ป่วย "โควิด-19" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

ป่วย "โควิด-19" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

จากการระบาดของ "โอมิครอน" ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1.8 หมื่นรายต่อวัน แม้จำนวนป่วยหนัก เสียชีวิต จะไม่เท่ากับช่วง"สายพันธุ์เดลตา" ระบาด แต่หลายคนยังมีความกังวลว่าศักยภาพเตียงจะรองรับได้หรือไม่

การระบาดโควิด-19 “โอมิครอน” ขณะนี้เรียกว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น แนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงต่อเนื่องตั้งแต่การระบาดระลอก 1 ม.ค.65 จากผู้ป่วย 3,011 ราย เสียชีวิต 10 ราย อาการหนัก 583 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 158 ราย ล่าสุด 21 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 18,883 ราย เสียชีวิต 32 ราย อาการหนัก 796 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 202 ราย

 

แม้ขณะนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก วัยทำงาน โดยมากกว่า 90% จะอาการเล็กน้อย และมากกว่า 50% ไม่มีอาการ แต่กลุ่มที่เสียชีวิต อาการหนักยังเป็นกลุ่มสูงวัย กลุ่มเปราะบาง มีโรคเรื้อรัง ติดบ้านติดเตียง ที่รับเชื้อจากคนใกล้ชิด โดยมีผู้รักษาตัว 166,397 ราย เพิ่มขึ้น 2 เท่า จาก 21 ม.ค.65 ซึ่งอยู่ที่ 82,720 ราย แต่สัดส่วนผู้ป่วยอาการหนักยังถือเป็นสัดส่วนน้อย

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

อัตราครองเตียงทั่วประเทศ คิดเป็น 49.1%

 

ขณะเดียวกัน เตียงในระบบสาธารณสุขทั่วประเทศ 13 เขตสุขภาพ มีในระบบ 173,736 เตียง ทั้งภาครัฐ เอกชน การครองเตียง 85,389 เตียง คิดเป็น 49.1% ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับเตียงสีเขียว เตียงว่าง 88,347 เตียง อย่างไรก็ตาม หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยล่าสุด นายกฯ สั่งเหล่าทัพปัดฝุ่น รพ.สนาม 7,000 เตียง รับผู้ป่วยโควิด-19 พุ่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : “นายกฯ” สั่งเหล่าทัพปัดฝุ่น รพ.สนาม 7,000 เตียง รับผู้ป่วยโควิด-19 พุ่ง

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

10 จ.ติดเชื้อสูง ครองเตียง ไม่เกิน 50%

 

“นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์” รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวในงานแถลงข่าว อัพเดทสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 21 ก.พ.65 โดยระบุว่า ใน 10 จังหวัดที่ติดเชื้อสูง ได้แก่ กทม. นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ภูเก็ต นครราชสีมา ระยอง นครปฐม บุรีรัมย์ สถานการณ์เตียงส่วนใหญ่ยังเป็นสีเขียว อัตราครองเตียงไม่เกิน 50% ยังไม่รวมความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่ศูนย์พักคอย หรือการรักษาตัวที่บ้าน

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

กทม. ปริมณฑล เตียงว่าง 46.9%

 

ขณะที่ กทม. ปริมณฑล ซึ่งมีผู้ป่วยสูงมากกว่า 2 พันรายต่อวัน มีความร่วมมือในทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น เอกชน โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กระทรวงกลาโหม และกทม. รวมแล้วมีเตียงรองรับทั้งหมด 55,201 เตียง คนไข้เข้าไปนอน ใน รพ. 25,886 เตียง เตียงว่าง 46.9% โดยในจำนวนนี้กว่า 23,608 เตียงเป็นผู้ป่วยระดับ 1

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

HI กทม. รับได้ 5,540 รายต่อวัน

 

ความสามารถในการรองรับผู้ป่วย โควิด-19 HI ในกทม. สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม. 69 แห่ง , คลินิกชุมชนอบอุ่น และ รพ.ขนาดเล็ก 132 แห่ง , รพ.สังกัดกรมการแพทย์ 16 แห่ง , รพ.สังกัด UHosNet 3 แห่ง , รพ. สังกัดสำนักการแพทย์ กทม. 8 แห่ง และ กาชาด 11 จำนวน 1แห่ง (ไม่รวมจิตอาสา และ เอกชน) ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.พ. 65 สามารถรับผู้ป่วยใหม่ 5,540 รายต่อวัน โดยขณะนี้ ผู้ป่วยสะสม 43,075 ราย

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

CI คงเหลือ 2,065 เตียง

 

ด้านศูนย์พักคอย (Community Isolation :CI) ข้อมูล ณ วันที่ 21 ก.พ.65 มีจำนวน 31 แห่ง 3,981 เตียง อัตราครองเตียง 1,717 ราย คิดเป็น 43.2% คงเหลือ 2,065 เตียง อยู่ระหว่างเตรียมเปิด 9 แห่ง จำนวน 970 เตียง พร้อมขยายได้หากผู้ป่วยมีความต้องการ ในกรณีที่ไม่สามารถรักษา HI ได้ ต้องมี CI รองรับ เพื่อไม่เป็นภาระโรงพยาบาล สงวนทรัพยากรให้ผู้ป่วยจำเป็น อาการหนัก

 

“สรุป สถานการณ์ครองเตียงและผู้ป่วย ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังมีเตียงในระบบรองรับเพียงพอ การรักษาเน้นการรักษา HI & CI เป็นลำดับแรก ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยง เด็กอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป สามารถรักษาแบบ Home isolation ได้ โดยประสาน 1330 ขอความร่วมมือ ประชาชน ดูแลป้องกันตนเอง ปฏิบัติตนตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข และรับการฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่เหมาะสม” นพ.ณัฐพงศ์ กล่าว

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

ป่วยโควิด เข้าระบบรักษา

 

สำหรับ แนวทางนำผู้ป่วยเข้าระบบรักษาประชาชน หากมีอาการหนัก โทร.1669 และจะมีรถรับถึงบ้าน เข้าสู่ระบบบริการ หากตรวจ ATK ผลเป็นบวก อาการน้อยหรือไม่มีอาการ สามารถโทรสายด่วน สปสช.1330 หรือ ไลน์ @nhso หากไม่มีอาการส่วนใหญ่จะรักษาที่บ้าน จะได้รับอาหาร ยา เครื่องวัดออกซิเจน วัดอุณหภูมิ และมีเจ้าหน้าที่ติดตามอาการ

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

 

หากอาการเปลี่ยนแปลง จะมีการส่งต่อ ขณะเดียวกัน หากไม่สะดวกรักษาตัวที่บ้านจะทำการส่งไปยังศูนย์พักคอย ทั้งนี้ หากตรวจ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจ PCR สามารถเข้าระบบบริการภาครัฐ และเครือข่ายเอกชนได้ทุกแห่ง รวมถึง กทม. มีการวางระบบสายด่วนโควิด 50 เขต อีกด้วย

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

สูงวัย เปราะบาง เสี่ยงเสียชีวิต

 

“นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร” รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์โควิด-19 สูงขึ้นทั่วโลก รวมถึงเอเชีย คาดการณ์ว่าใน 1-2 สัปดาห์ แนวโน้มยังทรงตัวในระดับสูง ในประเทศไทย 1-2 สัปดาห์ อาจมีแนวโน้มสูงขึ้น แม้โอมิครอน ความรุนแรงต่ำกว่าเดลตา 10 เท่า แต่หากปล่อยให้ผู้ป่วยติดเชื้อมากขึ้น โอกาสที่กลุ่มเสี่ยง สูงวัย โรคประจำตัวก็จะสูงขึ้น เพราะส่วนใหญ่ ผู้ติดเชื้ออยู่ในวัยแรงงาน และเด็กมากขึ้น มีการรวมกลุ่ม ทานอาหาร จะนำเชื้อไปติดในกลุ่มเปราะบาง โอกาสทำให้ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวที่บ้าน สามารถได้รับเชื้อ ทำให้อาการรุนแรงได้

