อัพเดท! สายด่วน-สถานที่-ช่องทางการติดต่อ เมื่อติดเชื้อโควิด-19
แม้ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19 ยังมียอดผู้ติดเชื้อไม่ทะลุหมื่นราย แต่ด้วยการแพร่ระบาดของโอมิครอนที่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อก้าวกระโดด การเตรียมพร้อมเพื่อป้องกัน และเตรียมตัวหากติดเชื้อโควิดจึงจำเป็นอย่างมาก
ยอดพุ่งอย่างต่อเนื่อง สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 โดยล่าสุด วันที่ 7 ม.ค.2565 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,526 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 6,706 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 433 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 39 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 348 ราย
ยอดติดเชื้อรวมระลอกเมษายน 2,223,913 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 2,252,776 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 19 ราย เสียชีวิตสะสม 21,799 ราย หายป่วยเพิ่ม 2,895 ราย หายป่วยรวมระลอกเมษายน 2,160,971 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 42,580 ราย
ด้วยสายพันธุ์โอมิครอนแพร่กระจายเชื้อรวดเร็ว-ยอดผู้ป่วยสูง “กระทรวงสาธารณสุข” ได้ยกระดับการเตือนภัยระดับ 4 เพราะคาดตัวเลขติดเชื้อรายวันแตะหลักหมื่นคนในเร็ว ๆ นี้ พร้อมขอความร่วมมือประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้สังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน ทำงานที่บ้าน (Work from Home) และต้องตรวจ ATK อย่างน้อย 2 ครั้งห่างกัน 3 วัน หากตรวจพบติดเชื้อ ให้ติดต่อสายด่วน สปสช. 1330 และขอความร่วมมืองดไปร้านอาหารกึ่งผับ สถานที่แออัด รวมทั้งป้องกันตัวเองและครอบครัว
- เช็คเบอร์โทร"สายด่วนโควิด"
“กรุงเทพธุรกิจ” ได้รวบรวมรายชื่อ “สายด่วนโควิด” และ “ช่องทางการติดต่อ” เพื่อช่วยประสานจัดหาเตียง รวมถึงให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือในการดูแลตนเองทั้งทางกาย ใจ ขณะที่กำลังรอเตียงผู้ป่วย หรือกำลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19
เบอร์โทรสายด่วน
- 1330 สปสช. โทรได้ 24 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง)
- 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทรได้ 24 ชั่วโมง
หรือ แอดไลน์ไอดี @sabaideebot และสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน EMS 1669 เพื่อใช้เป็นอีกช่องทางสำหรับเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉินได้
- 1422 กรมควบคุมโรค โทรได้ 24 ชั่วโมง
หรือ สอบถามข้อมูล ความรู้ด้านสุขภาพ และข้อสงสัยสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ
- 1506 ประกันสังคม โทรได้ 24 ชั่วโมง
หรือสอบถาม สิทธิประโยชน์ประกันสังคมการรักษาพยาบาล
- 1668 (กด1) กรมการแพทย์
สายด่วนเฉพาะกิจเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โทรหาเตียงได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น. หรือ แอดไลน์ไอดี @1668.reg เพื่อกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดหาเตียงให้
- ที่นี่! รับดูแลสุขภาพจิตของคนไทย
1323 สายด่วนสุขภาพจิต โทรได้ 24 ชั่วโมง
หรือขอรับคำปรึกษาภาวะเครียด วิตกกังวล และอาการซึมเศร้า
02-872-1669 โทรได้24 ชั่วโมง
ขอรับคำปรึกษาภาวะเครียด วิตกกังวล และอาการซึมเศร้า
ปรึกษาปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (UCEP) ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เจ็บป่วยฉุกเฉิน ประสานการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยวิกฤติโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
096-771-1687 Taxi COVID-19 โรงพยาบาลราชวิถี
บริการแท็กซี่ (Ambulance Taxi) สำหรับรับ-ส่งผู้ป่วยโควิด เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น. (แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน)
- รวมเพจช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยโควิด
1.มูลนิธิกระจกเงา
รับบริจาคและส่งมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด
ติดต่อเฟซบุ๊ก (คลิก)
โทร. 094-878-664
2.เพจเราต้องรอด
ช่วยประสานงานหาเตียง และรถพยาบาลรับส่งผู้ป่วยต้องลงทะเบียนตามขั้นตอนต่างๆ ตามที่ระบุไว้
ติดต่อเฟซบุ๊ก (คลิก)
3.เพจเส้นด้าย-Zendai
ช่วยประสานงานหาเตียง และรถพยาบาลรับส่งผู้ป่วย
ติดต่อเฟซบุ๊ก (คลิก)
โทร. 081-591-9714 / 080-660-9998
4.หมอแล็บแพนด้า
ช่วยประสานหาเตียง
ติดต่อเฟซบุ๊ก (คลิก)
5.Drama-Addict ช่วยประสานหาเตียง
ติดต่อเฟซบุ๊ก (คลิก)
ทั้งนี้ สำหรับสายด่วนโควิดกรณีอยู่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อประสานงานไปยังสถานพยาบาลใกล้บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (อสม.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือศูนย์ประสานงานเฉพาะของแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีโครงการ Backhome ให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา รายละเอียดเพิ่มเติม Line ID : @backhome
- สิ่งที่ต้องเตรียมตัวเมื่อรู้ผลว่าติดเชื้อโควิด-19
1.เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด
2.โทรประสานเตียง เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษา แจ้งรายละเอียด ได้แก่
- ชื่อและนามสกุล
- ที่อยู่ปัจจุบัน
- ผลการตรวจโควิดครั้งล่าสุด
- ภาพถ่ายบัตรประชาชน
- สิทธิในการรักษาพยาบาลต่าง ๆ
- อาการปัจจุบัน
- เบอร์โทรศัพท์ของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง
3.งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด
4.หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้
5.สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว
6.กักตัวในห้องส่วนตัว ไม่อยู่ร่วมกับผู้อื่น แต่หากจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือไม่มีห้องส่วนตัวแยก ให้เปิดหน้าต่างไว้ เพื่อให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด
7.หากระหว่างกักตัวจำเป็นต้องออกมานอกห้องหรือต้องเข้าใกล้ผู้อื่น ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ไม่กดลิฟต์ด้วยมือโดยตรง ควรใช้ปากกาหรือวัสดุอื่น ๆ เป็นที่กดลิฟต์
8.กรณีอยู่คอนโด อพาร์ทเมนท์ หรือที่พักที่มีผู้อื่นร่วมด้วย ให้แจ้งเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 กับนิติบุคคล
9.ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น แยกของใช้ส่วนตัว เช่น อุปกรณ์รับประทานอาหาร แก้วน้ำ หากสั่งสินค้า Delivery ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ ทุกครั้ง ไม่ควรรับส่งของโดยตรงกับผู้อื่น
10.หากมีอาการเจ็บป่วยมากหรือรุนแรงขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้ติดต่อสายด่วน 1669 , 1668 , หรือโหลดแอปพลิเคชัน EMS 1669 เพื่อกดเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน