เช็ค!ช่องทางติดต่อเดินทางเข้าประเทศ เที่ยวจังหวัดเสี่ยงต้องทำอย่างไร?

เช็ค!ช่องทางติดต่อเดินทางเข้าประเทศ  เที่ยวจังหวัดเสี่ยงต้องทำอย่างไร?

กรมควบคุมโรค เปิดเผยข้อมูลช่องทางการติดต่อเกี่ยวกับมาตรการ การเดินทางเข้าประเทศ สำหรับผู้เดินทาง และสำหรับโรงแรม พร้อมแนะนำเที่ยวสงกรานต์ ท่องเที่ยวอย่างไรในจังหวัดพื้นที่เสี่ยงให้ห่างไกลจากโควิด-19

จากมติ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. ล่าสุด ที่ได้มีการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ประเภท Test & Go , Sandbox และ Alternative Quarantine นั้น ให้ยกเลิกการตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเข้าประเทศทั้งสามกลุ่ม

โดยลดระยะเวลาของการเดินทางเข้าไทยในรูปแบบ Sandbox เหลือ 5 วัน พร้อมปรับรูปแบบการตรวจหาเชื้อเมื่อมาถึงประเทศไทยและระหว่างพำนักในประเทศ

กรณี Test & Go, Sandbox ต้องได้รับการตรวจ RT-PCR ในวันแรกเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย และจากนั้นทำการตรวจ Self-ATK อีกครั้งในวันที่ 5 ในกรณี Quarantine ต้องตรวจ RT-PCR ในวันแรก และตรวจ RT-PCR ในวันที่ 4-5 ก่อนออกจากสถานที่กักตัว

รวมทั้งการปรับลดการกักตัวเหลือ 5 วัน จากเดิม 7 วัน สำหรับนักเดินทางที่มาแบบ Sandbox และ Quarantine เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมานั้น 

ช่องทางติดต่อการเดินทางเข้าประเทศ สำหรับนักเดินทาง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลช่องทางติดต่อเกี่ยวกับมาตรการ การเดินทางเข้าประเทศ สำหรับผู้เดินทาง และสำหรับโรงแรม โดยต้องปฎิบัติ ดังต่อไปนี้ 

เช็ค!ช่องทางติดต่อเดินทางเข้าประเทศ  เที่ยวจังหวัดเสี่ยงต้องทำอย่างไร?

เที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพในช่วงสงกรานต์นี้

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยยังอยู่ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 ดังนั้น นักท่องเที่ยวควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยว  ซึ่งกรมควบคุมโรคมีข้อแนะนำ ดังนี้

- เมื่อต้องการท่องเที่ยวในจังหวัดที่สงสัยว่าจะมีผู้ป่วยโควิด 19

1. ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศ ได้จากเว็บไซต์กรมควบคุมโรค หรือ Facebook : “ศูนย์ข้อมูล COVID-19” ของ ศบค. และควรศึกษามาตรการป้องกันควบคุมโรคของจังหวัดดังกล่าวซึ่งอาจมีข้อกำหนดเฉพาะ เช่น การปิดสถานที่ หรือจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว

2. จัดเตรียมข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดการเจ็บป่วย หรือมีเหตุฉุกเฉินขณะเดินทางท่องเที่ยว เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ หรือศูนย์บริการข้อมูลสําหรับนักท่องเที่ยว

3. ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ เมื่อเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดที่มีผู้ป่วยโรคโควิด 19 ควรระมัดระวังการเข้าไปในพื้นที่แออัดและการสัมผัสผู้อื่น และควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

4. เลือกใช้บริการสถานที่พัก ร้านอาหาร หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน  สถานประกอบการที่ปลอดภัย (Safety and Health Administration : SHA) ควรเป็นสถานที่เปิด มีระบบถ่ายเทอากาศดี หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ปิด หรือมีระบบการระบายอากาศไม่ดี

5. แนะนำให้เดินทางท่องเที่ยวในวันเวลาที่ไม่แออัด จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการรับเชื้อจากผู้อื่น

6. การเข้าร่วมกิจกรรม ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการรวมกันของคนหมู่มาก หรือสถานที่ปิดหรือมีระบบปรับอากาศ สำหรับกิจกรรมที่ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ปีนเขา ดำน้ำ หรือล่องแก่ง ควรตรวจสอบมาตรฐานของอุปกรณ์ที่ใช้และการดูแลทำความสะอาดก่อนการใช้งาน

7. หากมีอาการไข้ หรือไม่สบาย ควรงดหรือเลื่อนการเดินทาง

8. ขณะเดินทางท่องเที่ยว ควรเตรียมเจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าส่วนตัวให้เพียงพอ สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา และเมื่อทิ้งหน้ากากอนามัยควรทิ้งในถุงขยะติดเชื้อที่สถานที่นั้นจัดเตรียมไว้  

9. เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในชุมชน ให้ลงทะเบียนการเข้าและออกสถานที่ตามจุดที่กำหนด หรือสแกน QR Code ไทยชนะ รวมทั้งปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสถานที่นั้น รวมทั้งควรจดบันทึกวัน เวลา สถานที่ที่ไปเที่ยวหรือใช้บริการตลอดการเดินทาง เพื่อประโยชน์ในการติดตามผู้สัมผัส กรณีมีผู้ติดเชื้อในพื้นที่

10. ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น รวมทั้งการเว้นระยะห่างจากผู้อื่น

11. สำหรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่งมาจากต่างประเทศ ควรงดหรือเลื่อนการเดินทางไปจังหวัดอื่นจนกว่าจะครบ 14 วัน หากเข้าพักโรงแรมควรแสดงหนังสือรับรองการกักตัวครบตามที่ราชการกำหนดให้กับพนักงานโรงแรม

12. หลังเดินทางกลับจากการท่องเที่ยวแล้ว หากมีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบาย เช่น เป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ท้องเสีย หรือมีภาวะความผิดปกติที่สงสัยว่าอาจจะเกิดจากการท่องเที่ยว แนะนำให้ไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดประวัติการเดินทางท่องเที่ยวให้แพทย์ทราบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง

เช็ค!ช่องทางติดต่อเดินทางเข้าประเทศ  เที่ยวจังหวัดเสี่ยงต้องทำอย่างไร?

เมื่อเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ทั่วไป

1. แนะนำให้เลือกวันเดินทางท่องเที่ยวที่สามารถหลีกเลี่ยงความแออัดของการใช้สถานบริการต่างๆ

2. เลือกใช้บริการแหล่งท่องเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า หรือรถสาธารณะที่มีความปลอดภัย ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของสถานประกอบการที่ปลอดภัย (Safety and Health Administration : SHA) หรือสถานที่เปิด มีระบบถ่ายเทอากาศดี และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ปิด หรือมีระบบการระบายอากาศที่ไม่ดี

3. นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยวนั้นอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ประกอบอาหารหรือก่อไฟในพื้นที่ต้องห้าม หรือให้ลงทะเบียนยืนยันตัวบุคคลก่อนเข้าสถานที่

4. หากมีอาการไข้ หรือไม่สบาย ควรงดหรือเลื่อนการเดินทาง

5. สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่อออกจากที่พัก หรือขณะอยู่ร่วมกับผู้อื่น  รวมทั้งให้ความสำคัญเรื่องการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล

6. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ และหลังจากการไอจาม