 

ทั้งนี้ เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องช่วยกันชะลอการกระจายเชื้อ โรคโควิดไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยคนเป็นพาหะ และทราบว่ามากกว่า 90% อาการเล็กน้อย และ มากกว่า 50% ไม่มีอาการ จึงทำให้ไม่ระวัง มาตรการป้องกัน ควบคุมโรคสำคัญ อย่างยิ่งในปัจจุบัน ในการชะลอการติดเชื้อไม่ให้แพร่ไปสู่กลุ่มเสี่ยง

 

“หากพบว่ามีอาการ หรือเสี่ยง ขอให้กักตัว ให้คิดเสมอว่าอาจเป็นผู้ติดเชื้อและแพร่ให้กับคนใกล้ชิดได้ หรือ คนรอบข้างอาจจะเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ ดังนั้น การใส่หน้ากากอนามัย เป็นสิ่งสำคัญ หากออกจากบ้าน ไปชุมชน การเข้าในสถานที่แออัด ต้องเว้นระยะห่าง การสังสรรค์ งานบุญ หากไม่มีความจำเป็นขอให้เลี่ยง” นพ.ธงชัย กล่าว

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

อาการไม่รุนแรง เข้าระบบ Home Isolation

 

ผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึง แนวโน้มสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ว่ามีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อทำ New High กว่า 18,000 ราย/วัน ยังไม่รวมที่ตรวจ ATK อีกเกือบ 10,000 ราย/วัน อย่างไรก็ดี ผู้ติดเชื้อส่วนมากไม่มีอาการรุนแรง ดังนั้นสถานการณ์จึงยังไม่หนักมากเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดก่อนหน้านี้ ซึ่งแนวทางของ กระทรวงสาธารณสุขคือ ประชาชนที่ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีดหรือผลเป็นบวกว่าติดเชื้อโควิด-19 นั้น จะ “เข้าระบบรักษาที่บ้าน” ทันที โดยไม่จำเป็นต้องไปตรวจ RT-PCR ซ้ำอีก

 

“หากเป็นผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง จะเน้นที่การดูแลรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation ก่อน โดย สปสช. มีเครือข่ายหน่วยบริการที่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยในระบบ Home Isolation อีกทั้งอยู่ระหว่างการจัดหาหน่วยบริการเพิ่มเติมเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ดี ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะถูกส่งตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลตามปกติ หรือหากผู้ป่วยที่รับการดูแลในระบบ Home Isolation รู้สึกว่าอาการรุนแรงมากขึ้น ก็สามารถโทรประสานหน่วยบริการที่ให้การดูแลเพื่อประสานส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือโทรเข้ามาที่ 1330 ก็ได้”

 

“ผู้ที่เหมาะกับการดูแลแบบ Home Isolation คือ คนไข้ที่ยังไม่มีอาการรุนแรง เช่น คนหนุ่มสาว ผู้ที่มีแค่อาการไข้ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ คนอ้วน มีโรคประจำตัว กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและควรเข้ารับการดูแลในส่วนที่เหนือกว่า Home Isolation" ผศ.ภญ.ยุพดี กล่าว

 

3 ช่องทางหลัก

 

1.โทรศัพท์เข้าสายด่วน 1330 กด 14

2.ไลน์ออฟฟิเชียล สปสช. @nhso หรือ คลิก   

3.ลงทะเบียนด้วยตัวเองด้วยการสแกน QR code ที่อยู่บนเว็บไซต์ สปสช. หรือ คลิก

 

ในส่วนของการโทรเข้าสายด่วน 1330 กด 14 สามารถโทรเข้ามาขอรับการประสานงานเพื่อจัดหาหน่วยบริการมาดูแลแบบ Home Isolation ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สามารถโทรได้จากทุกจังหวัดและโทรได้ทุกสิทธิสุขภาพ

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

ย้อนดูช่วงนิวไฮ "สายพันธุ์เดลตา" ปี 64

 

สถานการณ์โควิด-19 วันที่ 21 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 18,883 ราย อาการหนัก 796 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 202 ราย เสียชีวิต 32 ราย หากเมื่อเทียบกับการระบาดในจำนวนผู้ป่วยระดับเดียวกันช่วงสายพันธุ์ “เดลตา” ในปี 2564

 

เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 64 ซึ่งในวันนั้นเรียกว่าตัวเลขผู้ป่วยพุ่งสูงนิวไฮ มีผู้เชื้อรายใหม่ 16,533 ราย อาการหนัก 4,325 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 995 ราย เสียชีวิต 133 ราย และมีจำนวนผู้ใส่ท่อช่วยหายใจทะลุ 1,001 รายในวันต่อมา และในวันที่ 31 ก.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่สูงถึง 18,912 ราย อาการหนัก 4,691 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,032 ราย เสียชีวิต 178 ราย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : โควิดติดเชื้อนิวไฮ 'คลัสเตอร์ใหม่' ชุมชน ต.แสนตอ ท่ามะกา ป่วยพุ่ง 428 ราย

 

“เดลตา” อาการหนักพุ่ง เตียงติดลบ

 

เมื่อย้อนดูสถานการณ์เตียงในช่วงปีที่ผ่านมา ข้อมูล ณ วันที่ 24 ก.ค. 64 เรียกว่าในเขตกทม.ปริมณฑลติดลบ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยจำนวนมาก จำนวนเตียงทั้งหมด 36,977 เตียง ครองเตียง 37,668 เตียง เตียงว่าง -691 เตียง มีอัตราครองเตียงอยู่ที่ 101.9 ไม่ว่าจะเป็น AIIR-ICU ห้องความดันลบ , Modified AIIR , Cohort ICU ห้องไอซียูรวม , Isolated room ห้องแยก และ Cohort Ward ห้องสามัญ และมีการเร่งเพิ่มเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงอีกด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ส่อง 'สถานการณ์เตียง' หลังวิกฤติ 'ผู้ป่วยโควิด' พุ่ง !

 

ผู้ป่วยโควิด 5 วันย้อนหลัง ปี 65

 

  • 17 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 17,349 ราย อาการหนัก 728 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 163 ราย เสียชีวิต 22 ราย
  • 18 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 18,066 ราย อาการหนัก 755 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 182 ราย เสียชีวิต 27 ราย
  • 19 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 18,885 ราย อาการหนัก 749 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 184 ราย เสียชีวิต 29 ราย
  • 20 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 18,953 ราย อาการหนัก 747 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 189 ราย เสียชีวิต 30 ราย
  • 21 ก.พ.65 ติดเชื้อใหม่ 18,883 ราย อาการหนัก 796 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 202 ราย เสียชีวิต 32 ราย

 

ผู้ป่วยโควิดระดับใกล้เคียงกันปี 64

 

  • 28 ก.ค. ติดเชื้อใหม่ 16,533 ราย อาการหนัก 4,325 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 995 ราย เสียชีวิต 133 ราย
  • 29 ก.ค. ติดเชื้อใหม่ 17,669 ราย อาการหนัก 4,511 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,001 ราย เสียชีวิต 165 ราย
  • 30 ก.ค. ติดเชื้อใหม่ 17,345 ราย อาการหนัก 4,595 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,012 ราย เสียชีวิต 117 ราย
  • 31 ก.ค. ติดเชื้อใหม่ 18,912 ราย อาการหนัก 4,691 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,032 ราย เสียชีวิต 178 ราย
  • 1 ส.ค. ติดเชื้อใหม่ 18,027 ราย อาการหนัก 4,765 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,044 ราย เสียชีวิต 133 ราย

 

ป่วย \"โควิด-19\" วันนี้ มีเตียงรองรับ หรือไม่ ?

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์