ฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันโควิด “ไฮบริด”
ข้อมูลสายพันธุ์ลูกผสม XE ที่อังกฤษเมื่อเดือนม.ค.เป็นการผสมกันระหว่างสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน BA.1 กับ BA.2 ระบุว่าแพร่เร็วกว่าโอมิครอนดั้งเดิม (B.1.1.529) ถึง 43% ฉะนั้นเราสามารถป้องกันไม่ให้แพร่ระบาด ด้วยการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด
ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม ไม่ว่าจะกลายเป็นตัวใหม่ หรือ Mixed Infection ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์อยู่ในคนเดียว ที่เรียก Recombinant หรือไฮบริด หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขล้วนจับตามองว่า ไวรัสที่กลายพันธุ์จะมีอิทธิฤทธิ์ แพร่พันธุ์ หลบวัคซีน หรือความรุนแรง ได้มากขึ้นหรือไม่ ซึ่งจีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านเพจ “Center for Medical Genomics” เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ว่าตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม XE จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และพบลูกผสมเดลตาครอน 1 ราย คล้ายกับข้อมูลสายพันธุ์ลูกผสม XE ที่อังกฤษเมื่อเดือนม.ค.เป็นการผสมกันระหว่างสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน BA.1 กับ BA.2 ตามรายงานของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร ระบุว่า แพร่ง่ายกว่าสายพันธุ์ BA.2 ประมาณ 10% และแพร่เร็วกว่าโอมิครอนดั้งเดิม (B.1.1.529) ถึง 43% จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านเพจ “Center for Medical Genomics” เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ว่าตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม XE จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างสวอปจากผู้ติดเชื้อ ชาวไทย 1 ราย และพบลูกผสมเดลตาครอน 1 ราย คล้ายกับข้อมูลสายพันธุ์ลูกผสม XE ที่อังกฤษเมื่อเดือนม.ค.เป็นการผสมกันระหว่างสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน BA.1 กับ BA.2 ตามรายงานของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักร ระบุว่า แพร่ง่ายกว่าสายพันธุ์ BA.2 ประมาณ 10% และแพร่เร็วกว่าโอมิครอนดั้งเดิม (B.1.1.529) ถึง 43%
ต่อมาวันที่ 4 เม.ย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการสุ่มตรวจราว 2 พันราย พบเดลตา 3 ราย ในเขตสุขภาพที่ 8 ที่เหลือเป็นโอมิครอน คิดเป็น 99.8 % ภาพรวมขณะนี้โอมิครอนครองไทย โดยเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 คิดเป็น 92.2% และ BA.1 คิดเป็น 7.8 % ซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย และไวขึ้น จากการถอดรหัสพันธุกรรมชายไทย 1 รายอายุ 34 ปี ตรวจพบเชื้อเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2565 ที่ รพ.ใน กทม. ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 พบว่ามีโอกาสเข้าได้ใกล้เคียงกับ โอมิครอนลูกผสม XJ เจอที่ฟินแลนด์ที่แรก เป็นลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 กับ BA.2 แต่ในเรื่องความรุนแรง การแพร่เร็ว ยังไม่มีข้อมูล นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 ราย ส่งตัวอย่างมาวันที่ 3 เม.ย. ข้อมูลเบื้องต้นโอกาสที่จะเป็นrecombinant 60% แต่ยังสรุปไม่ได้
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ “ไวรัส” มีการกลายพันธุ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม ถ้าเปลี่ยนไปต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง หรือผลที่แตกต่างมาก จะกลายเป็นตัวใหม่ ถ้าต่างไม่มาก จะเป็นสายพันธุ์ย่อย กรณี Mixed Infection ติดเชื้อ 2 สายพันธุ์อยู่ในคนเดียว เคยเจอในไทยมาแล้ว ช่วงเป็นอัลฟาและเดลตา
กรณี การผสมเป็นไฮบริด จะใช้คำว่า X นำหน้าคือ มีการข้ามพันธุ์แล้วมาผสมกัน ปัจจุบันมี XA ไล่จนถึง XS ประมาณ 17 ตัวเช่น กรณี XA พบตั้งแต่เดือนธ.ค.2563 โดยเป็นลูกผสมระหว่าง B.1.1.7 (อัลฟา) กับ B.1.177 หรือ XB เจอตั้งแต่ เดือนก.ค.2563 โดยเป็นลูกผสมระหว่าง B.1.634 กับ B.1.631 หรือ XC เป็นลูกผสมของเดลตา AY.29 กับ B.1.1.7 (อัลฟา) ประมาณกลางปี 2564 ซึ่ง GISAID วิเคราะห์และยอมรับแล้วปัจจุบันมีอยู่ 3 ตัว
ถึงวันนี้ต้องยอมรับว่า คนติดเดลตาก็ติดโอมิครอนได้ หรือติดโอมิครอน BA.1 ก็อาจติด BA.2 ได้ ฉะนั้นเราสามารถป้องกันไม่ให้แพร่ระบาด ด้วยการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด ไม่ควรหวังให้มีภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติด้วยการติดเชื้อ เพราะการติดเชื้อมากขึ้นจะนำไปสู่การกลายพันธุ์ได้ ซึ่งเมื่อไวรัสกลายพันธุ์ได้มากขึ้นก็จะอยู่รอดได้มากขึ้นและหลบภูมิวัคซีนได้มากขึ้นเช่นกัน