ผลวิจัย ชี้สต็อก 'ฟาวิพิราเวียร์' ส่อวิกฤต
นักวิชาการ อธิบาย "ฟาวิพิราเวียร์" ลุ้นวิกฤตขาดแคลน ระบุ เหตุขั้นต่ำ 15 ล้านเม็ดต่อเดือนในภาวะควบคุมได้ดี แต่ที่น่ากังวล คือ ราคาต่อเม็ดแพงกว่า 100 บาท ผู้ป่วย 1 คนไม่น้อยกว่า 75 เม็ด กลายเป็นต้นทุนที่ยากต่อการกระจายให้ประชาชนทุกระดับเข้าถึงการรักษา
เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 4 ผศ.ดร.อนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี อาจารย์ประจำภาควิชาสถิติ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางสถิติ ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า งานวิจัยนี้ ใช้ข้อมูลตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. ถึง 18 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์จำนวนการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ 3 แบบตามสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 คือ
Best แทนความหมายของสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด คือ ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรัดกุม วัคซีนมีประสิทธิภาพ มาตรการคลอบคลุม ประชาชนให้ความร่วมมือ เราควรมียาฟาวิพิราเวียร์ ประมาณ 15,027,913 เม็ด
Better : สถานการณ์แพร่ระบาดระดับกลาง เราควรมียาฟาวิพิราเวียร์ ประมาณ 25,161,217 เม็ด
Base : การแพร่ระบาดไม่มีอะไรดีขึ้น เมื่อเทียบกับสถานการณ์เมื่อ มิถุนายน เราควรมียาฟาวิพิราเวียร์ ประมาณ 55,413,106 เม็ด
ส่วนสถานการณ์ที่แย่ไปกว่านี้ อาจารย์อานุภาพ กล่าวว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะ Max ที่มีการเสียชีวิตนับล้านคน ที่เชื่อว่า ก่อนจะถึงภาวะแบบร้ายแรงเช่นนี้ รัฐบาลประกาศมาตรการสกัดไว้ได้อย่างแน่นอน
ผศ.ดร.อนุภาพ กล่าวถึงกำลังการผลิตที่จะเกิดขึ้นว่า ไม่น่าจะเพียงพอจากที่ระบุไว้เพียง 5 แสนเม็ด เมื่อเทียบกับจำนวนยา ขั้นต่ำ 22 ล้านเม็ด แต่เชื่อว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่ที่น่าตกใจ คือ ราคาที่สูงและมากกว่า 100 บาท ถือเป็นต้นทุนที่ไม่อาจรับมือกับกันทุกคน เพราะ ผู้ป่วย 1 คน อาจต้องรับประทานยา 75 – 99 เม็ด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย