'วัคซีนไขว้' แพทย์ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้ว ฉีดเข็ม 3 'แอสตร้าเซนเนก้า'
เปิดหลักเกณฑ์! "วัคซีนไขว้" บุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีด "ซิโนแวค" 2 เข็มแล้ว รีบฉีด เข็ม 3 "แอสตร้าเซนเนก้า" หลังฉีดเข็มสองอย่างน้อย 4 สัปดาห์
วานนี้ (16 ก.ค.) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ออกประกาศ ด่วนที่สุด! ถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ระบุถึงหลักเกณฑ์การฉีด "วัคซีนไขว้" หรือการฉีดวัคซีนสลับชนิดกัน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า และประชาชน โดยรายละเอียดมีดังนี้
ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบการคิดเชื้อไวรัสสายพันธุ์กลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์เดลตา เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งมีการศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะต้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) พบว่า
การฉีดวัคซีน Sinovac เป็นเข็มที่ 1 และฉีควัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับ Astrazeneca 2 เข็ม ซึ่งคาดว่าจะมีผลตีต่อการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตา และไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงภายหลังได้รับวัคชีน
จากกรณีดังกล่าว การประชุมคณะกรรมการโรคติตต่อแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 และการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 (ปค.ส5) ครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม
มีมติเห็นชอบการฉีดวัดซีนโควิด-19 สลับชนิด (ฉีดวัคซีน Sinovac เป็นเข็มที่ 1 และตามด้วยวัดซีน AstraZeneca เป็นเซ็มที่ 2) และการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นภูมิคุ้มกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า แล้วนั้น
กระทรวงสาธารณสุข จึงขอแจ้งแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิดสำหรับประชาชน และการฉีดวัคชีนโควิด-19 เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ดังนี้
1. การฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด สำหรับประชาชน
1.1) ให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 ด้วยวัคซีนโคโรนาแวค (Coronavac) ของบริษัท Sinovac Biotech จำกัด และเข็มที่ 2 เป็นวัคชีน AstraZeneca ของบริษัท AstraZeneca จำกัด โดยมีระยะห่างระหว่างเข์ม 3-5 สัปดาห์ หากเกินกว่าระยะห่างที่กำหนด ขอให้ฉีดวัคซีนโดยเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา
โดยจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงใกล้เคียงกับผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม แต่ใช้ระยะเวลาสั้นกว่า เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ของโรค ในระยะที่มีวัคซีนจำนวนจำกัด
1.2) ในกรณีผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เป็น AstaZeneca กำหนดให้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นวัคซีน AstraZeneca เช่นเดิม โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 12 สัปดาห์
2. การฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า
2.1) กำหนดให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เช่น บุคลากรที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยโควิด-19 แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกทางเดินหายใจ ห้องฉุกเฉินแผนกผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสนาม เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสถานที่กักกัน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานใน Hospitel ที่ได้รับวัคซีนโคโรนาแวค (Coronavac) ของบริษัท Sinovac Biotech จำกัด ครบ 2 เข็มแล้ว จะได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยการรับวัคซีน AstraZeneca หรือวัคซีนชนิด messenger Ribonucleic Acid (mRNA) จำนวน 1 เข็ม โดยมีระยะห่างระหว่างเข็มที่ 2 และเข็มกระตุ้น อย่างน้อย 4 สัปดาห์
หากเกินกว่าระยะห่างที่กำหนด ขอให้ฉีดวัคซีนโดยเร็ว เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็มนั้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ จึงยังไม่ต้องฉีดเข็มกระตุ้นในระยะนี้
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ จะได้รับการจัดสรรวัคนเข็มกระตุ้นในระยะถัดไป
2.2) ขอให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำรวจรายชื่อบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด 19 พร้อมทั้งเสนอรายชื่อดังกล่าว ต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อพิจารณาตรวจสอบ ยืนยันสถานะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขแต่ละคน
และส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข (MOPH IC White Ist) เพื่อฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ที่ได้รับวัคซีนโคโรนาแวค (Coronavac) ของบริษัท Sinovac Biotech จำกัด ครบ 2 เข็มแล้ว และมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อโควิด 19 จากการปฏิบัติงานประจำในการดูแลผู้ป่วย เพื่อธำรงไว้ซึ่งระบบบริการสาธารณสุขของประเทศไทย
อนึ่ง หากท่านมีข้อสอบถามเพิ่มเติม สามารถติตต่อได้ที่ นางปียดา อังศุวัชรากร ตำแหน่งแพทย์ปฏิบัติการ และนางสาวนพรัตน์ วิหารทอง ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โทร. 02-590-3196 (ประเด็นแนวทางการให้วัคซีนโควิด 19) นายชัตติย อุตม์อ่าง ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการ และนางสาวปิยะนาถ เชื้อนาค ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ โทร. 02-590-3222 (ประเด็นการบริหารจัดการวัคชีนโควิด 19)