2 ปีแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ยื่นเรื่องถึงสธ. "อย่าล็อกดาวน์" ปิดประเทศอีกรอบ
ภาคธุรกิจผวาล็อกดาวน์ ชมรมผู้ประกอบการฯยื่นเรื่องถึงปลัดสธ. ขออย่า “ล็อกดาวน์”ปิดประเทศอีกรอบ ระบุที่ผ่านมาสูญเสียกว่า 6 ล้านล้านบาท เปิดประเทศ 1 เดือนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น ชี้ช่วงปีใหม่ไฮซีซันงัดเงินก้อนสุดท้ายมาลงทุน หลังที่ผ่านมาแทบสิ้นเนื้อประดาตัว
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ชมรมผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากโควิด ประมาณ 30 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีรองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)เป็นผู้รับหนังสือแทน
น.ส.อริศรา ยืนยาว ผู้แทนชมรมผู้ประกอบการฯ ระบุว่า วัตถุประสงค์ของข้อเรียกร้อง 1.เพื่อขอให้ศบค. สธ.หยุดสร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน และขอให้ยุติการปั่นที่ก่อให้เกิดความกลัวต่อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน 2.เพื่อเรียกร้องมาให้มีการล็อกดาวน์ ปิดประเทศ เหมือนที่เคยเป็นมา เพราะได้สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายใหญ่หลวงต่อธุรกิจภาคท่องเที่ยว อีเว้นท์ 3.เพื่อให้ประกาศว่าโควิดเป็นโรคประจำถิ่น เป็นแล้วรักษาหายได้ ไม่ต่างจากไข้หวัด 4.เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติ ไม่ตื่นกลัวเกินเหตุ 5.เพื่อนหมุนวงล้อเศรษฐหิจ ขับเคลื่อนประเทศต่อไป อย่าทำลายการท่องเที่ยวที่เป็นดังเส้นเลือกใหญ่ของประเทศ และ6.เพื่อให้ใช้เพียงมาตราการ Test and Go เท่านั้นกับนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ ชมรมผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากโควิด จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจจากกลุ่มเพื่อนที่ทำมาหากินในอาชีพเดียวกันหรือคล้ายกัน โดยสมาชิกของชมรมส่วนใหญ่กว่า 90 % เป็นผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการจัดงานอีเว้นท์ การรวมตัวกันครั้งนี้ เพื่อมาชุมนุมเรียกร้องอย่างสันติ และขอเข้ายื่นหนังสือเพื่อขอให้ทบทวนนโยบายการกักตัวนักท่องเที่ยว รวมถึงมาตรการที่ให้งดจัดงานเคาท์ดาวน์เฉลิมฉลองปีใหม่ในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนในธุรกิจการท่องเที่ยวนั้นได้รับความเดือดร้อนหนักถึงขีดสุด
จากข่าวการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนจำนวน 60 กว่ารายที่ผ่านมา ดูเหมืนอว่าทางสธ.โดยรัฐมนตรี อนุทิน ชาญวีรกูล ได้เตรียมยกระดับเพื่อรับมือกับการระบาดครั้งนี้ เช่น มาตรการกักตัวนักท่องเที่ยว ซึ่งทางชมรมกลัวเหลือเกินว่าจะมีนโยบายจากรัฐและศบค.ให้ล็อกดาวน์ จนนำไปสู่การปิดประเทศอีกครั้ง เหมือนที่เคยทำมา ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวทั้งร้านอาหาร โรงแรม มหรสพ อีเว้นท์ ฯลฯจนแทบสิ้นเหนือประดาตัว
ครั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเปิดประเทศเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2564 ภาคการท่องเที่ยวก็เหมือนถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ ประชาชนในประเทศออกมาจับจ่าย กิน เที่ยว ประหนึ่งเหมือนหลุดออกจากถ้ำแห่งการถูกกักขังมานาน กงล้อเศรรษฐกิจเริ่มจะหมุนเคลื่อนคัวช้าๆ เริ่มเห็นแสงรำไรที่ปลายอุโมงค์
ขอเรียนว่าสิ่งที่น่ากลัว ไมใช่โควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่มาใหม่ หรือสายพันธ์ใดที่มาก่อน แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่ทำร้ายคนทั่วประเทศและทั่วโลก คือ การปั่นกระแสให้คนเกิดความกลัวเกินเหตุ โดยการประโคมข่าวจากสื่อทุกสื่อแทบจะไม่มีข่าวใดให้หลงเหลือความเชื่อมั่นในระบบการท่องเที่ยวได้เลย
ดังนั้น ขอท่านได้โปรดหยุดรับฟังข้อเรียกร้องของชมรมผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากโควิดสักครั้ง ขอได้โปรดอย่าบริหารผิดซ้ำด้วยการล็อกดาวน์ ปิดประเทศอีกเลย โควิดเป็นแล้วรักษาหายได้ 99 % และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ตัวเลขเสียชีวิตมีไม่ถึง 1 % และที่ตายเพราะมีโรคประจำตัว สถิติเหล่านี้ทางสธ.และศบค.ทราบดี
ด้วยนโยบายการปิดประเทศที่เคยทำมาจนเสียหายหลายล้านล้านบาท เป็นสิ่งที่ควรนำมาทบทวนก่อนจะทำผิดซ้ำอีกครั้ง เพียงเพราะกลัวโรคที่ควรจะเป็นโรคสามัญประจำถิ่น ประชาชนขอฝากความหวัง ฝากชีวิตไว้ที่ท่านนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและปลัดกระทรวงสาธารณสุข
น.ส.อริศรา กล่าวด้วยว่า ชมรมมีสมาชิกมากกว่า 2,000 คน ในหลากหลายอาชีพ โดยมากกว่า 80 % อยู่ในอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ที่มายื่นเรื่องไม่ได้ต้องการต่อต้านแพทย์หรือกระทรวงสาธารณสุข แต่อยากชี้ให้เห็นถึงความเดือดร้อน โดยที่ผ่านมา 2 ปีธุรกิจแทบสิ้นเนื้อประดาตัว มีการสูญเสียทางธุรกิจราว 6 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ แต่เมื่อมีการเปิดประเทศเกิดขึ้น ธุรกิจก็เริ่มเห็นสัญญาณที่กำลังจะเริ่มฟื้นตัวค่อยๆไต่ระดับดีขึ้น อย่างส่วนตัวจากเดิมธุรกิจร้านอาหารขายได้วันละ 2-3 หมื่นบาท เริ่มเป็น 1 แสนบาทต่อวัน จึงอยากให้คงมาตรการTest and Goไว้เพราะเป็นทางสายกลางสร้างสมดุลแล้วและอย่าล็อกดาวน์ ปิดประเทศอีก
“ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนแล้วกว่า 100 ล้านโดสแล้ว ไม่ได้แปลว่าโควิดจะไม่มี แต่ต้องอยู่กับมันให้ได้ ต้องหามาตราการตรงกลาง โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นไฮซีซั่น เปิดประเทศมาคาดหวังจะไม่กลับไปสู่จุดเดิมอีก เพราะบางคนใช้เงินก้อนสุดท้ายมาสู้ธุรกิจอีกครั้ง โดยหวังจะจัดงานช่วงปีใหม่ หากมีการยกเลิกTest and Go แล้วกลับไปใช้การกักตัว 14 วัน ก็จะทำให้นักท่องเที่ยวไม่อยากมา และทำให้ขาดความเชื่อมั่นทั้งต่อนักท่องเที่ยวและนักลงทุน และเป็นสัญญาณที่อาจจะนำไปสู่การล็อกดาวน์อีก”น.ส.อริศรากล่าว