Asthma Excellence แอปฯ ดูแลผู้ป่วยโรคหืด "นวัตกรรม" ดิจิทัลโดยคนไทย

Asthma Excellence  แอปฯ ดูแลผู้ป่วยโรคหืด "นวัตกรรม" ดิจิทัลโดยคนไทย

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ดีป้า และ "แอสตร้าเซนเนก้า" ประเทศไทย เปิดตัว Asthma Excellence Mobile Application แอปพลิเคชันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคหืด อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดให้ดียิ่งขึ้น

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 2 ปี ถือเป็นอุบัติการณ์ด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลก การทำงานของสมาคมอุรเวชช์เองก็ต้องเปลี่ยนจากฝ่ายตั้งรับเป็นเชิงรุกมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่ม โรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงของโรคมากกว่าคนทั่วไป

 

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยว่า  สำหรับในกลุ่มผู้ป่วยโรคหืดเอง ที่แม้จะเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อและสามารถควบคุมโรคได้ แต่หากได้รับเชื้อโควิด-19 ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากเป็นไวรัสที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรงซึ่งแพทย์จำเป็นต้องมีแนวทางการรักษาที่ชัดเจนและทันต่อความเร่งด่วนมากขึ้นเพื่อลดความสูญเสียนี้

 

ในส่วนของ ‘Asthma Excellence Mobile Application’ ที่มีการพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยโรคหืดที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากลไว้อย่างครบถ้วนก็ถือเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจของสมาคมที่มุ่งส่งเสริมองค์ความรู้ของแพทย์เพื่อให้การรักษาประชาชนในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

Asthma Excellence  แอปฯ ดูแลผู้ป่วยโรคหืด \"นวัตกรรม\" ดิจิทัลโดยคนไทย

นางสาวกษมา กองสมัคร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ด้านนโยบายและความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานผู้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือและผลลัพธ์จากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาด้านสาธารณสุขในประเทศไทย บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ Supporting and Promoting Healthcare Technology Development in Thailand ที่ทางดีป้า ได้ลงนามร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าในเดือนเมษายน 2564 

 

ถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศไทย โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถของระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุข และการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง ความร่วมมือดังกล่าวนำมาสู่การจัดการแข่งขันเสนอไอเดียชิงทุนพัฒนาแอปพลิเคชันเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืด

 

ภายใต้แนวคิด “ดูแลสุขภาพแบบก้าวหน้าด้วยนวัตกรรมดิจิทัล” ซึ่งผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศคือ บริษัท เอเซค ฟรอนเทียร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท Digital Startup ผู้พัฒนา Asthma Excellence Mobile Application จากทุนสนับสนุน ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด”

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าว่า “โรคหืดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยจากข้อมูลของ worldlifeexpectancy.com พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคหืด คิดเป็น 3.43 ต่อประชากร 1 แสนคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางเดินหายใจมีความซับซ้อนมากขึ้น

 

แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ในฐานะผู้สนับสนุนการพัฒนา Asthma Excellence Mobile Application เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพการเข้าถึงยาและการรักษาผู้ป่วย จึงได้ส่งเสริมและผลักดัน ดิจิทัลเฮลท์ (Digital Health) การผสานพลังระหว่างการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยี ดาต้า และอนาลิติกส์ เพื่อขับเคลื่อนวิถีการดูแลสุขภาพในสังคมไปสู่มิติใหม่ที่ยั่งยืน

 

Asthma Excellence Mobile Application เป็นหนึ่งในผลงานที่เราภาคภูมิใจ แอสตร้าเซนเนก้าพร้อมเดินหน้าประสานความร่วมมือกับ หน่วยงานด้านสาธารณสุข องค์กรพันธมิตร และเครือข่ายภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำนวัตกรรมด้านดิจิทัลเทคโนโลยีมาเสริมสร้าง สนับสนุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางแพทย์ โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ประชาชนคนไทย

 

‘Asthma Excellence Mobile Application’ แอปพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคหืด ด้วยฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรคหืดที่ครบถ้วนและครอบคลุม นับตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการดูแลสุขภาพหลังรับการรักษา อาทิ แนวทางการวินิจฉัยเพื่อดูแลรักษาโรคหืด การประเมินความเสี่ยงและการควบคุมโรคหืด แนวทางการรักษาและการกำหนดปริมาณยา รวมถึงการติดตามอาการของผู้ป่วยเพื่อการรักษาโรคหืดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยบุคลากรทางการแพทย์สามารถดาว์นโหลดแอปพลิเคชันได้แล้ววันนี้ ผ่านทาง App Store สำหรับระบบ iOS และ Google Play Store