แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 2.4 หมื่นกว่าราย เข้ารักษาในรพ.2 แสนกว่าราย ป่วยหนักทะลุ 1,000 ราย เผยสถานการณ์ในไทยน่าห่วง แนวโน้มผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้น ย้ำฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดการเสียชีวิต เช็ค 10 จังหวัดแรกพบผู้ป่วยปอดอักเสบมากสุด

วันนี้ (7 มี.ค.2565)  พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค  แถลงข่าวสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ว่า ขณะนี้ยอดสะสมผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ 446,612,251 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนักสะสม 71,228 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.02 และเสียชีวิตสะสม 6,019,441ราย คิดเป็นร้อยละ 1.35

ถ้าดูยอดผู้ติดเชื้อรายสัปดาห์ใน 20 ประเทศแรก ในช่วงระยะเวลา 7 วัน พบว่า อันดับที่ 1.เกาหลีใต้ 2.เยอรมนี ซึ่งทั้ง 2 ประเทศนี้ มียอดผู้ติดเชื้อสูงถึง 1 ล้านราย  3.เวียดนาม มีผู้ติดเชื้อสะสม 850,148 ราย   

นอกจากนี้ ประเทศในทวีปเอเชียที่ติด 20 อันดับ ได้แก่ เวียดนาม ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย  มาเลเซีย

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

  • ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นลดเสียชีวิต

ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 18 โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมราย 7 วันอยู่ที่ 157,079 ราย มีอัตราสะสมการเสียชีวิต 7 วันต่อล้านประชากรอยู่ที่ 5 ราย ซึ่งสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโอไมครอนทั่วโลก แพร่ระบาดง่าย และมีผู้ป่วยอาการหนักไม่มากเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้เสียชีวิตรายวัน ตั้งแต่วันที่  15 ก.พ.2564- 4 มี.ค.2565 พบว่าประเทศอเมริกา ยุโรป ตอนนี้อยู่ในช่วงขาลง  แต่ในกลุ่มประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ไทย กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากการระบาด พบว่า ยอดผู้เสียชีวิตรายวันช่วงที่มีการระบาดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา สูงกว่า เมื่อเทียบกับช่วงที่มีการระบาดโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน  และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เกือบ 60% การระบาดของโอมิครอน มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าประเทศที่ประชาชนไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น  แสดงให้เห็นว่า ผู้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

  • ผู้ติดเชื้อรายใหม่เกือบ 5 หมื่นราย

พญ.สุมนี กล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 21,162 ราย ส่วนการตรวจ ATK  24,236 ราย รวมผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมด  45,398 ราย  โดยในส่วนของผู้ติดเชื้อรายใหม่  21,262 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่จากในประเทศ 20,986 ราย ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 102 รายและผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 74 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่ม.ค.2565 จำนวน  824,422 ราย

ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 65 คน ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 1,602 คน ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม  23,300 คน

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

  • รักษาอยู่ในรพ. กว่า 2 แสนราย

ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่  230,459 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 1,148 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 375 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 23,159 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่เดือนม.ค.2565 จำนวน  625,604 ราย

รายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 65 ราย พบว่า เป็นเพศชาย 34 ราย หญิง 31 ราย เป็นชาวไทย 65ราย  โดยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 55 ราย คิดเป็น 85% และโรคเรื้อรัง 8 ราย คิดเป็น 12 % รวม 97 %

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

  • แนวโน้มผู้ป่วยปอดอักเสบเพิ่งสูงขึ้น

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่าขณะนี้พบผู้ป่วยปอดอักเสบ และผู้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้เสียชีวิต จำนวนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางผู้ติดเชื้อรายวันที่มีเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับ 10 อันดับจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่  กทม. 2,803  ราย โดยกทม.ได้รายงานว่ามีคลัสเตอร์ใหม่ คือ คลัสก่อสร้างในเขตคลองสามวา ส่วน 5 เขตในกทม.ที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุดได้แก่  หลักสี่  บางซื่อ หนองแขม ทวีวัฒนา และดินแดง

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

อันดับ 2   นครศรีธรรมราช 1,042 ราย สมุทรปราการ 872 ราย  ชลบุรี 784 ราย นนทบุรี 723 ราย สมุทรสาคร  659 ราย  นครราชสีมา 614 ราย   ภูเก็ต 592  ราย  นครปฐม 589 ราย และพระนครศรีอยุธยา  567  ราย

 

  • 10 จังหวัดแรกพบผู้ป่วยปอดอักเสบมากสุด

นอกจากนั้น จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ปอดอักเสบกำลังรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 10อันดับแรก ได้แก่ กทม. 182 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 30.50% สมุทรปราการ 75 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 44.30% นนทบุรี 52 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 43.10% ภูเก็ต 46 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน46.10%

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

นครศรีธรรมราช 46 ราน ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 14.70% ชลบุรี 42 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 44.80% สุราษฎร์ธานี 41 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 46.80% กาญจนบุรี 41 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 19.90% นครราชสีมา 34 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 16.80% และเชียงใหม่  34 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 14.90%

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ทั้งนี้ หลังจากประเทศไทยเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ สามารถเข้าทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้ 1- 6 มี.ค.2565 สะสม  48,950 คน  ติดเชื้อ 629 ราย อัตราการติดเชื้อ 1.28%  แบ่งเป็น Test&Go  เดินทางเข้าไทย  41,386 คน ติดเชื้อ 399 ราย 0.96% Sandbox  6,570 คน ติดเชื้อ  210 ราย 3.20%  และ Quarantine  994 คน ติดเชื้อ 20  ราย 2.01%

แนวโน้มผู้ป่วยโควิดติดเชื้อปอดอักเสบ ใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564- 6 มี.ค. 2565 สะสมทั้งหมด 124,916,084 โดส  แบ่งเป็น เข็มที่ 1 สะสม 53,948,754  ราย คิดเป็น 77.6 % ของประชากร เข็มที่ 2 สะสม 49,864,844 คิดเป็น 71.7 %ของประชากร เข็มที่3 สะสม 21,102 ,486 ราย คิดเป็น 30.3% ของประชากร