ศบค. ประกาศ ‘พื้นที่ควบคุมสูงสุด’ 28 จังหวัด จ่อเริ่ม 4 ม.ค. - 1 ก.พ. 64

ศบค. ประกาศ ‘พื้นที่ควบคุมสูงสุด’  28 จังหวัด จ่อเริ่ม 4 ม.ค. - 1 ก.พ. 64

ศบค. ยกระดับ! 28 จังหวัด 'พื้นที่ควบคุมสูงสุด' โดยมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด จ่อเริ่ม 4 ม.ค. - 1 ก.พ. 64

นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า การประชุม ศบค. เช้านี้ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข พบว่าสถานการณ์ยังคงระบาด และมีผู้เสียชีวิตโดยไม่สามารถเชื่อมโยงหาศูนย์กลางได้ คาดว่าจะมีการแพร่กระจายโรคอีกมาก รูปแบบการแพร่ระบาดที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น จำเป็นต้องมีมาคตรการเข้มข้น รวดเร็ว 

โดยผู้ติดเชื้อหลายคน ทราบดีว่า ตนเองเดินทางเข้าพื้นที่เสี่ยงแต่ไม่ยอมกักตนเอง และยังมีกิจกรรมลักลอบมั่วสุม โดยเฉพาะ กิจกรรมการพนัน ที่เป็นต้นตอการระบาด จำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้น จนขีดความสามารถทางการแพทย์ลดลงจำนวนมาก มีความจำเป็นต้องทบทวนมาตรการป้องกันโควิด-19 ในภาพรวม

160956752614

ถ้าดูภาพแผนที่แสดงจังหวัดที่ผู้ป่วยตามจังหวัดที่รับรักษา จะเห็นว่าพื้นที่สีขาวลดลงมาก ถ้าใช้มาตรการแบบตามกันไป คงจะยาก จำเป็นต้องปรับมาตรการขึ้นมา วันนี้ทั้งใน EOC ของกระทรวงสาธารณสุข นำไปที่แผนที่มาตรการ ซึ่งมาตรการต้องนำการติดเชื้อ ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามปกติ และวิ่งไล่แก้ หาเตียง หาผู้ป่วย ไม่ได้แล้ว ต้องลดจำนวนผู้ป่วยให้ได้ ฉะนั้นมาตรการต้องเข้มข้นขึ้น 

จังหวัดที่เป็นสีแดงต้องเข้มในการดูแล จังหวัดที่เป็นสีส้มต้องเข้มด้วย รวมถึงแนวชายแดน เพราะฉะนั้นวันนี้ที่ประชุมทั้งสองแห่ง มีความเห็นตรงกัน ซึ่งจะต้องนำความเห็นนี้เรียนต่อ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศบค.ต่อไป

ทั้งนี้มีการกำหนดพื้นที่ที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ดังนี้

  • พื้นที่ควบคุมสูงสุด 28 จังหวัด

1) ตาก
2) นนทบุรี
3) ปทุมธานี
4) พระนครศรีอยุธยา
5) สระบุรี
6) ลพบุรี
7) สิงห์บุรี
8) อ่างทอง
9) นครนายก
10) กาญจนบุรี
11) นครปฐม
12) ราชบุรี
13) สุพรรณบุรี
14) ประจวบคีรีขันธ์
15) เพชรบุรี
16) สมุทรสงคราม
17) สมุทรสาคร
18) ฉะเชิงเทรา
19) ปราจีนบุรี
20) สระแก้ว
21) สมุทรปราการ
22) จันทบุรี
23) ชลบุรี
24) ตราด
25) ระยอง
26) ชุมพร
27) ระนอง
28) กรุงเทพฯ

  • พื้นที่ควบคุม 11 จังหวัด

1) สุโขทัย
2) กำแพงเพชร
3) นครสวรรค์
4) อุทัยธานี
5) ชัยนาท
6) เพชรบูรณ์
7) ชัยภูมิ
8) บุรีรัมย์
9) นครราชสีมา
10) สุราษฎร์ธานี
11) พังงา

  • พื้นที่เฝ้าระวังสูง (38 จังหวัดที่เหลือ)

160957001265

ขณะที่มาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดดังนี้

โดยในที่ประชุมเมื่อเช้านี้ ขอให้กำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 28 จังหวัด พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 11 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 38 จังหวัด ต้องมีมาตรการที่นำกว่าไวรัสไปอีกขั้นหนึ่ง 

เราได้ผลเรียนรู้จากมาตรการที่ใช้ยาแรงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ใช้ยาแรงและเจ็บปวดกันมาก ช็อกกันช่วงแรกๆ แต่เอาอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 2 เดือนกว่า ครั้งนี้เรียนรู้แล้วว่าการล็อกดาวน์ไม่มีใครอยากจะได้ยิน แต่ต้องมีผู้เสียสละ คือพื้นที่สีแดง ไม่ถึงขนาดล็อกดาวน์ แต่เป็นการเข้มงวดมากๆ คบคุมสูงสุดมากๆ 

ซึ่งมาตรการแบ่งออกเป็น 2 ขั้น โดยในขั้นที่ 1 จะนำข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 5 และ 6 รวมถึงคำสั่ง ศบค.ที่ 2/2563 และ 3/2563 (ฉบับที่ 1) (เรื่องแนวปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) มาใช้

หากใช้มาตรการขั้นที่ 1 แล้วยังควบคุมโรคไม่ได้ดี ก็จะไปขั้นที่ 2 คือการนำข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1, 2, 3 มาใช้

ทั้งนี้ทุกภาคส่วนดำเนินมาตรการป้องกันโควิด-19 ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่ ศบค. กำหนดอย่างบูรณาการ และประสานสอดคล้อง ซึ่งเป็นมาตรการที่กำหนดให้ดำเนินการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด โดยแบ่ง มาตรการ 2 ขั้น มีรายละเอียดดังนี้

  • ขั้นที่ 1 (4 ..64 เวลา 06.00 . - 1 ..64 เวลา 06.00 .)

- จำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการ

- ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

- ค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วุมทำผิดกฎหมาย

- หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก

- ขอความร่วมมือไม่เดินทางข้ามจังหวัด

- สถานการศึกษาหยุดเรียนการสอนหรือใช้รูปแบบออนไลน์

- ให้มีการทำงานแบบ Work from Home ทั่วทั้งพื้นที่ที่ ศบค.กำหนด

- มีมาตรการควบคุมการเดินทางของบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด

- เร่งการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกและการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อและพื้นที่เชื่อมโยงที่ได้ข้อมูลจากการสอบสวนโรคของ สธ.

160956343181

  • ขั้นที่ 2

- จำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการเพิ่มมากขึ้น (รวมทั้งจำกัดการเปิดกอจการบางประเภทด้วย)

- ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

- เพิ่มความเข้มข้นในการเร่งค้นหาและจับกุมกลุ่มบุคคลที่มั่วสุมทำผิดกฎหมาย

- งดจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก

- เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมเดินทางข้ามจังหวัด

- สถานศึกษายังคงหยุดการเรียนการสอนเว้นกิจกรรมที่มีความจำเป็น

- เร่งรัดการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก และการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่เสี่ยง กิจกรรม/กิจการที่เสี่ยง กลุ่มบุคคลเสี่ยง

- จำกัดเวลาออกนอกเคหะสถาน ในพื้นที่ที่ ศปก. จังหวัดกำหนด

ห้วงเวลาดำเนินการ ตามที่ นรม. / ผอ.ศบค. เห็นชอบ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายมาตรการ ในกรอบเงื่อนไขที่ ศบค.กำหนด

160956716715