เสียชีวิตพุ่งเกินร้อย! เป็นกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 99%
ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่กว่า 2.5 หมื่นราย เสียชีวิตเกิน 100 กว่าราย 99% เป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เข้ารักษาในรพ.2.5 แสนกว่าราย ป่วยหนักเกือบ 2 พันราย 3 จังหวัด กทม.-ชลบุรี-นครศรีฯ ยอดพุ่งหลักพันราย
วันนี้ (10 เม.ย. 2565) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ประจำวัน ว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ 25,139 ราย แบ่งเป็น
- ผู้ติดเชื้อรายใหม่จากในประเทศ 24,992 ราย
- ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 67 ราย
- ผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 80 ราย
ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่ม.ค.2565 จำนวน 1,660,050 ราย
ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งกว่า 100 ราย
ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 108 คน ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 4,385 คน ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 26,083 คน
ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 250,973 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 1,993ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 848 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 25,509 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 3,883,485 ราย
กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด 99%
รายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 108 ราย พบว่า เป็นเพศชาย 61 ราย หญิง 47 ราย เป็นชาวไทย 108 ราย โดยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 94 ราย คิดเป็น 87 % และโรคเรื้อรัง 13 ราย คิดเป็น 12 % รวม 99 % นอกจากนั้น ยังพบเชื้อหลังเสียชีวิต จำนวน8 ราย
10 อันดับจังหวัด ผู้ติดเชื้อสูงสุด มีดังนี้
- กทม. 3,108 ราย
- ชลบุรี 1,290 ราย
- ขอนแก่น 851 ราย
- นครศรีธรรมราช 827 ราย
- สมุทรปราการ 795ราย
- สมุทรสาคร 656 ราย
- ราชบุรี 654 ราย
- นนทบุรี 645 ราย
- นครปฐม 628 ราย
- ร้อยเอ็ด 607 ราย
นอกจากนั้น จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ปอดอักเสบกำลังรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 10 อันดับแรก ได้แก่
- กทม. 245 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน40.90%
- สมุทรปราการ 82 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 43.00%
- นครราชสีมา 76 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 28.50 %
- ชลบุรี 60 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 33.50%
- กาญจนบุรี 55 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 37.40%
- บุรีรัมย์ 54 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 20.30%
- นครศรีธรรมราช 51 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 16.30%
- นนทบุรี 49 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 42.20%
- สงขลา 48 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 18.90%
- เชียงราย 47 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 21.70%
ยอดฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ทะลุ 24 ล้านคน
ทั้งนี้ หลังจากประเทศไทยเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ สามารถเข้าทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้ 1-9 เม.ย. 2565 สะสม 123,278 คน ติดเชื้อ 513ราย อัตราการติดเชื้อ 0.42 % แบ่งเป็น
Test&Go เดินทางเข้าไทย 115,430 คน ติดเชื้อ 411 ราย 0.36 %
Sandbox 6,602 คน ติดเชื้อ 61 ราย 0.92 %
Quarantine 1,246 คน ติดเชื้อ 41 ราย 3.29 %
ยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564- 9 เม.ย.2565 สะสมทั้งหมด 131,154,980โดส แบ่งเป็น
เข็มที่ 1 สะสม 55,910,538 ราย คิดเป็น 80.4 % ของประชากร
เข็มที่ 2 สะสม 50,557,061 ราย คิดเป็น 72.7 %ของประชากร
เข็มที่3 สะสม 24,667,381 ราย คิดเป็น35.5% ของประชากร