อัปเดต "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. 2,904 จับตา นครศรีฯ ชลบุรี ปากน้ำ
เกาะติดเช็คอัปเดตล่าสุด "โควิดวันนี้" 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด กทม. ยอด 2,904 จับตา ราย นครศรีธรรมราช ชลบุรี ปากน้ำสมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี
อัปเดตต่อเนื่อง เกาะติดสถานการณ์ โควิดวันนี้ 15 มี.ค. 65 เกาะติดความคืบหน้า 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด จากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ตรวจสอบอัปเดต 10 จังหวัด อันดับพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด
รายงานวันนี้ ผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่ วันที่ 15 มีนาคม 2565 ตรวจสอบ 10 จังหวัดอันดับ
15/03/2565 กรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ยอดติดเชื้อโควิดสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ ตามด้วย นครศรีธรรมราช ชลบุรี ปากน้ำสมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี
ฉีดวัคซีนโควิด จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 14 มี.ค. 2565)
รวม 126,267,971 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 14 มีนาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 109,592 โดส
เข็มที่ 1 : 38,660 ราย
เข็มที่ 2 : 12,171 ราย
เข็มที่ 3 : 58,761 ราย
----------------------------
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 54,453,850 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 50,002,849 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 21,811,272 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 11.30 น.
สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ
ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ 19,742 ราย
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,003,262 ราย
หายป่วยแล้ว 812,919 ราย
เสียชีวิตสะสม 2,150 ราย
----------------------------
ข้อมูลสะสมตั้งแต่ปี 2563
ผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,226,697 ราย
หายป่วยแล้ว 2,981,413 ราย
เสียชีวิตสะสม 23,848 ราย
ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 - 14 มีนาคม 2565
มีผู้รับวัคซีน สะสมทั้งหมด จำนวน 126,267,971 โดส
----------------------------
วันที่ 14 มีนาคม 2565 มีผู้รับการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 1 จำนวน 38,660 ราย
เข็มที่ 2 จำนวน 12,171 ราย
เข็มที่ 3 จำนวน 58,761 ราย
ที่มา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก
วันอังคารที่ 15 มีนาคม 2565 เวลา 10.00 น.
ยอดผู้ติดเชื้อรวม 460,150,698 ราย
อาการรุนแรง 65,427 ราย
รักษาหายแล้ว 393,226,913 ราย
เสียชีวิต 6,067,554 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงสุด (รวมย้อนหลัง 7 วัน)
1. เกาหลีใต้ จำนวน 2,199,245 ราย
2. เยอรมนี จำนวน 1,391,001 ราย
3. เวียตนาม จำนวน 1,221,623 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 461,175 ราย
5. เนเธอร์แลนด์ จำนวน 442,432 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 18 จำนวน 159,098 ราย
ที่มา ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
สธ. เฝ้าระวัง Omicron สายพันธุ์ BA.2.2 ในไทย
1. ข้อมูลปัจจุบัน สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 ยังไม่ถูกประเมินเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง
2. ยังไม่มีการพิจารณาจากองค์กรควบคุมโรคใดให้ความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เฝ้าระวังทุกสายพันธุ์ของเชื้อก่อโรคโควิดอย่างต่อเนื่อง
ทั้งวิธีตรวจเฉพาะจุดกลายพันธุ์ และตรวจลำดับเบสทั้งตัว
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19
เบิกค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด 19
กรมบัญชีกลาง กำหนดแนวทางการเบิกค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่ติดเชื้อโควิด 19 กรณีต้องแยกกักตัวที่บ้าน (Self Isolation) เพื่อให้สถานพยาบาลของทางราชการนำหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่าย กรณีการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกและการแยกกักตัวที่บ้าน (Self Isolation) ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนด มาใช้กับการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัว ให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 โดยมีอัตราการจ่ายค่าใช้จ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ดังนี้
1. ค่าบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่มีภาวะเสี่ยงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดแบบบริการผู้ป่วยนอก จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อราย โดยครอบคลุมรายการดังนี้
(1) ค่าบริการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการแยกกักตัวที่บ้าน
(2) การให้ยาที่เป็นการรักษาโรคโควิด 19 ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หรือ Favipiravir (เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข) ตามแนวทางกรมการแพทย์ และหรือยารักษาตามอาการรวมค่าจัดส่ง
(3) การประสานติดตามอาการเมื่อให้การดูแลครบ 48 ชั่วโมง
(4) การจัดระบบส่งต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องส่งต่อ
2. ค่าบริการสำหรับการให้คำปรึกษาหรือการดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อได้รับคำปรึกษาจากผู้ป่วยโควิด 19 หลังให้การดูแลครบ 48 ชั่วโมงไปแล้ว เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง และหรือให้ปรึกษาอื่นๆ จ่ายแบบเหมาจ่ายในอัตรา 300 บาทต่อราย
ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 191 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2565 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02 127 7000 ต่อ 6854 4441 ในวัน เวลาราชการ
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19
ศูนย์ข้อมูลCOVID19