เช็ก แนวปฏิบัติ "ป่วยโควิด" แต่ละสิทธิเข้าระบบรักษาอย่างไร

เช็ก แนวปฏิบัติ "ป่วยโควิด" แต่ละสิทธิเข้าระบบรักษาอย่างไร

สปสช. ย้ำบทบาท "สายด่วน 1330" หลัง สธ.มีนโยบายเจอ แจก จบ ปรับระบบเน้นคัดกรองอาการ แนะแนวทางปฏิบัติล่าสุด หากตรวจ ATK ขึ้นสองขีด สำหรับผู้ป่วยโควิด สิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และข้าราชการ

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการปรับแนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อใหม่แนวทางใหม่ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทั้งแนวทางผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (OPD Self Isolation) หรือ เจอ แจก จบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นมา และการปรับ UCEP โควิด เป็น UCEP Plus ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565

 

โดยให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มสีเหลืองและสีแดง เข้าเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ใช้สิทธิ UCEP หรือรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ทุกที่ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่เป็นกลุ่มไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย เข้ารักษาตามแนวทางเจอ แจก จบ

 

ที่ผ่านมา สปสช. ได้ปรับบทบาท สายด่วน 1330 รองรับตามแนวทางดังกล่าว โดยเน้นเป็นการคัดกรองอาการเพื่อประเมินความเสี่ยง เมื่อผู้ติดเชื้อโทร.เข้ามาที่ สายด่วน 1330 กด 14 จะเป็นระบบคัดกรองอาการ เมื่อพบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงก็จะเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป กรณีที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงแนะนำให้ไปรับบริการผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านหรือแนวทาง เจอ แจก จบ

 

เช็ก แนวปฏิบัติ \"ป่วยโควิด\" แต่ละสิทธิเข้าระบบรักษาอย่างไร

สายด่วนคัดกรอง กลุ่ม 608 บัตรทอง

 

นอกจากนั้น ยังได้เปิดสายด่วน 1330 กด 18 สำหรับคัดกรองอาการและประเมินความเสี่ยง ผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่ม 608 รวมเด็ก 0-5 ปี คนพิการ และผู้ป่วยติดเตียง ก่อนหน้านี้ สายด่วน 1330 จะรับลงทะเบียนเข้าระบบ HI และรายใดหากมีอาการรุนแรงจะเข้าสู่ระบบการประสานหาเตียงต่อไป เฉพาะผู้ป่วยที่เป็นสิทธิบัตรทองและสิทธิ อปท.

 

ส่วนสิทธิอื่นให้ติดต่อสายด่วนของแต่ละสิทธิ แต่เนื่องจากพบปัญหาว่าผู้ป่วยสิทธิอื่นยังมีปัญหาเข้าไม่ถึงการรักษา ดังนั้น สปสช.จะประสานให้ผู้ป่วยกลุ่ม 608 สิทธิอื่นด้วย อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่จะแนะนำให้ผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิของตัวเองไว้ด้วย เพื่อเป็นทางเลือกในการให้ความช่วยเหลือและลดการรอคอย 

 

ทั้งนี้ กลุ่ม 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, หัวใจและหลอดเลือด, ไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า 90 กก., มะเร็ง, เบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป 

 

นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า สปสช. ขอย้ำว่า ระบบของ สายด่วน สปสช.1330 เป็นระบบเสริมในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อช่วยแต่ละจังหวัดในการรับเรื่องจากผู้ป่วย ที่ผ่านมาแต่ละจังหวัดได้ออกแบบระบบหลักเพื่อดูแลผู้ติดเชื้อในจังหวัดของตน ดังนั้นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังสามารถติดต่อตามรายละเอียดของแต่ละจังหวัดได้

 

โดยเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หรือเฟสบุ๊กสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งจะมีรายละเอียด ขั้นตอน และเบอร์โทรศัพท์ในการประสานงานระบุไว้ ในส่วนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ก็เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร  และเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

 

เช็ก แนวปฏิบัติ \"ป่วยโควิด\" แต่ละสิทธิเข้าระบบรักษาอย่างไร

รวมถึงเพิ่มเพื่อนทาง Line @BKKCOVID19CONNECT หรือ คลิก ได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีระบบของกรมการแพทย์และภาคีเครือข่าย สำหรับลงทะเบียนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย สามารถลงทะเบียนได้เวลาทำการ 08.30-16.30 น. หรือ คลิก 

 

"ป่วยโควิด" กลุ่มสีเขียว แต่ละสิทธิ เข้าระบบรักษาอย่างไร

 

สำหรับ การใช้สิทธิรักษาสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียว แต่ละสิทธิมีดังนี้ 

  • สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.)

นอกจาก ไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ ยังไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ (ไม่ใช้ใบส่งตัว) หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ คลิก เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

 

  • สิทธิประกันสังคม

ไปรักษา รพ.ที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบ ประกันสังคม ทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง สอบถามเพิ่มเติมสายด่วนประกันสังคม 1506

 

  • สิทธิข้าราชการ

ไปรักษาได้ที่สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชน ที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. ติดต่อสายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วันและเวลาราชการ

 

  • ชาวต่างชาติ แรงงานข้ามชาติ

หากมีประกันชีวิต, ประกันสังคม หรือบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข (กรณีแรงงานข้ามชาติ) ให้ไปใช้บริการผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (OP SELF ISOLATION) ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ หากไม่มีไปที่โรงพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่ง เพื่อรักษาแบบผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้านตามแนวทางเจอ แจก จบ

 

เช็ก แนวปฏิบัติ \"ป่วยโควิด\" แต่ละสิทธิเข้าระบบรักษาอย่างไร