“อาการโอมิครอน”ที่ต้องเฝ้าระวัง เมื่อดูแลรักษาที่บ้าน 

“อาการโอมิครอน”ที่ต้องเฝ้าระวัง เมื่อดูแลรักษาที่บ้าน 

แนวทางหลักของการดูแลรักษาผู้ติดโควิดโอมิครอน คือ การดูแลรักษาที่บ้านในแบบHI/CI หรือผู้ป่วยนอก ในกลุ่มที่ไม่มีอาการโอมิครอน/อาการน้อย และไม่มีภาวะเสี่ยง เมื่ออยู่บ้านแล้วมีอย่างน้อย 10 อาการที่ต้องเฝ้าระวัง 

 อาการโอมิครอนที่พบมากในไทย 
       เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564 กรมการแพทย์ อัพเดท "อาการโอมิครอน" จากผู้ติดเชื้อที่มีอาการ 41 ราย ข้อมูลจากผู้ป่วย 100รายแรกของประเทศไทย สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้

  • ไอ 54%
  • เจ็บคอ 37% 
  • ไข้ 29% 
  • ปวดกล้ามเนื้อ 15% 
  • มีน้ำมูก 12%
  • ปวดศีรษะ 10%
  • หายใจลำบาก 5% 
  • ได้กลิ่นลดลง 2%

    อาการโอมิครอน 90 % น้อย-10%นอนรพ.

      รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กล่าวว่า  ผู้ติดโควิด19 ในระลอกโอมิครอน มีประมาณ 10 %ที่อาการโอมิครอนต้องเข้ารับการรักษาในรพ. โดยจากแนวทางการรักษาล่าสุดฉบับที่ 20 ที่เพิ่งออกมาเมื่อปลายเดือนก.พ.2565  ก็กำหนดให้กลุ่มที่ต้องเข้านอนรักษาในรพ. คือ ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น มีไข้  38-39 อายุ 65 ปีขึ้นหรือมีโรคร่วมสำคัญหรือผู้ป่วยที่ทมีปอดอักเสบเล็กน้อยที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน แพทย์พิจารณาให้เข้ารับการนอนในรพ. เพราะเสี่ยงที่โรคจะพัฒนารุนแรงขึ้น ส่วนยาที่ใช้จะมีหลายตัว 

        ผู้ติดเชื้ออีกราว 90 % ไม่มีอาการหรืออาการน้อย เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ทั้งผ่านระบบกักตัวที่บ้าน(Home Isolation:HI)และดูแลแบบผู้ป่วยนอก(OPD)แล้วผู้ติดเชื้อจะค่อยๆหายได้เอง  โดยกลุ่มที่ไม่มีอาการ  จะไม่ให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ อาจจะพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจรตามดุลพินิจแพทย์
     ส่วนกลุ่มที่มีอาการโอมิครอนไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่มีโรคร่วม  แพทย์เป็นคนพิจารณาว่าจะให้ฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ ซึ่งจากที่ดำเนินการเรื่องดูแลระบบHIในระลอกของโอมิครอน พบว่า โอกาสที่กลุ่มอาการสีเขียวรักษาที่บ้านแล้วอาการจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จนอยู่ในระดับสีเหลืองหรือสีแดงนั้นน้อยมากๆ 

แนวทางรักษาตาม "อาการโอมิครอน"
    รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี กล่าวว่า  จากการพิจารณาจัดทำแนวทางการรักษาโรคโควิด 19 ฉบับที่ 20ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด จะมีแนวทางสำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อแบบผู้ป่วยนอก สำหรับรายละเอียด การให้ยา ดังนี้

    1. ผู้ป่วยไม่มีอาการ พบกว่า 90% ให้มีการรักษาที่บ้าน หรือแบบผู้ป่วยนอก อาจจะมีอาการคันคอ ไอค่อกแค่กบ้าง จะไม่มีการให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ เนื่องจากส่วนมากอาการไม่แย่ลง หายเองได้ และไม่ต้องเสี่ยงจากผลข้างเคียง
     เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาสีฟ้า เสี่ยงดื้อยา และ ไม่แนะนำใช้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะตั้งครรภ์อ่อนๆ เพราะพบว่ามีผลต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง  อาจจะพิจารณาให้ฟ้าทะลายโจรตามดุลพินิจแพทย์ แต่ไม่ให้ในเด็ก คนท้อง ผู้ป่วยโรคตับ  ไม่ใช้ร่วมยาต้านไวรัสอื่น

        2. กรณีมีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่มีโรคร่วม  แพทย์เป็นคนพิจารณาว่าจะให้ฟาวิพิราเวียร์หรือไม่ หากให้ต้องหยุดกินฟ้าทะลายโจร หากตรวจพบเชื้อเมื่อมีอาการเกิน 5 วันแล้ว และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย การให้ยาต้านอาจจะไม่มีประโยชน์แล้ว เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน 
      3. กรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เช่น มีไข้  38-39 อายุ 65 ปีขึ้นหรือมีโรคร่วมสำคัญหรือผู้ป่วยที่ทมีปอดอักเสบเล็กน้อยที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน แพทย์พิจารณาให้เข้ารับการนอนในรพ. เพราะเสี่ยงที่โรคจะพัฒนารุนแรงขึ้น ส่วนยาที่ใช้จะมีหลายตัว 
      และกลุ่มที่ 4 ซึ่งอาการรุนแรงนั้นต้องอยู่ในรพ.อยู่แล้ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาที่เหมาะสม 

 โอกาสต่ำ”อาการโอมิครอน”จากเขียวเป็นเหลือง
       นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีผลตรวจATKเป็นบวกหรือเข้ารับการตรวจATKที่คลินิกทางเดินหายใจของหน่วยบริการ(ARI Clinic) ซึ่งรพ.สังกัดสธ.มีคลินิกนี้ทุกแห่ง  หากประเมินแล้ว ไม่มีอาการหรืออาการน้อย และไม่มีภาวะเสี่ยง ก็จะมีการสอบถามความสมัครใจในการรับบริการแบบผู้ป่วยนอกได้ ซึ่งหากจำเป็นต้องได้รับยาก็จะสามารถรับได้ที่คลินิก โดยจะมียา 3 กลุ่ม คือ 1.ยารักษาไข้หวัดทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ 2.ฟ้าทะลายโจร และ3.ฟาวิพิราเวียร์  
       การตรวจรักษาโควิด19 ขณะนี้พยายามวางแผนที่จะจัดการให้โควิด19เป็นโรคประจำถิ่น โดยดูเรื่องความรุนแรง ศักยภาพภูมิต้านทานของคนและกระบวนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักวิชาการพบว่าโอมิครอนความแรงต่ำมาก 95 % ขึ้นไปไม่มีอาการหรืออาการน้อย และก่อนหน้านี้
      "จากการให้การดูแลในระบบแยกกักที่บ้านหรือ HI ในผู้ติดเชื้อที่อาการสีเขียง คือไม่มีอาการหรืออาการน้อย พบว่ามีเพียง 0.5 % ที่อาการมากขึ้นเป็นสีเหลือง แล้วต้องส่งเข้ารับการรักษาในรพ. ถือว่าน้อยมากๆ ”นพ.เกียรติภูมิกล่าว   

“อาการโอมิครอน”ที่ต้องเฝ้าระวังเมื่ออยู่บ้าน

กรมควบคุมโรค ระบุว่าผู้ป่วยโควิด19 แยกรักษาตัวที่บ้านหรือในชุมชน ให้ระวังอาการต่อไปนี้

1.ไข้
2.ไอ

3.เจ็บหน้าอก

4.หายใจไม่เต็มอิ่ม

5.หอบเหนื่อย

6.อ่อนเพลีย

7.กินไม่ได้

8.ซึม
9.ไม่รู้สึกตัว

10.ค่าออกซิเจนปลายนิ้วต่ำกว่า 96 หรือมีค่าลดลง 3 % ขึ้นไปเมื่อออกกำลัง

โดยทั่วไปให้สังเกตวันที่ 4 - 7 หลังมีอาการเพราะมักเริ่มมีอาการปอดอักเสบ