วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย

วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ผนึกกับ7 ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน รวมกว่า 70 องค์กร ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง วิศวกรรมระบบรางการจัดการเชิงธุรกิจ รองรับอุตสาหกรรมระบบรางในอนาคตของประเทศ

รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ 7 ภาคีเครือข่ายรวม 72 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบรางว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ UTCC มุ่งเน้นผลิตและพัฒนาบุคลากรระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบราง เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย ดังนั้น ความร่วมมือกับ 7 ภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน รวม 72 หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบราง จะเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบรางในด้านต่าง ๆ

วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย

 

  • เน้นวิศวะระบบรางจัดการเชิงธุรกิจ

ม.หอการค้าไทย ยังพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมระบบรางอย่างเต็มที่ สำหรับการลงนามบันทึกความร่วมมือฯ ในวันนี้ ทำให้สามารถผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านระบบราง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านระบบรางของไทยในอนาคตก้าวหน้าและพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งจะสนับสนุนให้บุคลากรระบบรางของไทยมีศักยภาพ สามารถสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ ด้านระบบรางไปสู่การปฏิบัติ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย

หลักสูตรของที่นี่มีการบูรณาการความรู้ระบบขนส่งทางราง การจัดการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์การเงิน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางระบบรางของประเทศ โดยเน้นความรู้ทางด้านวิศวกรรมการขนส่งระบบราง เช่น พื้นฐานระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี (TOD) แล้วยังเสริมความรู้ด้านระบบโลจิสติกส์ ผังเมือง และพลังงานที่เกี่ยวข้องกับระบบราง รวมทั้งเน้นความรู้ด้านการบริการจัดการธุรกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่สถานี และเส้นทางของระบบราง

วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย

 

  • รองรับอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ

นอกจากการเข้าทำงานในบริษัทด้านระบบราง โลจิสติกส์ และบริษัทที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ที่กำลังขยายตัวและมีความต้องการแรงงานจำนวนมากในปัจจุบัน แล้ว บัณฑิตยังสามารถนำไปความรู้ไปประยุกต์วางแผนและสร้างธุรกิจอิสระของตนเองที่สอดประสานกับการขยายตัวของระบบขนส่งทางรางในอนาคต

วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมนวัตกรรมธุรกิจระบบราง (Rail Business Innovation Engineering) เปิดสอนเป็นแห่งแรกของประเทศ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 รองรับการผลิตบุคคลากรด้านระบบราง โดยม.หอการค้าไทย เล็งเห็นความต้องการของตลาดงาน และเน้นให้นักศึกษาสามารถต่อยอดด้านธุรกิจได้หลากหลาย ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว 4 รุ่น น้อง ๆ ที่กำลังตามหาความฝัน และอยากเป็นวิศวกรนักบริหารยุคใหม่ สามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ https://engineer.utcc.ac.th/?p=department&of=rail

วิศวะฯ UTCC ขานรับโลกนวัตกรรม สานฝันสู่อุตสาหกรรมระบบรางของไทย