‘ไฟเซอร์นักเรียน’ นร. ชายอาจได้เข็มเดียว กันเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ผลข้างเคียงของ "วัคซีนไฟเซอร์ในเด็กนักเรียน" คือ "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ" ที่พบในนักเรียนชายมากกว่านักเรียนหญิง
ตามมติครม. ที่มีการจัดให้ "เด็กนักเรียน-นักศึกษา" ที่มีอายุ 12-17 ปี ทุกคนได้รับวัคซีน "mRNA" ป้องกันเชื้อโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการเรียนในโรงเรียนต้อนรับเปิดการเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 ในเดือนพ.ย.นี้
การหน้านี้มีความกังวลของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปกครองเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กนักเรียนถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- รวมทุกข้อสงสัย ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" ในเด็ก 12-17 ปี
- กทม. ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" นักเรียนกลุ่มเสี่ยง ยังไม่พบผลข้างเคียง
- ผู้ปกครอง 90%ยินยอม "ฉีดวัคซีนไฟเซอร์" ในเด็กรับเปิดเทอมพ.ย.นี้
- เชียงใหม่ Kick Off ฉีดไฟเซอร์ให้นักเรียน คาด พ.ย.64 ครบ 2 เข็ม
- วันแรก! ฉีดวัคซีนไฟเซอร์เด็กทั่วไทยคึกคัก สร้างSandbox Safety Zone in School
- เช็คยอดนักเรียน ม.ปลาย กทม. ฉีดวัคซีน "ไฟเซอร์" 6 จุดวันแรก
- ยี่ห้อวัคซีนที่ฉีดให้แก่เด็กนักเรียน
วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 12-17 ปีที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บริษัทเดียวคือ “ไฟเซอร์” (Pfizer) ซึ่งเป็นวัคซีนชนิด mRNA มีชื่อทางการว่า BNT162b2 ที่คิดค้นโดยบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ร่วมกับบริษัทสัญชาติเยอรมันชื่อไอโบเอ็นเท็ค (BioNTech) ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ให้สามารถใช้ได้ในประเทศไทย เมื่อวัน 24 มิถุนายน 2564 นับเป็นวัคซีนโควิดรายที่ 6 ที่ผ่านการอนุมัติจาก อย.
ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการฉีดให้แก่กลุ่มเด็กและวัยรุ่นไปบ้างแล้ว โดยเป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ฯลฯ และเตรียมฉีดให้เด็กอีก 5 ล้านคนทั้งประเทศ ขณะที่กรุงเทพมหานคร เตรียมฉีดให้ นักเรียน กลุ่มเสี่ยงสังกัดกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 12 - 18 ปี
- ผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์ในเด็ก
สำหรับการฉีดวัคซีน “ไฟเซอร์” ให้เด็กในต่างประเทศ ข้อมูลจาก บีบีซี ไทย รายงานว่าคณะกรรมการร่วมด้านวัคซีนและภูมิคุ้มกัน (JCVI) มีมติแนะนำให้เด็กอายุระหว่าง 12-15 ปี 200,000 คน ที่มีโรคประจำตัว เข้ารับการฉีดวัคซีน แต่ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนให้เด็กในกลุ่มอายุเดียวกันที่มีสุขภาพดี โดยให้เหตุผลว่าในตอนนี้ ผลดีด้านสุขภาพที่จะได้จากการฉีดวัคซีนถือว่ายังน้อยเกินไป
ขณะเดียวกัน ข้อมูลล่าสุด พบว่า หลายชาติในสหภาพยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี มีการเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนให้เด็ก อายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วน ฮ่องกง ก็มีเริ่มฉีดวัคซีนโควิด ให้เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปเช่นกัน
ผลงานวิจัยในต่างประเทศ ในกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีนชนิด mRNA อย่างไฟเซอร์และโมเดอร์นา พบว่า มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่คนจะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) ซึ่งพบบ่อยกว่าในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กผู้ชายหลังรับวัคซีนโดสที่ 2 อาจทำให้เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นแรง แต่อาการก็มักจะหายไปเองในไม่กี่วัน
สถิติจากสหรัฐฯ พบว่า จำนวนเด็กที่เจอผลข้างเคียงน้อยมาก ในจำนวนเด็กอายุ 12-17 ปี 1 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ จะมีราว 60 คนด้วยกันที่เจออาการข้างเคียงนี้ (8 คนในจำนวน 1 ล้านคนสำหรับเด็กผู้หญิง) อัตราเกิดอาการนี้สูงกว่าในหมู่เด็กอายุน้อยกว่า นั่นเป็นสาเหตุที่ตอนนี้ทางการแนะนำให้เด็กอายุ 16-17 ปี เข้ารับวัคซีนได้
- อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) เผยนร. ชายอาจจะได้เข็มเดียวลดความเสี่ยงผลข้างเคียง
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) ให้สัมภาษณ์ประเด็นการฉีดวัคซีนโควิด-19ให้ผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปว่าการติดตามเรื่องผลข้างเคียง โดยเฉพาะวัคซีนmRNA ที่มีความเป็นห่วงมากที่สุด คือ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ส่วนใหญ่จะมีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรือเหนื่อย และอุบัติการเกิดข้อมูลทั่วโลก ประมาณ 6 ในแสนการฉีด โดยเฉพาะในเด็กผู้ชายจะเจอมากกว่า ส่วนใหญ่จะหายเองได้ มีส่วนน้อยที่ต้องเข้ารับการรักษาในรพ.
สำหรับเด็กผู้หญิงข้อมูลส่วนใหญ่เชื่อว่าปลอดภัย คำแนะนำตอนนี้ ในผู้ที่อายุ 12 ปีขึ้นไป ให้ฉีดวัคซีนได้ 2 เข็ม ส่วนเด็กชายให้ฉีดก่อน 1 เข็ม และจะประเมินข้อมูลอีกครั้งใน 2 อาทิตย์ถัดไป ว่าจะฉีดเข็ม 2 ต่อหรือไม่อย่างไร โดยจะใช้ข้อมูลจากในประเทศและรวบรวมจากข้อมูลทั่วโลกมาประเมินด้วย
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ที่เป็นล็อตบริจาค 1.5 ล้านโดสให้กลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัว ซึ่งฉีดเด็กไปแล้ว 1.3 แสนราย พบอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 4 ราย ทั้งหมดหายแล้ว ซึ่งยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ทั่วไป โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานเกิด 6 ในแสนการฉีด โดยเฉพาะในเด็กผู้ชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง โดยเฉพาะเกิดหลังการฉีดเข็มที่2