เช็คยา-เตียง'โควิด19'ว่างในกทม.-ตจว.
สธ.เผยสถานการณ์ยา-เวชภัณฑ์-เตียง สำรองยาฟาวิพิราเวียร์ถึงก.ย. 21 ล้านเม็ด เฉพาะก.ค.รวม 16 ล้านเม็ด ส่วนเตียงพบกทม.วิกฤติทั้งเหลือง-แดง เหลือไม่ถึง 20 % ขณะที่ภูมิภาคทรัพยากรดูแลผู้ป่วยสีเหลืองลดรวดเร็ว หลังคนกทม.กลับภูมิลำเนา สีแดงเหลือ 30 % ออกซิเ
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 14 ก.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข กล่าวว่า การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ โดยสถานการณ์ยาคงเหลือ ณ 13 ก.ค.2564 ประกอบด้วย 1.ยาฟาวิพิราเวียร์ 200 มิลลิกรัม คงเหลือ 4,017,781 เม็ด ที่องค์การเภสัชกรรม(อภ.) 2,170,782 เม็ด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระจายทุกจังหวัด 1,015,284 เม็ด กรมการแพทย์ที่ดูแลในพื้นที่กทม. 801,567 เม็ด และกรมควบคุมโรค 30,148 เม็ด และ2.ยาเรมเดซิเวียร์ 100 มิลลิกรัม คงเหลือ 1,613 ไวอัลที่อภ. ในสถานการร์ปัจจุบันก็สามารถที่จะสนับสนุนพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ
จัดหายาฟาวิพิราเวียร์21ล้านเม็ด
ในส่วนของการจัดหาและส่งมอบยาฟาวิพิราเวียร์ถึงเดือนก.ย. ตั้งใจจัดหาทั้งสิ้น จำนวน 21 ล้านเม็ด แยกเป็น 17ก.ค. 3.5 ล้านเม็ด 20 ก.ค. 3.1 ล้านเม็ด 23 ก.ค. 5.5 ล้านเม็ด 27 ก.ค. 4 ล้านเม็ด ในเดือนก.ค.จัดซื้อรวม 16 ล้านเม็ด จำนวนนี้เพียงพอต่อความต้องการใช้ยาของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้ และต่อไปถึงเดือนก.ย.ด้วย อีกทั้ง ปลายเดือนส.ค. 2 ล้านเม็ด และปลายเดือนก.ย. 2 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นแผนสำรอง แต่ถ้ามีสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในช่วงดังกล่าว สามารถที่จะจัดหาได้อย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้น เพราะติดต่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตหลายประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถสำรองจัดหากผู้ป่วยสูงขึ้นในอนาคตได้
สำหรับเวชภัณฑ์และอัตราสำรองคงคลังประเทศทั้งหมด 10 รายการ ที่ศูนย์บริหารภัณฑ์มีการจัดซื้อสม่ำเสมอ โดยใช้งบประมาณเงินกู้ ก้อนล่าสุดจำนวน 1.9 พันล้านบาท แบ่งเป็น 1. หน้ากาก N95 มีคงคลังทั่วประเทศ 6,994,717 ชิ้น อัตราการใช้ต่อเดือน 630,163 ชิ้น 2. ชุด Coverall & Gown คงคลังทั่วประเทศ 4,225,321 ชุด อัตราการใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 1,231,213 ชุด 3. Shoe cover 1,650,332 คู่ อัตราการใช้ต่อเดือน 260,030 คู่ 4. Hood cover คงคลังทั่วประเทศ 613,307 ชิ้น อัตราการใช้ต่อเดือน 162,600 ชิ้น 5. Face shield คงคลังทั่วประเทศ 1,115,755 ชิ้น อัตราการใช้ต่อเดือน 586,319 ชิ้น 6. Leg cover คงคลังทั่วประเทศ 599,435 คู่ อัตราการใช้ต่อเดือน 407,298 คู่ 7. Disposable cap คงคลังทั่วประเทศ 8,001,154 ชิ้น อัตราการใช้ต่อเดือน 2,307,940 ชิ้น 8. Surgical mask คงคลังทั่วประเทศ 195,184,116 ชิ้น อัตราการใช้ต่อเดือน 15,768,836 ชิ้น 9. Nitrile glove คงคลังทั่วประเทศ 3,834,181 คู่ อัตราการใช้ต่อเดือน 643,417 คู่ และ 10. Disposable glove คงคลังทั่วประเทศ 37,067,288 คู่ อัตราการใช้ต่อเดือน 17,962,481 คู่
“ทุกรายการที่มีอยู่มีการติดตามต่อเนื่องและพยายามจัดหามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความเพียงพอให้รพ.ทุกแห่งมีอุปกรณ์ป้องกันที่สามารถใช้ในการที่จะดูแลผู้ป่วยได้ต่อเนื่องโดยไม่มีภาวะขาดแคลน ทางสธ.การติดตามข้อมูลต่อเนื่องและพยายามจัดหามาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนในประเทศ” นพ.กรกฤชกล่าว
กทม.เตียงเหลือง-แดงมีไม่ถึง 20 %
นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน กล่าวว่า สถานการณ์เตียงในกทม.และทั่วประเทศยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยในพื้นที่กทม. เตียงผู้ป่วยสีเขียว รพ.สนามทั้งหมด 2,470 เตียง ว่าง 500 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 20 % ฮอสพิเทล ทั้งหมด 17,823 เตียง ว่าง 4,201 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 24 % ยังมีเตียงว่างสำหรับผู้ป่วยสีเขียว ตอนนี้พยายามปรับให้ฮอสพิเทลให้สามารถดูแลผู้ป่วยสีเหลืองมากขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยสีเหลืองได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ป่วยสีเขียวจะทดแทนเตียงที่หายไปด้วยการใช้แนวทางHome Isolation และCommunication Isolation
เตียงผู้ป่วยสีเหลือง COHORT รพ. ทั้งหมด 6,834 เตียง ว่าง 415 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 6% ห้องแยก ทั้งหมด 3,526 เตียง ว่าง 449 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 13 % และเตียงผู้ป่วยสีแดง AIIR ทั้งหมด 217 เตียง ว่าง 31 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 14 % Modified AIIR ทั้งหมด 538 เตียง ว่าง 49 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 9 % Cohort ICU ทั้งหมด 323 เตียง ว่าง 37 เตียงคิดเป็นเตียงว่าง 11 %
“การที่จะดูแลเตียงสีแดงให้เพียงพอ พยายามจำกัดหรือลดการเจ็บป่วยที่จะกลายเป็นสีแดง เพราะฉะนั้นกลุ่มผู้ป่วยเป็นสีแดงเร็วคือผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรค จึงอยากให้มารับวัคซีนเพราะลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้ในกรรณีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนี้ โดยสธ.ปรับยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนในกทม.เพื่อระดมฉีดให้ 2 กลุ่มนี้ให้ครอบคลุม 80% ของประชากร 2 กลุ่มนี้ในกทม. รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ด้วย ”นพ.วิทูรย์กล่าว
ส่วนทั่วประเทศไม่รวมกทม. จากที่มีคนที่กลับภูมิลำเนา พบว่าภาพรวมประเทศทรัพยากรที่ดูแลผู้ป่วยสีเหลืองลดลงเร็วมาก หมายความคนที่กลับจากกทม.ไปยังภูมิภาคส่วนใหญ่เป็นสีเขียวแก่ถึงสีเหลือง เพราะฉะนั้นจะพยายามดูแลอย่างดีที่สุด เพราธฉะนั้นหลักการเคลื่อนย้ายต้องถูกต้องตามวิธีการและมีหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยดูแล หากต้องการเดินทางกลับสามารถติดต่อ สายด่วน 1330 ในการขอกลับภูมิลำเนา จะมีการจัดหารถ การส่งตัวกลับอย่างปลอดภัย กรณีกลับเองจะมีคำแนะนำและไปยังจุดที่กำหนดในแต่ละจังหวัด
ตจว.เตียงสีแดงยังมีเหลือ 30 %
นพ.วิทูรย์ กล่าวอีกว่า ทรัพยากรเตียงและทรัพยากรที่ใช้ดูแลผู้ป่วยสีแดงในภูมิภาคสัดส่วนยังเพียงพอ ยังสามารถดูแลได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยสีแดงแต่ละส่วนยังมีเหลือ 30 % ซึ่งสามารถเพิ่มขยายได้ในศักยภาพที่สธ.ดูแลอยู่ และมีการติดตามให้ทรัพยากรเพียงพอ ในส่วนเตียงผู้ป่วยสีเขียว รพ.สนามทั้งหมด 27,111เตียง ว่าง 11,423 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 42 % ฮอสพิเทล ทั้งหมด 13,625 เตียง ว่าง 5,116 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 38 %
เตียงผู้ป่วยสีเหลือง COHORT รพ. ทั้งหมด 29,795 เตียง ว่าง 5,449 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 18% ห้องแยก ทั้งหมด 15,257 เตียง ว่าง 3,752 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 25 % และเตียงผู้ป่วยสีแดง AIIR ทั้งหมด 483 เตียง ว่าง 140 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 29 % Modified AIIR ทั้งหมด2,201 เตียง 645 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 29 % Cohort ICU ทั้งหมด 868 เตียง ว่าง 267 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง 31 %
เตียงว่างรายพื้นที่
ภาพรวม 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ ทั้งหมด 89,337 เตียง ว่าง 26,792 เตียง แยกรายเขต ดังนี้ เขต 1 ทั้งหมด 4,036 เตียง ว่าง 3,067 เตียง
เขต 2 ทั้งหมด 4,393 เตียง ว่าง 1,749 เตียง
เขต 3 ทั้งหมด 2,115 เตียง ว่าง 387 เตียง
เขต 4 ทั้งหมด 14,284 เตียง ว่าง 2,668เตียง
เขต 5 ทั้งหมด 11,480 เตียง ว่าง 1,548 เตียง
เขต 6 ทั้งหมด 22,947 เตียง ว่าง 7,118 เตียง
เขต 7 ทั้งหมด 2,723 เตียง ว่าง 647 เตียง
เขต 8 ทั้งหมด 3,609 เตียง ว่าง 1,250 เตียง
เขต 9 ทั้งหมด 4,885 เตียง ว่าง 1,385 เตียง
เขต 10 ทั้งหมด 3,174 เตียง ว่าง 1,146 เตียง
เขต 11 ทั้งหมด 3,901 เตียง ว่าง 2,437 เตียง
เขต 12 ทั้งหมด 11,790 เตียง ว่าง 3,390 เตียง
“พบว่าเขตสุขภาพหลายแห่งใช้ทรัพยากรเกิน 80 % ต้องเป็นแผนวางล่วงหน้าในการป้องกันการขาดแคลนทรัพยากรในส่วนของเตียง ส่วนทรัพยากรอื่นๆได้เตรียมไว้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้นการขาดแคลนทรัพยากจะพยายามไม่ให้เกิดขึ้น ส่วนการบริหารจัดการเตียง ในเขตจะบริหารเตียงอย่างดีที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่รพ.สามารถดูแลประชาชนที่มีการติดเชื้อช่วงนี้ และถ้าปฏิบัติตามข้อแนะนำและการควบคุมการเคลื่อนย้ายตามแนวทางที่รัฐบาลได้สั่งการไป เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น”นพ.วิทูรย์กล่าว
เร่งสำรองถังออกซิเจน
นพ.วิทูรย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนออกซิเจนต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการทำ Home Isolation และ community Isolation ซึ่งประเทศไทยคงไม่ขาดแคลนปริมาณออกซิเจน เพราะมีผู้ผลิตหลายรายที่สามารถเปลี่ยนมาผลิตเชิงการแพทย์ได้ แต่ที่ต้องรีบดำเนินการคือเรื่องถังบรรจุออกซิเจน ซึ่งตอนนี้ปริมาณที่มีอยู่นั้นยังเพียงพอ แต่ต้องไม่ประมาท ต้องวางแผนเพื่อให้ทรัพยากรส่วนนี้เดินหน้าไปได้ ต้องเตรียมไว้ให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้ในประเทศไทย
ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดคิดว่าไม่น่ามีปัญหาทั้งในเรื่องของเตียงและอุปกรณ์ต่างๆ เพราะการบริหารจัดการภายใต้ระบบที่กระทรวงสาธารณสุขวางไว้ ให้มีการบริหารภายในจังหวัดอยู่ จึงไม่ต้องกังวล แต่ตอนนี้ต้องเร่งแก้ไขปัญหาในกทม.ก่อน ซึ่งหากกทม.ยังไม่ดีขึ้น ประเทศจะยังไม่ดีขึ้น ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน โดยเฉพาะกทม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงต้องมีแผนที่ชัดเจนในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คิดว่าสถานการณ์ หากจัดหาเตียง ขยับสมรรถนะของเตียงสีเขียว เป็นเตียงสีเหลือง และเพิ่มเตียงสีแดง ประกอบกับลดคนที่จะมีอาหารเปลี่ยนเป็นสีแดงเพิ่ม ก็คาดว่าจะค่อยๆ ดีขึ้น