อบรม ‘แกนนำชุมชน’ 30 แห่ง 30 พื้นที่ เพื่อจัดตั้ง ‘ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน’

อบรม ‘แกนนำชุมชน’ 30 แห่ง 30 พื้นที่ เพื่อจัดตั้ง ‘ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน’

ผู้ติดเชื้อ “โควิด 19“ มีมากขึ้นในชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความรู้กับคนในชุมชน จึงได้ดึง “กูรูสุขภาพ” เพื่อมาอบรมออนไลน์ให้แก่ “แกนนำชุมชน” 30 แห่ง  30 พื้นที่ เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อแก้ไขปัญหาการดูแลรองรับ และรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ "โควิด 19" ที่กำลังทวีจำนวนมากขึ้นในแต่ละวัน อีกทั้งเพื่อลดการแพร่ระบาดด้วยการขยายพื้นที่ในการจัดตั้ง "ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน" อีกทั้งนับเป็นการนำประโยชน์จากเทคโนโลยีโลกดิจิทัลยุคใหม่มาใช้ต่อยอดการขับเคลื่อนงานในด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับไอเดียการจัดอบรมออนไลน์หลักสูตรแนวทางการจัดตั้ง ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation : CI) ที่จัดขึ้นและพัฒนาโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ของ สสส. มาร่วมจัดอบรมหลักสูตรแนวทางจัดตั้งศูนย์แยกกันตัวในชุมชนให้แก่แกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน (CCF) ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร หรือจิตอาสาในชุมชน รวมถึงบุคลากรในศูนย์ฯ จากพื้นที่การทำงาน 30 แห่ง ใน 30 พื้นที่ ภายใต้มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ

สสส.

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในการอบรมออนไลน์หลักสูตรแนวทางการจัดตั้ง ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation : CI) ครั้งนี้ว่า การอบรมฯ ถือเป็นประโยชน์ร่วมกันที่ สสส. ภาคีเครือข่ายร่วมสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนแก้ไขปัญหาโควิด 19 ด้วยการขยายพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน เพื่อลดการแพร่ระบาด และรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ในกลุ่มสีเขียวที่มีอาการไม่รุนแรง เป็นการแบ่งเบาระบบสาธารณสุขให้สามารถรับมือสถานการณ์ได้ดีขึ้น โดยเป็นการนำร่องอบรมให้กับชุมชนพื้นที่ที่มีความพร้อมสามารถนำแนวทางจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนไปปรับใช้ และปฏิบัติงานได้จริงต่อไป

ขณะที่ รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นหน่วยงานลักษณะพิเศษภายใต้ สสส. มีพันธกิจพัฒนาศักยภาพและให้คำปรึกษาภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับขีดความสามารถนักสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ การพัฒนาวิจัย และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพสู่ระดับสากล ได้จัดอบรมหลักสูตรแนวทางการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชนขึ้น นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เป็นวิทยากรอบรมแล้ว สสส. ยังร่วมกับวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการจัดทำหลักสูตรแนวทางการจัดตั้ง ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ผ่านระบบ e-learning ในเว็บไซต์ของ https://www.lifelong.cmu.ac.th/ โดยผู้เรียนสามารถเข้าไปทบทวนการเรียนรู้ และทำแบบทดสอบประเมิน เพื่อรับใบประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ( e-certification) จากทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย

ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน

ช่วงเวลา 8 วัน ในการอบรมฯ จะมีตั้งแต่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากชุมชนที่มีการตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน หลักสูตรแนวทางการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโควิด 19 กลุ่มผู้ป่วยที่ควรเข้ารับการดูแลในศูนย์แยกกักตัวฯ การส่งต่อผู้ป่วย การช่วยเหลือดูแลทางด้านสังคม อาชีพ และการฟื้นฟู ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบศูนย์แยกกักตัวในชุมชน และข้อปฏิบัติของผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน เมื่อไรกลับบ้านได้ แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็กในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน การดูแลด้านจิตใจผู้ปกครอง ครอบครัว และเจ้าหน้าที่ระบบ Home Isolation” รศ.ดร.นพ.นันทวัช กล่าว

สำหรับกิจกรรมเป็นการจัดอบรมออนไลน์ สอนสดผ่านระบบ zoom เป็นเวลา 8 วัน ระหว่างวันที่ 17 - 24 สิงหาคม 2564 แบ่งเป็นทฤษฎี 2 วัน และฝึกปฏิบัติงานจริงในชุมชน (Community Experience) ให้คำแนะนำปรึกษาผ่านกลุ่มไลน์ (Line Group Supervision) 6 วัน จากนั้นจะจัดให้มีการทบทวนหลังปฏิบัติงาน

ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน