ส่องรูปแบบ-วิธีการ “ค้ามนุษย์” ในไทย ใครมักตกเป็นเหยื่อ?

ส่องรูปแบบ-วิธีการ “ค้ามนุษย์” ในไทย ใครมักตกเป็นเหยื่อ?

ส่องรูปแบบการ "ค้ามนุษย์" ที่พบเห็นได้ในสังคม ทุกวันนี้มีกี่แบบ แล้วส่วนใหญ่เหยื่อถูกล่อลวงด้วยกระบวนการอย่างไร บุคคลแบบไหนที่เสี่ยงอันตราย? ตามไปหาคำตอบกัน

จากประเด็นปัญหาเรื่อง "ค้ามนุษย์" เช่น แรงงานภาคประมงหรือการค้าประเวณีเด็ก ที่ถูกจุดฉนวนขึ้นจนเป็นกระแสสังคมในช่วงนี้ ล่าสุดรัฐไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกโรงชี้แจงว่ากำลังทุ่มเทในการแก้ปัญหานี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนดู รูปแบบการค้ามนุษย์ มีทั้งหมดกี่อย่าง และส่วนใหญ่มักใช้วิธีใดบ้างในการล่อลวงเหยื่อ? 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

1. รูปแบบการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน มีให้เห็นได้หลายรูปแบบ เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งไปที่การแสวงหาประโยชน์ทั้งงานบริการ สื่ออนาจาร หรือเกี่ยวกับเรื่องขูดรีดทรัพย์สิน ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ต้องรู้เท่าทันและป้องกันตัวเองให้ดี

  • นำมาแสวงหาผลประโยชน์จากการค้าประเวณี
  • เอาคนไปเป็นทาส หรือทำงานบริการเยี่ยงทาส
  • บังคับให้เป็นขอทานเพื่อหาเงินส่ง
  • ค้าอวัยวะมนุษย์
  • นำคนไปผลิต เผยแพร่ หรือใช้เป็นวัตถุสำหรับสื่อลามก-อนาจาร
  • ใช้ประโยชน์ทางเพศในแบบอื่นๆ 
  • การขูดรีดสมบัติหรือทรัพย์สินจากบุคคล

ส่องรูปแบบ-วิธีการ “ค้ามนุษย์” ในไทย ใครมักตกเป็นเหยื่อ?

2. วิธีล่อลวงและกระบวนการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์” มีวิธีการล่อลวงคนในลักษณะดังนี้ ข่มขู่, ขู่เข็ญ,ใช้กำลัง, ลักพาตัว, หลอกลวง, ใช้อำนาจโดยมิชอบ, ครอบงำด้วยจุดอ่อนจุดด้อย และทำให้อยู่ในสภาวะขัดขืนไม่ได้

จากนั้นเมื่อได้ตัวคนมาแล้วจะเริ่มกระบวนการค้าขาย ดังนี้

  • เริ่มจากการจัดหาก่อน 
  • จากนั้นค่อยทำการแลกเปลี่ยน ซื้อ-ขาย 
  • เมื่อตกลงกันแล้วจึงจำหน่ายคนที่ต้องการออกไป 
  • พามาส่งและกักขังเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

 

3. บุคคลที่มักตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์

บุคคลที่มักตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ มักจะมีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความอ่อนแอ หรือมีปัญหาส่วนตัว แล้วมีลักษณะใดบ้าง ตามไปดูดังนี้

  • ผู้หญิง-ผู้สูงอายุ มักจะตกเป็นเหยื่อในเรื่องการขู่เอาทรัพย์สิน
  • เด็กหรือผู้เยาว์  ส่วนใหญ่จะตกเป็นเหยื่อการถ่ายทำสื่อลามก หรือถูกลักพาตัวไปเรียกค่าไถ่ 
  • บุคคลประเภทโลภมากหรือชอบเสเพล ก็สามารถตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ได้เช่นกัน เพราะคนประเภทนี้มักต้องการเงินไปใช้ในอบายมุข
  • คนที่มีปัญหาชีวิต คนประเภทนี้จะตกเป็นเครื่องมือทางอาชญากรรม
  • คนต่างด้าว ชนกลุ่มน้อย ผู้มีปัญหาทางจิต คนจำพวกนี้มักถูกใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพในการก่อเหตุต่างๆ

------------------------------

อ้างอิง: กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานกิจการยุติธรรม, สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ, Research Cafe