แจงเหตุ 'Antigen Test Kit' เป็นบวกต้องตรวจยืนยันซ้ำ
ศบค.แจงเหตุผลตรวจ Antigen Test Kit เป็นบวกยังต้องยืนยันผลตรวจ RT-PCR สกัดผลบวกปลอม
เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 26 ก.ค. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19(ศบค.) กล่าวว่า สถานการณ์โควิด 19 ในพื้นที่ กทม. มีรายงานว่าผู้ติดเชื้อ 80 % ยังจัดอยูในกลุ่มอาการสีเขียว ดังนั้น เน้นย้ำอยุ่เสมอกลุ่มที่ได้รับผลยืนยันเป็นผู้ติดเชื้อ และประเมินแล้วสีเขียว ขอให้อยู่ที่บ้านและประสานยังช่องทางต่างๆ และหากไปตรวจรพ.ไหน ขอให้ติดต่อกลับไปรพ.นั้น เพราะหลายหน่วยงาน หลายรพ.สามารถให้บริการ Home Isolation ได้ หรือโทรสายด่วนที่ 1330 กด 14
จากการทำงานของCCRTซึ่งเป็นที่ลงพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ โดยลงพื้นที่ 25 ก.ค. 57 ชุมชน มีผู้รับบริการ 5,325 ราย มีการตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท ( Antigen Test Kit : ATK) ซักประวัติ ถ้าไม่บวกก็จะให้ฉีดวัคซีนด้วย ในจำนวนนี้ได้รับวัคซีน 3,897 ราย เป็นผู้สูงอายุ 1,982 รายโรคประจำตัว 1,903 ราย หญิงตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ 12 ราย ฉีดวัคซีนสะสมจากส่วนนี้แล้วตั้งแต่ 15-25 ก.ค. 45,977 ราย
กรณีที่ประชาชนอาจจะไปตรวจเอง ซึ่งตอนนี้กรมการแพทย์รายงานว่าส่วนหนึ่งประชาชนไปตรวจตามแล็ปเอกชน หรือบริษัท หรือเอ็นจีโอที่หาชุดตรวจนี้ซื้อมาและตรวจเอง ทำให้มีปัญหาว่าเมื่อตรวจแล้วผลบวก อาจจะยังไม่เข้าสู่ระบบการดูแลรักษา ขอชี้แจงว่า ส่วนหนึ่งที่ศบค.ชุดเล็กหารือกัน คือถ้าตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท เผลเป็นบวกจะมีข้อจำกัดว่าเจ้าหน้าที่ขอให้ไปตรวจยืนยันด้วยวิธีมาตรฐานRT-PCRก่อนเข้าศูนย์แยกกักในชุมชน(Community Isolation) ส่วนหนึ่งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)อธิบายข้อจำกัดความแม่นยำของชุดตรวจนี้ กรณีที่ผลเป็นบวก อาจจะเกิดกรณีที่เป็นผลบวกลวงด้วย จึงขอให้เป็นมาตรฐานต้องตรวจยืนยันด้วย RT-PCRก่อนเสมอที่จะเข้าศูนย์แยกกักในชุมชน(Community Isolation)
“อย่างไรก็ตาม พบว่าเป็นข้อจำกัด เพราะประชาชนหาที่ตรวจไม่ได้ ซึ่งตรวจRT_PCRต้องใช้เวลา 1-2 วันหรืออาจจะนานกว่านั้นก็มีการหารือกันอยู่ ในเบื้องต้นขอให้ศูนย์แยกกักในชุมชน(Community Isolation)รับเข้าไปก่อนถ้าผลบวก เพราะประชาชนอาจจะไม่สามารถแยกตัวที่บ้านได้เพราไม่พร้อมหลายๆอย่าง โดยอาจจะแยกจากกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ใน Community Isolationอยู่แล้ว แต่การจะยกเลิกการตรวจยืนยีนด้วยRT-PCRไปเลย สธ.มีความเป็นห่วงเพราะแอนติเจน เทสต์ คิท มีความแม่นยำที่จำกัด และขอให้ติดตามฟังผลการประชุม ซึ่งมีหลายหน่วยงานหารือเร่งด่วน”พญ.อภิสมัยกล่าว
พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า อีกส่วนที่ที่ประชุมหารือ คือ มาตรการการขยายเตียง ซึ่งก่อนหน้านี้ในส่วนของเตียงที่รองรับรพ.หลัก 32 แห่งทั้งรัฐเอกชน ไอซียูสนาม 4 แห่ง รพ.สนาม 7 แห่ง โดยมีการปรับแผนต่อเนื่อง ล่าสุด รพ.บางปะกอก 1 ซึ่งเข้ามาช่วยดูแลประชาชนติดเชื้อในส่วนของCommunity Isolation จะเพิ่มได้อีก 200 เตียงในต้นเดือนส.ค.ที่เขตทุ่งครุ ฮอสพิเทลร่วมกับโรงแรมคินเจริญนคร เขตธนบุรี จะเพิ่มได้อีก 500 เตียง โรงแรมบางกอกซิตี้สวีท เขตราชเทวีอีก 300 เตียง รพ.สนามเพิ่มอีก 140 เตียงในเขตราษฎร์บูรณะ มี สีเหลือง 60 เตียง แดง 30 เตียง เขียว 50 เตียง เปิดในเดือนส.ค.นี้ และปรับหอผู้ป่วยที่มีอยู่อีก 100 เตียงเป็นสีเหลืองรองรับในช่วงก.ย.นี้
รพ.ปิยะเวท กำลังสำรวจพื้นที่รองรับทั้งเหลืองและแดง ทั้งสี่มุมเมือง สุขสวัสดิ์ บางบอน รามอืนทรา รังสิต รวมทั้ง พยายามจะเพิ่มเตียงระดับสีเหลือง แดง เช่นเดียว รพ. มงกุฏวัฒนะ มีแผนเพิ่มเตียงทั้งหมด 3,320 เตียงภายในส.ค. ซึ่งเตียงกลุ่มนี้นอกจากจะบวกไป198 เตียงที่รพ.สนามพลังแผ่นดินแล้ว จะเป็นเตียงระดับที่ดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจนไฮโฟลว กลุ่มผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาไตต้องฟอกเลือก รวมทั้งกลุ่มที่อาจจะต้องมีการผ่าตัดทำคลอด ซึ่งจะเป็นปัญหาในทุกรพ. เพราะถ้าผลตรวจโควิด หลายรพ.ก็จะมีศักยภาพจำกัดในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉนต้องการผ่าตัด ทำคลอดตรงนี้รพ.รับที่จะช่วยเปิดให้บริการตรงนี้ด้วย รวมทั้ง รพ.พลังแผ่นดิน 2 หรือพิทักษ์ราชันต์ เปิดเพิ่มอีก 720 เตียง และ รพ.พลังแผ่นดิน3 ชื่อ รพ.ใต้ร่วมพระบารมี เพิ่มอีก 1,800 เตียง และรพ.กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศนยาน เพิ่มจาก 320 เป็น 400 เตียง