เปิด 3 ร่างข้อกำหนด 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' ฉบับที่ 19 สกัด 'โควิด19'
เปิด ร่างข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 19) เพื่อป้องกันแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 64 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ถึงมาตรการป้องกันแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระบุว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดเล็ก มีมติเห็นชอบออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 19 มีดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การปิดสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพรโรค ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นขอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบอบนวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดที่ได้ตรวจพบการระบาดแล้วและมีความเสี่ยงต่อการแพรโรคที่จำเป็น ต้องดำเนินการในระยะเร่งด่วนตามบัญชี แนบท้ายข้อกำหนดนี้ โดยให้สั่งปิดสถานที่ตังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน
สำหรับสถานบริการหรือสถานที่ตามวรรคหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ใบเขตพื้นที่จังหวัดอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายข้อกำหนดนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณาสั่งปิดสถานที่นั้นเป็นการชั่วคราวได้ หากเห็นว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพรโรคตามความเหมาะสมของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเขตพื้นที่ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้ การปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ และสถานประกอบการกิจการอาบ อบ นวด 41 จังหวัด เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน ประกอบด้วย
กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ลพบุรี นครนายก สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา นราชิวาส นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ อุดรธานี บุรีรัมย์ เลย เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ตาก เพชรบูรณ์
ข้อ 2 การพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการ เพื่อให้การบริหารจัดการและการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละเขตพื้นที่ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี เสนอต่อศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เพื่อตรวจสอบ กลั่นกรอง และประเมินความเหมาะสมก่อนเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในการพิจารณาอนุญาตให้ผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการกับสถานที่ที่ได้มีคำสั่งให้ปิดเป็นการชั่วคราวตามข้อ 1 ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดตามบัญชีแนบท้ายข้อกำหนดนี้
ข้อ 3 การตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ้ายความมั่นคง และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสาน การปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดและเพิ่มความเข้มงวดในการเข้าตรวจพื้นที่ สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบการดำเนินการของสถานที่ กิจการหรือกิจกรรมนั้นๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบต่างๆ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาดรการหรือแนวปฏิปัติที่นายกรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป