ผลสำรวจเผยคนไทยกลัวโรคมะเร็งมากที่สุด 84%ใช้แอพดิจิทัลดูแลสุขภาพ
เมดิกซ์ โกลบอล เผยผลสำรวจพบคนไทย 37% พึงพอใจระบบสาธารณสุขไทย ขณะที่ 66% พึงพอใจรพ.เอกชน ขณะที่โรคมะเร็ง เป็นโรคอันดับ1 คนที่ไทย กลัว ระบุ84% ของคนไทยจะใช้แอพดิจิทัลในอนาคต สาเหตุมาจากโควิด-19
82% ของคนไทยจะใช้บริการปรึกษาทางไกล เพื่อรับคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพ
นางซิกัล อัทซ์มอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เมดิกซ์ โกลบอล กล่าวว่าจากผลสำรวจของเมดิกซ์ โกลบอล (Medix Global) ที่จัดทำโดย กันตาร์ (Kantar)ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดข้ามชาติชั้นนำ จัดทำขึ้นในระหว่างวันที่ 7 - 25 มิ.ย. 2564 เป็นการสำรวจภาคตัดขวางในกลุ่มชุมชนต่าง ๆ ของไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และออสเตรเลีย โดยเป็นการวิจัยครอบคลุมเรื่องความตระหนักรู้และพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ และความสนใจในบริการดิจิทัลเฮลท์แคร์
ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจากคนไทยที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในแง่รายได้ อายุ และเพศ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจจาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นครราชสีมา เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา เกี่ยวกับพฤติกรรมและความตื่นตัวของผู้บริโภคชาวไทยต่อการดูแลสุขภาพและบริการดิจิทัลเฮลท์ของคนไทย ในช่วงโควิด-19
พบว่า 84% หรือ 4/5 เห็นถึงประโยชน์ของดิจิทัลเฮลท์แคร์หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับบริการทางการแพทย์ และในอนาคตจะใช้แอปดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อขอคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพและแนวทางการรักษา ซึ่งความต้องการเพิ่มสูงขึ้น
นางซิกัล กล่าวต่อว่าขณะที่ 82% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อยากจะขอคำแนะนำทางการแพทย์ผ่านบริการปรึกษาทางไกล ขณะที่โรคที่คนไทยกังวลและหวาดกลัวมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ1 โรคมะเร็ง 61% โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ 95% และ โรคหัวใจ 56% ทั้งนี้ จากความความกลัวและวิตกกังวลดังกล่าว ทำให้มีความสนใจในการซื้อประกัน หรือดูแลตัวเอง เพื่อลดคลายความกังวล
คนไทยพึ่งพอใจระบบสาธารณสุขรัฐเพียง 37%
นางซิกัล กล่าวต่อว่าจากการสำรวจความพึงพอใจในระบบสาธารณสุขของไทย พบว่า มีเพียง 37% เท่านั้น ที่พึงพอใจกับการบริการสุขภาพ หรือระบบสาธารณสุขของภาครัฐ เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมาก เข้าถึงยาก ขณะที่66% มีความพึงพอใจของโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากผู้ป่วยจะจ่ายในราคาที่สูงไม่เหมาะสมกับการรักษา
โดย 3 อันดับแรกที่คนไทยอยากให้ปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้แก่ การเข้าถึงบริการสุขภาพ ค่ารักษาพยาบาล และคุณภาพของระบบการแพทย์ โดย 76% หรือประมาณ 3/4 ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า มีความสนใจในบริการจัดการดูแลผู้ป่วยรายบุคคล ในขณะที่ 85% กล่าวว่า จะเพิ่มแผนประกันสุขภาพให้ครอบคลุมโซลูชั่นและการรักษาด้วยเทคโนโลยีล่าสุดที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งและการดูแลสุขภาพในระบบดิจิทัล
- คนไทย 72% ไม่ได้ใช้ระบบแพทย์ทางไกล
นางซิกัล กล่าวอีกว่าคนไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีความรอบรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอย่างมีคุณภาพ และมีความคาดหวังสูงต่อบริการทางการแพทย์ที่ได้รับ การแพร่ระบาดของโรคครั้งใหญ่ยิ่งตอกย้ำว่า คนทุกคนจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว และมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ซึ่งคนไทยคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดีและเปิดรับการนำนวัตกรรมมาใช้อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ และเทคโนโลยี 5G ที่ครอบคลุมมากขึ้น
รวมถึง 55%ของคนไทยมองว่าหมอประจำตัวให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และมีบางท่านอยากให้ ขณะที่91% ของคนไทยอยากใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่ในประเทศไทยไม่มี และคนไทยยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ส่วน คนไทย 72% ยังไม่ได้ใช้เทเลเมดิซีน หรือ ระบบแพทย์ทางไกล แต่อยากจะใช้ และมีเพียง 7% ที่ได้ใช้แล้ว
เมื่อสอบถามถึงการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ พบว่ามี 49% ใช้แอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ แล้ว 42% สนใจจะใช้ และยังไม่ใช้ ส่วน 9% ไม่สนใจจะใช้ ส่วน 3 สิ่งที่อยากเห็นในแอพพลิเคชั่น ได้แก่ 55% อยากเห็นผลแลปเทส มาพร้อมกับคำแนะนำว่าแปลว่าอะไร และเมื่อรู้ผลต้องทำอย่างไรต่อ 54% อยากได้ฟังก์ชั่น ฟีเจอร์ เห็นผลตรวจต่างๆ จากแพทย์ และ54% อยากได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ เสี่ยงอะไร และป้องกันอย่างไร
คำตอบที่ได้รับเมื่อสอบถามเกี่ยวกับฟีเจอร์สำคัญในแอปเพื่อการดูแลสุขภาพดิจิทัล ที่ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้คำตอบโดยเรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ผลตรวจเลือดผ่านระบบดิจิทัลและรับคำแนะนำ 2) การอัปโหลด จัดการข้อมูล และการแชร์เวชระเบียนของตนได้ และ 3) การประเมินความเสี่ยงด้านการแพทย์และสุขภาพในระบบดิจิทัลผ่านอัลกอริทึม
นอกจากนี้ การสำรวจยังสรุปได้ว่า คนไทยมีความวิตกกังวลด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และโรคมะเร็งมากที่สุด อีกทั้งคนไทยมีความเปิดกว้างและพร้อมใช้ระบบแพทย์ทางไกล และใช้ดิจิตอลแอพพลิเคชั่นต่างๆ และมีความพร้อมดูแลจัดการสุขภาพส่วนบุคคล
อย่างไรก็ตาม สำหรับเทรนด์ที่ทั่วโลกต้องการ ได้แก่ ระบบแพทย์ทางไกล ดิจิตอลเฮลท์ และโฮมแคร์หรือการดูแลสุขภาพที่บ้าน รวมถึง AI ในการดูแลผู้ป่วย
- "เมดิกซ์" ยกระดับดูแลสุขภาพคนทั่วโลก
“ผลการสำรวจนี้ ตอกย้ำว่าแนวทางสหสาขาวิชาชีพของเมดิกซ์ ที่ยกระดับการดูแลสุขภาพให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นนั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่คนไทยต้องการ” นางซิกัลกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้ รวมถึงการเข้าถึงเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ คำแนะนำและทางเลือกต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษา ศูนย์บริการลูกค้าที่พร้อมให้บริการและดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เครือข่ายมืออาชีพที่คอยให้กำลังใจตลอดการรักษา รวมทั้งแพทย์และพยาบาลในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเคสของคุณ และการที่ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานระบบการดูแลสุขภาพที่มั่นคง ก็ทำให้เมดิกซ์สามารถช่วยคนไทยตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของตนได้ โดยมุ่งเน้นที่การดูแลป้องกันการดูแลสุขภาวะ และระบบติดตามสุขภาพที่ดีขึ้น