ใช้ "ATK" ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ชุดตรวจต้องผ่านรับรองจาก อย.

ใช้ "ATK" ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ชุดตรวจต้องผ่านรับรองจาก อย.

โควิด-19 “โอมิครอน” ระบาด ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ "สายพันธุ์ย่อย BA.2" ที่แพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ BA.1 กว่า 1.4 เท่า แนะใช้ "ATK" ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ต้องผ่านรับรองจาก อย.

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 “โอมิครอน” สายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 ในขณะนี้ ทำให้ทั่วประเทศมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความสามารถในการแพร่กระจายของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์ BA.1 ประมาณ 1.4 เท่า

 

เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อและเข้มงวดมาตรการส่วนบุคคล ผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจและสงสัยว่าจะเป็นโรคโควิด 19 ได้แก่ มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5°C ขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ สามารถใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)ตรวจผู้ที่มีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจและสงสัยว่าจะเป็นโรคโควิด 19 เพื่อช่วยในการคัดกรองเบื้องต้นก่อนการสู่ระบบดูแลรักษา

 

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การเลือกใช้ชุดตรวจ ATK ที่ผ่านการประเมินและได้รับอนุญาตจาก อย.ดูได้จากเว็บไซต์ https://www.fda.moph.go.th/ ตรวจชื่อชุดตรวจใช้จัดเจน เพราะชุดตรวจไม่ได้มาตรฐานที่มักจะลอกเลียนแบบชื่อหรือมีรูปที่ซองบรรจุ เพื่อให้มั่นใจว่าชุดตรวจมีคุณภาพมาตรฐาน

 

ทั้งนี้ ชุดตรวจ ATK ยังใช้ตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงทั้งที่มีหรือไม่มีอาการหลังจากสัมผัสโรคมาแล้ว 3-5 วัน หรือตรวจติดตามเป็นระยะตามความจำเป็นเช่นทุกสัปดาห์ รวมทั้งใช้ตรวจเพื่อการเฝ้าระวังการติดเชื้อในสถานประกอบการ สถานบริการ หรือสถานที่ต่างๆ (COVID free setting) เช่น โรงงาน ตลาด โรงเรียน เป็นต้น โดยมีความถี่ของการตรวจเป็นไปตามข้อแนะนำ ในเบื้องต้นสามารถตรวจได้ทุกสัปดาห์หรือถี่กว่านั้นตามความจำเป็น

ATK ที่ดีคุณภาพมาก่อนโฆษณา

 

ชุดตรวจ ATK มีส่วนช่วยในการลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศ ป้องกันการแพร่เชื้อตามมาตรการของรัฐบาล และช่วยให้ผู้ป่วยรู้ตัวและสามารถเข้าสู่ระบบการรรักษาได้ทันท่วงที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตในประเทศ

 

นายนทพร บุญบุบผา ประธานกรรมการบริหาร (CEO) บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ชุดตรวจ ATK ยี่ห้อ STANDARD Q ผลิตโดยบริษัท SD BIOSENSOR ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลชั้นนำ ซึ่งเกิดจากการยอมรับคุณภาพที่เที่ยงตรงและแม่นยำของทุกล็อตการผลิต เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชุดตรวจ ATK ก็คือ คุณภาพที่ดีจะต้องมาก่อนการโฆษณาชวนเชื่อ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน Live an Excellent Life

 

ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงชุดตรวจ ATK ได้ง่ายและสะดวกขึ้น ผ่านทาง LINE ID STANDARD Q (@Standardq) ร้านยา eXta ในเครือร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น ผ่านทางเว็บไซต์ คลิก , ร้านขายยากรุงเทพ , ร้านยา Boots , ร้าน B2S รวมถึงร้านขายยาทั่วไป

 

แยกประเภท ATK กำจัดถูกวิธี

 

สำหรับประชาชนที่ซื้อชุดตรวจ ATK เพื่อนำมาใช้ตรวจโควิด-19ด้วยตนเอง หลังจากตรวจเสร็จไม่ควรทิ้งลงถังขยะทันที ต้องกำจัดอย่างถูกวิธี  นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าหลังจากตรวจแล้วไม่ว่าจะขึ้น 2 ขีด หรือขีดเดียว ควรจัดการเหมือนกัน เพราะอาจเป็น ผลลบปลอม และอาจปนเปื้อนเชื้อโรคอื่น ๆ ด้วย

โดยวิธีการกำจัดที่ถูกต้องให้ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือราดด้วย ผงฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น แยกทิ้งกับขยะทั่วไปถ้าทำได้ โดยการทิ้งควรแยกเป็น 2 ส่วนคือ  

 

1)ขยะที่ไม่ได้ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายหรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น เอกสารกำกับชุดตรวจ และกล่องบรรจุภัณฑ์ ขยะประเภทนี้ ให้เก็บรวบรวมทิ้งถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิดมิดชิดได้เลย

 

2)ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายหรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น ตลับหรือแผ่นทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยดไม้ Swap ขยะประเภทนี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง ต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป เพราะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้

 

การจัดการ ATK ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี

 

1) กรณีในพื้นที่ หรือชุมชน มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อให้เก็บรวบรวม ขยะติดเชื้อเป็นประจำทุกวัน ใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้น โดยถุงชั้นแรกที่สัมผัสขยะติดเชื้อ มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากน้ำยาฟอกขาวผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง แล้วเคลื่อนย้ายไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ ประสานไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการเก็บขนขยะติดเชื้อในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดวิธีการนำขยะติดเชื้อไปกำจัด อย่างถูกต้องต่อไป

 

2) กรณีในพื้นที่หรือชุมชนไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อหรือระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อเข้าไม่ถึง ให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อ โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ถุงใบแรกที่บรรจุขยะติดเชื้อแล้วให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกครั้ง ซึ่งขยะที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้ว ให้ประสานและนำส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นำไปกำจัดเป็นขยะทั่วไป โดยหลังจัดการขยะติดเชื้อแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที