายังกระทรวงศึกษาธิการ เรายินดีสนับสนุนในการจัดหาอุกรณ์ต่างๆ