ข้อควรระวังใช้ 'Antigen Test Kit'ตรวจโควิดเอง
คาดสัปดาห์หน้าร้านขายยาขาย ‘Antigen Test Kit ’ตรวจเอง เตรียมชงพาณิชย์คุมราคา สธ.แนะหลักใช้ที่ถูกต้อง ข้อควรระวัง
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 12 ก.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า การล็อกดาวน์เป็นโอกาสสำคัญในการควบคุมโรคทำให้ผู้ติดเชื้อลดลง ซึ่งสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทยอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะกทม.และปริมณฑลยังมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก รวมถึงมีปัญหาผู้รอการตรวจจำนวนมาก และปัญหาเรื่องการรอเตียง อาจจะทำให้ระหว่างรอยังไม่รู้จะทำอย่างไร สธ.จึงพยายามที่จะวางระบบแก้ไขปัญหา โดยนำแอนติเจน เทสต์ คิท(Antigen Test Kit) นำมาใช้ในวงกว้างมากขึ้น ระยะแรกจะใช้ในสถานพยาบาล รพ. คลินิก คลินิกชุมชนอบอุ่นหรือคลินิกที่ใกล้คเคียงถ้าผลบวก -ลบ คลินิกจะดำเนินการให้ได้ และต่อไปจะแปลงเป็นการทดสอบได้ด้วยตนเอง อาจเป็นสัปดาห์หน้า วางขายในร้ายขายยาก่อน เพื่อให้เภสัชกรแนะนำการใช้
และมีการจัดระบบดูแลผู้ที่ผลเป็นบวก โดยเปลี่ยนแนวคิดให้ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการดูแลรักษาที่บ้าน(Home Isolation) และหากชุมชนเข้มแข็งจัดสถานที่ให้คนในชุมชนนอนพักและดูแลได้(Communication Isolation) จะมีระบบสาธารณสุขเข้าไปดูแล เชื่อมต่อมีการติดตามวันละ 2 เวลา ให้เครื่องวัดไข้ วัดออกซิเจนและให้ยา จะทำให้การดูแลที่บ้านมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและไม่หลุดจากระบบสาธารณสุข โดยในระหว่างล็อกดาวน์ 2 สัปดาห์ จะจัดทีมหน่วยบริการปฐมภูมิ188 ทีม เข้าไปดูแลในบ้านในชุมชน โดยตีตารางกทม.ออกเป็น 200 พื้นที่
“จากการติดตามสถานการณ์และสถิติ พบผู้เสียชีวิตทั้งหมด 70-80% เป็นผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และคนที่มีโรคเรื้อรัง และอ้วน ดังนั้นแนวโน้มการฉีดวัคซีนต้องฉีดกลุ่มนี้ เป็นหลัก รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ด้วย โดยมีนโยบายว่าต้องฉีดวัคซีนในจนวนที่ได้ไป ต้องฉีดให้กลุ่มนี้ 80% เพื่อไม่ให้เกิดการป่วยหนัก และเสียชีวิต และระบบสาธารณสุขจะดูแลได้ต่อไป เพราะที่มีปัญหาเตียงตอนนี้คือเตียงสีเหลือง แดง ทั้งนี้เรามีประสบการณ์จากต่างประเทศ ประเทศแถบยุโรป แม้ว่าจะฉีดวัควซีนยังไม่ถึง 50% แต่ฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังพบว่าถึงแม้จะมีอัตราการติดเชื้อสูง แต่อัตรการเสียชีวิตลดลงชัดเจน”นพ.เกียรติภูมิกล่าว
ข้อควรระวังชุด Antigen Test Kit
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ชุด Antigen Test Kit ว่า ปัจจุบันขอเรียกว่า ชุด Antigen Test Kit แต่ไม่ขอเรียกว่า Rapid Antigen Test เพราะจะเกิดความสับสน คำว่า แรปิด ที่แปลว่าเร็ว อาจเข้าใจว่าตรวจจับไวรัสเร็ว ซึ่งไม่ใช่ แต่เป็นการรู้ผลเร็ว ปัจจุบันมี 24 ยี่ห้อ และขึ้นทะเบียน เป็นแบบ Professional Use ต้องใช้ในบุคลากรทางการแพทย์ ไม่สามารถตรวจเองได้ แต่ในอนาคตทาง อย.เสนอให้ปลดล็อกตรงนี้ หากมีการวางจำหน่ายในร้านยา ประชาชนก็อาจซื้อไปตรวจได้
ข้อแนะนำการใช้ Antigen Test Kit ด้วยตนเอง 1.ตรวจสอบประเภทของตัวอย่างที่ใช้ทดสอบกับชุดตรวจ ใช้จากโพรงจมูก หรือน้ำลาย 2.ศึกษารายละเอียกขั้นตอนวิธีการทดสอบ ปารแปลผล จากเอกสารกำกับชุดตรวจ 3.การเก็บสิ่งส่งตรวจ ต้องถูกตำแหน่ง ถูกขั้นตอน 4.ข้อควารระวัง ชุดตรวจถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ชุดตรวจกำหนดก่อนนำมาใช้งาน ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดตรวจ เตรียมพื้นที่สำหรับใช้ทดสอบให้สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน อย่าเปิดหรือฉีกวองที่บรรจุตลับทดสอบ จนกว่าจะเริ่มทำการทดสอบ อ่านผลตรงตามเวลาที่ชุดตรวจกำหนด อย่างเคร่งครัด การอ่านผลเร็วหรือช้าเกินไป อาจเกิดความผิดพลาดได้ ไม่นำอุปกรณ์หรือตลับทดสอบอันเดิมมาใช้ซ้ำ นำชุที่ทดสอบแล้ว พร้อมอุปกรร์ของชุดตรวจที่เหลือจากการใช้งานแช่น้ำยาฆ่าเชื้อและแนกใส่ถุงปิดให้มิดชิดและทิ้งให้เหมาะสม และล้างมือภายหลังทำการทดสอบ
