เคลียร์ชัดๆ 'ซื้ออาหารหน้าร้านในห้าง'ได้หรือไม่

เคลียร์ชัดๆ 'ซื้ออาหารหน้าร้านในห้าง'ได้หรือไม่

สธ.ย้ำแนวปฏิบัติร้านอาหารในห้าง สั่งได้เฉพาะเดลิเวอรี่เท่านั้น ระบุพนักงานส่งอาหารฝ่าฝืนมาตรการป้องกันควบคุมโรค มีความผิดปรับสูงสูด 20,000 บาท

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข   นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ต้องขอความร่วมมือประชาชนทั้งผู้ประกอบกิจการ คนทำงานและผู้บริโภคต้องร่วมมือ เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตเกินกว่ากำลังระบบทางการแพทย์และสาธารณสุของประเทศไทยที่จะรองรับได้

 ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดฉบับที่ 30 ประกอบกับคำสั่งศบค.ที่11/2564  ลงวันที่ 1 สิงหาคม มีผลตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ภายใต้ข้อกำหนดนี้กำหนดให้ทุกพื้นที่ ต้องปฏิบัติตามมาตรการที่ราชการกำหนด โดยที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารมี 3 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1.นั่งบริโภคในร้านอาหาร ระยะเวลาการให้บริการและการบริโภคสุรา

        แบ่งพื้นที่เป็น 3 ลักษณะพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจำนวน 29 จังหวัด เน้นการห้ามบริโภคภายในร้านอาหาร จำหน่ายอาหารแบบเป็นนำไปบริโภคที่อื่น โดยเฉพาะนำกลับไปรับประทานที่บ้าน ในส่วนห้างสรรพสินค้าให้มีการผ่อนคลายสามารถจำหน่ายได้ แต่เฉพาะเดลิเวอรี่ โดยงดจำหน่ายหน้าร้าน  เปิดได้ไม่เกิน 20.00 น.  ห้ามการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน  พื้นที่ควบคุมสูงสุด 37 จังหวัด นั่งบริโภคในร้านได้ตามปกติ แต่เปิดไม่เกิน 23.00 น.และ พื้นที่ควบคุม 11 จังหวัด นั่งบริโภคในร้านได้ตามปกติ เปิดได้ตามปกติ ภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

    สำหรับกรณีร้านอาหารหรือเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ในพื้นที่สีแดงเข้ม ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งเป็นมาตรการผ่อนคลายจากเดิมนั้น  จะเป็นการจำหน่ายในรูปแบบการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านการบริการขนส่งอาหารหรือเดลิเวอรี่ เปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. ไม่มีการจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง เพื่อวัตถุประสงค์ลดการติดต่อระหว่างผู้จำหน่ายกับผู้บริโภคอาจจะไปแออัดหรือออหน้าร้านหลายๆคน โดยต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบระเบียบและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด

     กรณีมีประชาชนส่วนหนึ่งสอบถามว่าห้างสรรพสินค้า ได้เปิดในส่วนของซุเปอร์มาร์เก็ตไปจับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามาอุปโภคบริโภค ในระหว่างที่ต้องกักตัวหรือทำงานที่บ้าน ถ้าหาหกประสงค์ที่ไปแล้วสามารถที่จะซื้ออาหารที่ร้านอาหาร หรือร้านเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ที่ได้รับการผ่อนคลายแต่เป็นลักษณะอาหารเดลิเวอรี่จะได้หรือไม่

       “ขอตอบให้ชัดเจนว่า หากตัวห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์นั้นหรือสถานประกอบอาหารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน สามารถจัดให้มี เดลิเวอรี่นำส่งอาหารหรือเครืองดื่มของร้านที่อยู่ในห้าง โดยที่มีระบบการสั่งออนไลน์หรือโทรศัพท์หรือพนักงานให้ความช่วยเหลือ ที่ไม่ให้ในส่วนผู้บริโภคซื้อกับผู้จำหน่ายโดยตรง ก็สามารถทำได้ ซึ่งลักษณะนี้มีการดำเนินการเช่นเดียวกันตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการปิดในส่วนของห้างสรรพสินค้า แต่อนุญ็ตให้ร้านอาหารจำหน่ายแบบไม่ให้ผู้บริโภคไปแออัดหรือออหน้าร้านโดยตรง ทั้งนี้ หากห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็ไม่สามารถที่จะเปิดให้บริการได้ และจำเป็นที่จะต้องให้บริการเดลิเวอรี่”นพ.สุวรรณชัยกล่าว

    นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า  ในส่วนร้านอาหารและเครื่องดื่มในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ในข้อกำหนดได้กำหนดให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต้องขจัดให้มีระบบการคัดกรอง ไม่ใช่คัดกรองเพียงแค่อาการแต่ต้องดูเรื่องประวัติ พฤติกรรมความเสี่ยงของผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องด้วย ต้องตรวจสอบการลงทะเบียนผู้ขนส่งอาหารก่อนเข้ามาในอาคารหรือพื้นที่ การจัดระบบคิว กำหนดพื้นที่เป็นเฉพาะสำหรับการรอคิว มีบริเวณพักคอย ซึ่งมีการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง หรือยืนที่เหมาะสม และต้องกำกับดูแลให้มีการดำเนินมาตรการดังกล่าว 

 

     

ภาพโดยรวมในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่มีผู้เกี่ยวข้องหลัก  3 ส่วน คือ 1.ร้านอาหาร หรือสถานที่ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ที่ร้านอาหารตั้งอยู่ สิ่งที่ต้องดำเนินการโยเข้มงวด คือ  ต้องจัดเส้นทางเข้าออกให้มีความชัดเจน กำหนดจุดคัดกรอง ลงทะเบียน หากมีอาการป่วยให้ยุดและไปพบแพทย์  สวมหน้ากากอนามัยถูกต้องตลอดเวลา ล้องมือให้ถูกต้องและมีจุดบริการล้างมือพร้อมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ งดการรวมกลุ่ม อาหารต้องปรุงสุกใหม่ เนื้อสัตว์ต้องปรุกให้สุกด้วยความร้อน 70 องศาเซลเซียส จัดหาภาชนะ บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภทปกปดิมิดชิด มีการติดฉลาดที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ชื่อร้าน วันหมดอายุ ร้านต้องประเมิน Thai stop Covid plus และติดประกาศชัดเจน จัดสถานที่เหมาะสมมีโต๊ะรับ-ส่งอาหารที่เว้นระยะห่าง และมีการระบายอากาศที่ดี และทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโต๊ะรับส่งอาหารทุกครั้งหลังการรับส่งอาหาร

   2.พนักงานจัดส่งอาหาร คัดกรองและประเมินตนเองผ่าน Thai stop Covid plus และบันทึกข้อมูล หากมีอาการป่วยให้หยุดงานและไปพบแพทย์ทันที  กล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะแข็งแรง ปกปิดมิดชิด และทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนปฏิบัติงาน สวมหน้ากากอนามัยให้ถูกต้องตลอดเวลา ล้างมือบอ่ยๆด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ รอรับอาหารในจุดที่ร้านกำหนด งดการรวมกลุ่ม พูดคุย สูบบุหรี่ และเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ณจุดพักคอย ตรวจสอบกล่องบรรจุอาหารทันทีหลังได้รับจากร้านอาหาร เช่น ความสะอาด ไม่เปิกกล่องบรรจุอาหารจนกว่าจะถึงมือผู้สั่งซื้อ และก่อนเปิดกล่องทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาด และทำความสะอาดมือและถุงมือก่อนและหลังการรับส่งอาหาร
       และ
3.ผู้สั่งซื้อหรือผู้รับบริการ หลีกเลี่ยงการสั่งอาหารเสี่ยง เช่น อาหารปรุงไม่สุก อาหารเสียง่าย  ชำระเงินผ่าน แอปปลิเคชัน หลีกเลี่ยงการชำระเงินสด หรือการสัมผัสกับคนส่งอาหาร มีจุดหรือภาชนะสำหรับรับอาหารเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร สวมหน้ากากอนามัยให้ถูกต้องระหว่างการรับอาหารและหลีกเลี่ยงการพูดคุย ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อนและหลังได้รับอาหาร ตรวจสอบคุณภาพอาหารก่อนรับอาหารหรือก่อนบริโภค เช่น การบรรจุหีบห่อ กลิ่นอาหารและความสะอาด และรับนำอาหารออกจากบรรจุภัณฑ์ที่นำส่งมาใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ทันที

   “ต้องย้ำว่าประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่สีแดงเข้มต้องขอความร่วมมือ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อประโยชน์ของตัวเองท่านเองในการลดความเสี่ยงที่จะมรโอกาสเรื่องเป็นโควิด โดยอาศัยความร่วมมือของทั้ง 3 ส่วนดังกล่าวต้องถือปฏิบัติโดยหลักปลอดภัยไว้ก่อน “นพ.สุวรรณชัยกล่าว 

ถามถึงกรณีฟูดไรเดอร์หรือพนักงานส่งอาหารรวมกลุ่มกันหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคมีความผิดหรือไม่  นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า พนักงานส่งอาหารจะแยกเป็น 2 กลุ่มคือ เต็มเวลาซึ่งผู้ประกอบการจะมีการเข้มงวดและกำกับเป็นอย่างดี และบางคนได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และพาร์ทไทม์ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนนี้ ประเด็นที่ได้รับการร้องเรียนมักเป็นจุดที่ไปรอรับอาหารและส่งคำสั่งซื้อ แยกเป็นร้านนอกห้างสรรพสินค้าจะต้องขอความร่วมมือในการควบคุมและจัดระบบ เพื่อลดการแพร่ระบาดมาสู้ร้านเองและป้องกันแพร่ระบาดระหว่างพนักงานเอง ส่วนในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ มีการกำหนดในฉบับที่ 30 กำหนดว่าสถานที่นั้นมีหน้าที่ความรับผิดชอบต้องจัดระบบควบคุมกำกับมิให้พนักงานส่งอาหารมารวมกลุ่ม แออัดและไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนด

      “ส่วนจะมีโทษหรือการเอาผิดหรือไม่ ซึ่งข้อกำหนดต่างๆที่ออกตามพรก.สถานการณ์ฉุกเฉินและพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งแต่ละจังหวัดจะไปออกประกาศ ได้มีการกำหนดชัดเจนว่ากรณีที่อยู่นอกเคหะสถานถ้าไม่สวมหน้ากากมีความผิด และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้ออกระเบียบกำหนดความผิดเรื่องการรวมกลุ่มและไม่สวมหน้ากาก ทั้งการพูดคุยหรือมีกิจกรรมนันทนาการ มีความผิด ถ้าเป็นครั้งแรกปรับไม่เกิน  1,000 บาท ครั้งที่ 2 ปรับระหว่าง 1,000-10,000 บาท และครั้งที่ 3 ปรับระหว่าง 10,000-20,000 บาท”นพ.สุวรรณชัยกล่าว