เช็ค! วิธียื่นคำร้องขอรับ "เงินช่วยเหลือ" แพ้วัคซีนโควิด-19
สปสช. แนะวิธีขอรับ "เงินช่วยเหลือเบื้องต้น" กรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีน COVID-19 โดยวัคซีนโควิดเป็นวัคซีนที่ทางรัฐบาลจัดหา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช็คที่นี่เลย!
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่มีอาการแพ้วัคซีนหรือมีอาการไม่พึงประสงค์หรือมีอาการข้างเคียง หลังจากฉีดวัคซีน Covid-19 จากสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนที่ภาครัฐกำหนดให้ไปฉีด โดยครอบคลุมคนไทยทุกสิทธิ ทั้งสิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม(สัญชาติไทย) สิทธิสวัสดิการข้าราชการและสิทธิอื่นๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิด การฉีดวัคซีน COVID ต้องฉีดตามที่ภาครัฐกำหนด ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือในเบื้องต้นได้ โดยรายละเอียดข้อมูล-กระบวนการต่างๆทั้งหมดมีดังต่อไปนี้
หลักการยื่นเรื่องเงินเยียวยา
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง
- ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย หรือ ทายาท
- กรณีไม่มีทายาท ผู้อุปการะที่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล หรือ ดูแลผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควร หรือหน่วยบริการที่ให้บริการสามารถยื่นคำร้องแทนได้
สถานที่ยื่นคำร้อง
- โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด -19
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ (13 เขตทั่วประเทศ)
เอกสารประกอบคำร้อง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบมรณบัตรของผู้รับบริการกรณีที่เสียชีวิต
- ความเห็นแพทย์ผู้ให้การรักษาและการหยุดพักงาน
ระยะเวลาในการยื่นคำร้อง
- ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหาย
กระบวนการพิจารณา
- ยื่นคำร้อง
- คณะอนุกรรมการฯภายใต้สปสช.พิจารณาคำร้อง
- ลงมติว่าเห็นชอบที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือหรือไม่ จำนวนเท่าไร
- ในกรณีที่จ่าย สปสช.จะโอนเงินเข้าบัญชีภายใน 5 วัน หลังจากที่ครณะอนุกรรมการฯมีมติ
- กรณีที่ไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน
อัตราการจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้น
- เสียชีวิต /ทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 4 แสนบาท
- เสียอวัยวะ / พิการ ไม่เกิน 2.4 แสนบาท
- บาดเจ็บ / บาดเจ็บต่อเนื่่อง ไม่เกิน 1 แสนบาท
หลังจากได้รับคำร้องแล้ว จะมีคณะอนุกรรมการในระดับเขตซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนภาคประชาชนเป็นผู้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินเยียวยาหรือไม่และจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ตามหลักฐานทางการแพทย์และระดับความหนักเบาของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ระดับเขตพื้นที่จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso
ดาวน์โหลดแแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ที่นี่