"โควิดโอมิครอน"สายพันธุ์ย่อยBA.2ครองไทยเกินครึ่ง แพร่เร็วขึ้น 1.4 เท่า
กรมวิทย์เผยโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อยBA.2 ครองไทยเกิน 50%แล้ว แพร่เร็วกว่าBA.1 ถึง 1.4 เท่า ติดเชื้อในครอบครัว 39 % แต่ความรุนแรงไม่แตกต่างกัน ติดเชื้อซ้ำได้
เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด19 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด 19 ของไทย ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา(26 ก.พ.-4มี.ค.2565) มีการเก็บตัวอย่าง 1,900 ตัวอย่าง0kdทั่วประเทศ พบว่า ไม่มีสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกรมมา ส่วนสายพันธุ์เดลตาพบเพียง 7 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นสายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็น 99.6% โดบพบในทุจังหวัดมากน้อยแตกต่างกันไป
เมื่อจำแนกสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน พบว่าเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด 51.8% ที่เหลือเป็น BA.1 คิดเป็น 48.2 % แสดงว่าBA.2 มีอิทธิฤทธิ์แพร่เร็วกกว่าBA.1 จึงเบียดแซงได้ และจะพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนแทนBA.1ทั้งหมดในที่สุด เว้นแต่จะมีตัวกลายพันธุ์อื่นที่แพร่ได้เร็วกว่า ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังต่อไป เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจสายพันธุ์แล้วพบเป็นBA.2 คือ ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพื่อสำรวจภาพรวมประเทศ 49.08 % คลัสเตอร์ใหม่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 คนในคลัสเตอร์ 50 % กลุ่มที่มีอาการรุนแรง และ/หรือเสียชีวิตทุกราย 30.99 % ลักษณะอื่นๆที่สงสัยในไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 44.07 % กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 52.94 % และกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน(ติดเชื้อซ้ำ) 28.57 %
“ในกลุ่มทื่ติดเชื้อซ้ำ ก็เป็นการยืนยัน กรณีคนที่บอกว่าเคยติดเชิ้อแล้วตอนสายพันธุ์เดลตา มีภูมิคุ้มกันแล้ว ก็จะเป็นเช่นนั้นหากสายพันธุ์ที่ระบาดยังเป็นเดลตา แต่เมื่อเป็นสายพันธุ์อื่นระบาด ก็จะหลบภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์เดิใ เพราะฉะนั้น ถ้ามีภูมิคุ้มกันจากสายพันธุ์เดลตา ก็จะจัดการโอมิครอนไม่ได้ ก็จะติดเชื้อซ้ำได้ แต่ถ้าติดเชื้อโอมิครอนมีภูมิคุ้มกันโอมิครอนแล้วโอมิครอนยังเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ ภูมิฯธรรมชาติที่ได้จากการติดเชื้อก็จะป้องกันโอมิครอนได้”นพ.ศุภกิจกล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับโอมิครอนBA.2 องค์การอนามัยโลกหรือฮู(WHO)ระบุเรื่องความรุนแรงไม่มีความแตกต่างจาก BA.1 เบื้องต้นจากข้อมูลพบว่า BA.2 จะแพร่เร็วกว่า BA.1 ถึง 1.4 เท่า ถอดหน้ากากเมื่อไหร่ ก็มาเมื่อนั้น รวมทั้ง หากมี 1 คนในครอบครัวติดเชื้อ BA.2 จะสามารถแพร่ต่อให้คนในครอบครัว 39% มากกว่า BA.1 ที่แพร่ให้คนในครอบครัว 29% ส่วนการหลบภูมิคุ้มกันวัคซีน พบว่า BA.2 มีการดื้อวัคซีนขึ้นเล็กน้อย ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ด้วยภูมิฯจากสายพันธุ์เดลตาก็จัดการโอมิครอนได้ลดลง แต่สิ่งที่เป็นเรื่องสำคัญคือ ยาโมโนโคนอลแอนติบอดี้ ซึ่งเป็นยารักษาโควิดที่มีราคาแพงมากนั้น พบว่าสามารถรักษาโควิดสายพันธุ์อื่นได้ รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ได้ แต่ไม่สามารถจัดการเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ถ้ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จากการยืนยันราววันละ 22,000 ราย และตรวจATKที่หักการตรวจซ้ำออกไปอยู่ที่ราว 10,000 ราย ผู้ติดเชื้อก็จะราววันละ 32,000 ราย หากมีการเสียชีวิต 1 ใน 1,000 คนก็จะเป็นมีผู้เสียชีวิต 32 คน ถ้าเสียชีวิตวันละ 50 คน ก็จะ 2 ใน 1,000 คน ยังไม่ถึง 1 % จากสายพันธุ์เดิมที่เจอติดเชื้อ 20,000-30,000 ราย เสียชีวิต 200-300 คน
“ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็จะเพิ่มตามจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากขึ้น และคนที่เสียชีวิตในตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน มีโรคประจำตัว หรือได้รับวัคซีนเพียง 1 หรือ 2 เข็ม เพราะฉะนั้น ถ้าลดความเสี่ยงในกลุ่มเหล่านี้ได้ ด้วยการพาไปฉีดวัคซีนโควิด19 เข็มกระตุ้น และลกโอกาสการรับเชื้อ ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็จะลดลงอีก”นพ.ศุภกิจกล่าว