น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

ศบค.เผยสถานการณ์โอมิครอนในไทย กรมวิทย์ รายงานพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนแล้ว 205 ราย ระบุมีคลัสเตอร์ในไทยที่จ.กาฬสินธุ์ติดเชื้อ 21 ราย ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง กรุงเทพฯ 207 ตัวอย่างติดเชื้อโอมิครอน 43.5% ขณะที่กลุ่มตัวอย่าง 221 เดินทางจากต่างประเทศ 52.9% ติดเชื้อโอมิครอน

วันนี้ ( 24 ธ.ค. 2564) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)  แถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ โควิด-19ประจำวัน ว่า สำหรับสถานการณ์โอมิครอนทั่วโลกนั้น ได้มีการ กระจายไปแล้ว 98 ประเทศทั่วโลก มีการระบาดในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 50 รัฐ และการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าอย่างรวดเร็ว  

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

  • ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน 205  ราย

ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์โอมิครอนของไทย พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 205 ราย และส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในรูปแบบ Test&Go โดยตอนนี้มีคลัสเตอร์โอมิครอนระบาดในไทยที่จ.กาฬสินธุ์ พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่ม 21 ราย   

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

 

 

  •  52.9% นักท่องเที่ยวเข้าไทยติดเชื้อโอมิครอน

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่าสำหรับภาพรวมของไทยข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเฝ้าระวังตรวจสายพันธุ์ระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1เม.ย.-23 ธ.ค.2564  มีการสำรวจ 874 ตัวอย่าง พบผู้ติดเชื้อ 83.8%  เป็นสายพันธุ์เดลต้า ส่วนสายพันธุ์โอมิครอน 16.2% 

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

แต่ถ้าแบ่งตามรายจังหวัด พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวน 207 ตัวอย่าง พบติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 43.5% และสายพันธุ์เดลต้า 56.5% ขณะที่ภูมิภาค  จำนวน 667 ตัวอย่าง เป็นสายพันธุ์เดลต้า 92.2% และทั้งหมดเป็นการรายงานตาม Test&Go นอกจากนั้น ในส่วนกลุ่มตัวอย่าง 221 กลุ่มผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ พบว่า 52.9% ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

 


 

 

  • โอมิครอนติดเชื้อ ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ 70 เท่า

ทั้งนี้ ในส่วนการรายงานจากประเทศอเมริกา พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 73% ในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งตรงกับรายงานของสธ.หลายๆ ประเทศ และองค์การอนามัยโลก ว่าโอมิครอนสามารถเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อเป็น 2-3 เท่าภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน
 

ขณะที่การรายงานของอังกฤษเกี่ยวกับอัตราการนอนรพ.ของผู้ป่วยสายพันธุ์โอมิครอน และสายพันธุ์เดลต้า  พบว่า ผู้ป่วยติดเชื้อเดลต้า จะเข้ารักษาที่รพ. 50% นอนรพ.1 วันขึ้นไป 61% ส่วนสายพันธุ์โอมิครอน เข้ารักษาที่รพ. 20-25% นอนรพ.1 วันขึ้นไป 40-45% ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาใกล้เคียงกับแอฟริกาใต้ พบว่า อัตราการนอนรพ.ของโอมิครอน อยู่ที่ 2.5% ถือได้ว่าน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น แต่กลับพบว่ากรณีผู้ป่วยอาการหนักมีถึง 21% แสดงว่ารุนแรงไม่ต่างกับสายพันธุ์อื่น

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

นอกจากนั้น ข้อมูลจากสหราชอาณาจักร  พบว่า โอมิครอน มีอัตราของผู้สัมผัสเกิดป่วยเป็นโรคสูงกว่าเดลต้า นั้นคือ ผู้สัมผัสในครัวเรือน สายพันธุ์โอมิครอน 15.8% ขณะที่เดลต้า 10.3% ส่วนนอกครัวเรือน โอมิครอน 8.7% และเดลต้า 3.0%  ทำให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการเข้มงวด หรือยกเลิกการจัดงานปีใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมมาตรการให้รัดกุมมากขึ้น เพราะเป็นการแพร่กระจายได้รวดเร็ว ติดเชื้อได้ง่าย

  น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน

สำหรับฮ่องกง พบว่ามีการพบเชื้อส่วนใหญ่ของสายพันธุ์โอมิครอน อยู่บริเวณหลอดลม หมายความว่าโอมิครอนจะมีการติดเชื้อและเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่าเดลต้าและสายพันธุ์ดั่งเดิม 70 เท่า รวมถึงสามารถทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ทั้งในน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง ทำให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่าย นอกจากนั้น ยังรายงานด้วยว่า โอมิครอน สามารถหลบภูมิคุ้มกันทั้งจากวัคซีนหรือเคยติดเชื้อมาก่อน ดังนั้น ภาพรวมต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโอมิครอน

น่าห่วง! กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม. พบ43.5% ติดเชื้อโอมิครอน