ผลลบต้องตรวจใหม่อีก3-5วัน
วิธีการตรวจเชื้อทำเหมือนการตรวจแบบ RT-PCR คือแยงจมูก ไปจนคอหอย หรือทางช่องปาก ตรวจทางน้ำลาย ขึ้นอยู่กับชุดตรวจนั้นๆว่า ให้เก็บสิ่งส่งตรวจอย่างไร โดยการตรวจชนิดนี้เป็นการคัดกรองเบื้องต้น ความจำเพาะ และความไว สู้แบบ RT-PCR ที่เป็นวิธีมาตรฐานไม่ได้ แต่เมื่อมีการรอคิวตรวจนาน ชุดตรวจนี้ก็จะช่วยได้เบื้องต้น ถ้าคนที่มีอาการมากๆ ขอให้ตรวจ RT-PCR แต่หากสถานพยาบาลคนรอตรวจมากๆ เบื้องต้นตรวจด้วย Antigen Test Kit ก่อน หากผลบวกก็ต้องยืนยันด้วย RT-PCR ส่วนคนที่สงสัยและไม่มีอาการใดๆ เบื้องต้นอาจไปพบคลินิก หรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อร้องขอการตรวจด้วยชุด Antigen Test Kit ก่อนได้ หากพบว่า เป็นผลลบ ซึ่งชุดตรวจนี้หากเชื้อไม่มากพออาจตรวจไม่เจอเชื้อ จึงต้องตรวจซ้ำ หากไม่มีอาการให้รอ 3-5 วันค่อยตรวจซ้ำ แต่หากมีอาการตรวจได้ทันที
“การใช้ชุดตรวจ หากอนาคตวางขาย หรือร้องขอสถานพยาบาล ก็ต้องเป็นชุดตรวจที่เก็บได้ด้วยตัวเองโดยง่าย ทั้งโพรงจมูก หรือน้ำลาย ขณะนี้มีชุดตรวจจำนวนหนึ่งกำลังปรับ และแจ้งขออย. เพื่อให้มีทางเลือกต่อไป ส่วนการตรวจเทคนิคอื่นๆ เช่น ตรวจด้วยน้ำลาย ตรวจแบบรวมตัวอย่าง ก็เป็นอีกทางหนึ่ง แต่ในอนาคตหากชุดตรวจ Antigen Test Kit ที่วางขายให้ไปตรวจเองนั้น คนเอาไปใช้ต้องศึกษาเอกสารกำกับให้ชัด เพราะทุกวันนี้ให้บุคลากรการแพทย์ใช้ การเขียนอาจซับซ้อน แต่ต่อไปผู้ผลิตต้องปรับเพื่อให้เข้าใจง่าย และการเก็บชุดตรวจต้องดี ต้องตรวจสอบวันหมดอายุ และต้องระวังในการตรวจ ไม่ให้ปะปนกับคนอื่น ป้องกันการแพร่เชื้อ และเมื่อตรวจแล้ว อุปกรณ์ต่างๆ ต้องเก็บให้ดี และต้องใส่น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น” นพ.ศุภกิจ กล่าว
เมื่อผลตรวจหากทดสอบให้ผลบวก ต้องรีบแจ้งหน่วยบริการใกล้บ้าน และแยกกักตัวเอง รอการเข้าสู่ระบบ แต่หากผลเป็นลบ แต่คิดว่ามีความเสี่ยงสูง แต่อาการไม่ดี ก็ต้องตรวจซ้ำประมาณ 3-5 วัน หากเป็นลบอีกโอกาสเป็นก็น้อยลง อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอหากมีอาการขึ้นมา ให้รีบตรวจซ้ำทันที หรือไปพบคลินิก ซึ่งขณะนี้สปสช. กำลังดำเนินการและจะกำหนดว่า สถานพยาบาลแห่งใดบ้าน ที่ประชาชนสามารถร้องขอชุดตรวจที่ไหนบ้าง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อนาคตจะเปิดช่องให้สามารถซื้อขายได้ต่อไป ซึ่งเมื่อมีมากราคาก็จะถูกลง
ประสานพณ.คุมราคา
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการอย. กล่าวว่า ปัจจุบัน ชุดตรวจ แอนติเจน เทสต์ คิท เพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อโควิดนั้น ยังคงจัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไม่อนุญาตให้คนทั่วไปใช้ได้ และยังไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ยังจำกัดใช้ในสถานพยาบาล คลินิกเวชกรรม และคลินิกเทคนิคการแพทย์ และร้านขายยาที่มีเภสัชกรเท่านั้น โดยปัจจุบันมี 24 ยี่ห้อ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจากอย. และเมื่อรมว.สาธารณสุขลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และประกาศในราชกิจจา จะมีผลให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงชุดตรวจได้ง่ายขึ้น ก็มีชุดตรวจที่ผ่านการอนุญาตจาก อย. เพิ่ม 6-7 ยี่ห้อ คาดว่าจะมีผลในสัปดาห์หน้า ส่วนการควบคุมราคาจะประสานกระทรวงพาณิชย์ ให้เร่งดำเนินการ เนื่องจากเข้าใจว่าขณะนี้มีความต้องการในประชาชนมาก