นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอกว่าปีเห็นผลกระทบ เผยผลศึกษาในอดีตชี้ชัด สารเคมีปนเปื้อนทำปะการังเป็นหมัน รอฟื้นฟูอย่างน้อย 3-5 ปี 

จากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ที่จังหวัดระยอง สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกไปสำรวจเก็บตัวอย่างเพื่อดูถึงผลกระทบของคราบน้ำมัน และสารขจัดคราบน้ำมันที่อาจจะมีผลต่อระบบนิเวศทางทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล

โดยทางทีมสำรวจได้ทำการเก็บตัวอย่างดินตะกอน น้ำทะเล และสิ่งมีชีวิตทางทะเลชนิดต่างๆ เพื่อศึกษาการสะสมของสารไฮโดรคาร์บอนที่มาจากน้ำมันในตัวอย่างชนิดต่างๆ

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

จากการที่ทีมวิจัยได้มีประสบการณ์ศึกษาผลกระทบของคราบน้ำมันและสารขจัดคราบน้ำมันที่มีต่สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น พบว่าผลกระทบของคราบน้ำมันที่มีต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเล อาจจะไม่เห็นทันที 1-2 สัปดาห์ แต่อาจจะใช้เวลานาน อย่างน้อย 1 ปี จึงจะเห็นผลกระทบอย่างแบบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ 

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

 

น้ำมันรั่วในทะเลส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระยะยาว

ศ.ดร. วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ให้ความเห็นว่า หลายครั้งที่เกิดอุบัติเหตุสารเคมีปริมาณมหาศาลปนเปื้อนในทะเล มักจะเห็นการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ลงลึกในรายละเอียดและรอบด้านเท่าที่ควร โดยเฉพาะปะการังมักถูกประเมินว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเราดูจากภายนอกของปะการังเท่านั้น แท้ที่จริงแล้ว

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง
 

ภายในของปะการังได้รับผลกระทบมาก แต่ผู้คนในสังคมไม่ทราบเพราะไม่ได้ดูอย่างละเอียด ทั้งนี้ไม่ว่าในน้ำมันหรืสารขจัดคราบน้ำมัน ล้วนเป็นส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และใช้เวลานานกว่าจะได้เห็นถึงผลเสียที่สะสมและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน

ขณะเดียวกันก็ยังสามารถส่งผลกระทบต่อบริเวณใกล้เคียงถึงแม้ว่าจะไม่พบคราบน้ำมันหรือการปนเปื้อนก็ตาม เนื่องจากเป็นน้ำทะเลมวลเดียวกัน  ปะการังและสิ่งมีชีวิตในบริเวณใกล้เคียงจึงได้รับผลกระทบเช่นกัน 

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

สารเคมีทำปะการังเป็นหมัน รอฟื้นฟู 3-5 ปี

ด้าน ศ. ดร. สุชนา ชวนิชย์ รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ พบว่าน้ำมัน หรือคราบน้ำมัน รวมทั้งสารขจัดคราบน้ำมัน อาจจะทำให้ปะการังเป็นหมัน โดยปะการังไม่สามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์มได้ หรือถึงแม้ปะการังจะสามารถปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ไข่และสเปิร์มได้

แต่คราบน้ำมันและสารขจัดคราบน้ำมัน จะทำให้เซลล์สืบพันธุ์ที่ถูกปล่อยออกมามีรูปร่างที่ผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถปฏิสนธิกันได้ จึงทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า ปะการังเป็นหมันเฉียบพลัน และมีผลกระทบต่อปะการังอย่างมาก เพราะการที่ปะการังจะเพิ่มจำนวนประชากรให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมนั้น

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

จำเป็นต้องมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ปะการังเป็นหมันทำให้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรออกลูกออกหลานได้ อาจส่งผลให้ปะการังลดลงและสูญพันธุ์ไปในที่สุด การเป็นหมันชั่วคราวนี้ ถึงแม้สิ่งแวดล้อมจะกลับมาเหมือนเดิม แต่ก็อาจจะใช้เวลา อย่างน้อย 3-5 ปี กว่าปะการังจะสามารถกลับมาปล่อยไข่และสเปิร์มได้เหมือนเดิมบางส่วน แต่ปะการังส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบก็ไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ 100% 

 “ เวลาที่เราดูผลกระทบของคราบน้ำมันที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อปะการัง ต้องใช้เวลาติดตามอย่างยาวนาน ไม่ใช่แค่ดูในระยะสั้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูถึงผลกระทบต่อการสืบพันธุ์และการเติบโตของสิ่งมีชีวิตด้วย" ศ.ดร.สุชนา กล่าว 

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการที่จะฟื้นฟูปะการัง แต่วิธีการส่วนใหญ่ยังมีข้อจำกัด เหตุการณ์น้ำมันรั่วนี้ เกิดขึ้นในช่วงระหว่างเดือนที่ปะการังกำลังจะปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ คือประมาณ กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน ยิ่งทำให้น่าเป็นห่วงว่า อัตราการเป็นหมันของปะการังจะเกิดสูง

นักวิจัย จุฬาฯ ชี้น้ำมันรั่วในทะเล รอปีกว่าเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมรุนแรง

ในส่วนนี้  ทางทีมวิจัยจะติดตามศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดได้เข้ามาร่วมมือกันป้องกันแก้ไขในระยะยาว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้