'ป่าโกงกาง' และ 'หญ้าทะเล' พืชฮีโร่ช่วยลดโลกร้อน
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังกังวลเรื่องของภาวะโลกร้อน 'ป่าโกงกาง' และ 'หญ้าทะเล' ถือเป็นพืชซุปเปอร์ฮีโร่จากท้องทะเลที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ป้องกันการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุโลกร้อนได้
เอสซีจี เดินหน้าปลูกต้นไม้ ให้อยู่รอดและเติบโต ด้วยองค์ความรู้จาก “ไม้พื้นถิ่น” สู่ “ป่าโกงกาง” ต่อยอดสู่ “หญ้าทะเล” พืชฮีโร่ช่วยลดโลกร้อนรวบรวมองค์ความรู้ด้านการปลูก ตั้งแต่การเพาะกล้า การขยายพันธุ์ การปลูกต้นไม้ให้รอดในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม รวมถึงขยายผลการศึกษา และปลูกไปยังป่าโกงกาง และต่อยอดสู่หญ้าทะเล เพราะช่วยดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าป่าบก และช่วยฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลให้ยั่งยืน
ได้ร่วมกับชุมชนและเครือข่ายจิตอาสา ศึกษาและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการปลูก ป่าโกงกาง และ หญ้าทะเล ในพื้นที่ชุมชนบ้านมดตะนอย อ.กันตรัง จ. ตรัง เพื่อช่วยฟื้นฟูและขยายพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าปลูกต้นโกงกาง 14,000 ต้น 20 ไร่ และหญ้าทะเล 15,000 ต้น 10 ไร่ ในปี 2564
ซึ่งการปลูกให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการปลูกหรือเพาะพันธุ์อย่างถูกวิธี ถือได้ว่าเป็นซุปเปอร์ฮีโร่จากท้องทะเลที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) ไม่ให้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศจนเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
ขณะที่ “หญ้าทะเล” ซึ่งพบในประเทศไทยอยู่ถึง 12 ชนิด จาก 58 ชนิดที่พบทั่วโลกสามารถกักเก็บคาร์บอนได้สูงกว่าระบบนิเวศป่าบกเขตร้อนถึง 40 เท่า โดยเก็บไว้ในรูปแบบของมวลชีวภาพ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช และการดักจับจากตะกอนดินที่ไหลมาจากระบบนิเวศอื่น ๆ อีกทั้งหญ้าทะเลยังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ หรือเป็นที่วางไข่ให้กับสัตว์ทะเลขนาดเล็ก เป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งหลบซ่อนศัตรูของสัตว์ทะเลนานาชนิด
รวมไปถึงสัตว์ขนาดใหญ่อย่าง “เต่าทะเล” และ “พะยูน” ที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศหญ้าทะเลนี้ด้วย นั่นหมายความว่า หากป่าโกงกางและหญ้าทะเลลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ก็ย่อมเสี่ยงกับการสูญพันธุ์ของสัตว์ทะเลอีกมากมาย และยังนำไปสู่ภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้น เพราะขาดฮีโร่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั่นเอง
ขณะที่ การปลูกหญ้าทะเล เอสซีจี และชุมชนได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานจากแหล่งเพาะพันธุ์หญ้าทะเลที่มูลนิธิอันดามัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด อ.สิเกา จ.ตรัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับความรู้ดั้งเดิมของชุมชน มาสร้างเป็นกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การเก็บพันธุ์หญ้าทะเล และการทดลองปลูกในศูนย์เพาะพันธุ์ ที่มีอัตราการรอดตายระหว่างเพาะพันธุ์สูงถึง80เปอร์เซ็นต์
“จีรนันท์ วงศ์สวัสดิ์” BSE Officer-Community And Government Relation สังกัด BSE South Chain กลุ่มธุรกิจธุรกิจซิเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ให้ความเห็นว่า ต้นโกงกาง มีความสำคัญและคุณประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากชุมชนก่อนไหลลงทะเล ป้องกันการกัดเซาะ เป็นแนวกำบังคลื่นลม เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล และยังช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน ในพื้นที่ชุมชนบ้านหน้าทับ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็นการสร้างคุณประโยชน์ต่อไปในพื้นที่
ปิดท้ายกันที่ “พงศธร สัมพันธ์กาญจน์” CSR Officer เอสซีจีพี โรงงานบ้านโป่ง มองว่า ปลูกต้นไม้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยให้โลกใบนี้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ความอุดมสมบูรณ์จากป่าที่มีต้นไม้นานาพันธุ์นั้น สร้างคุณประโยชน์อย่างอเนกอนันต์แก่โลก รากพืชที่อุ้มน้ำในดิน ทำให้ผืนดินมีความชุ่มชื้น สามารถป้องกันภัยจากธรรมชาติ
อีกทั้งยังเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ วันนี้พื้นที่ผืนป่าได้ถูกทำลายไปมาก ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องมาร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน พลิกฟื้นคืนผืนป่า ด้วยการร่วมกันปลูกต้นไม้ “ปลูกด้วยรัก พิทักษ์โลก” เพื่อโลกที่น่าอยู่ของเราตลอดไป”สร้าง “ป่าสีเขียว” มาช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดภาวะโลกร้อนได้ต่อไป